ณ บริเวณสามเหลี่ยมทองคำ เป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติในฝันสำหรับใครหลายคน อดีตเคยเป็นดินแดนแห่งความมืดมน และดูน่าหวาดกลัว โดยเฉพาะเรื่องราวของ ฝิ่น พืชมหันตภัยร้าย ได้เป็นที่รู้จักกันมากในที่แห่งนี้ ทีมงาน Travel MThai ขอพาสมาชิกมิตรรัก ไปชมพิพิธภัณฑ์ หอฝิ่น เพื่อเสริมความรู้ และตระหนักกันว่า สิ่งเสพติด ไม่เคยให้คุณกับใครเลยสักคน และเมื่อได้รับมันไปเสมือนเดินเข้าใกล้ปากขุมนรก!
สามเหลี่ยมทองคำ คือบริเวณรอยต่อระหว่าง 3 ประเทศ ได้แก่ พม่า ไทย ลาว
หอฝิ่น อุทยานสามเหลี่ยมทองคำ เริ่มทำการก่อสร้างระหว่างปี พ.ศ. 2542 – พ.ศ. 2545 เปิดให้เข้าชมครั้งแรกเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2546 และทำพิธีเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันพุธที่ 6 กรกฎาคม 2548 โดยสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฏราชกุมาร หอฝิ่น อุทยานสามเหลี่ยมทองคำ เป็นเสมือนประตูเปิดสู่โลกอันลึกลับของพืชชนิดนี้ จากความมืดมนน่าหวาดกลัว สู่ความแจ่มจรัสและรู้แจ้ง พื้นที่ 5,600 ตารางเมตร
หอฝิ่น แหล่งเรียนรู้ รวมถึงกรณีศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับฝิ่น ที่เหมาะสมอย่างยิ่งสำหรับเยาวชน และประชาชนทั่วไป
หอฝิ่น แสดงลำดับเรื่องราวของฝิ่น โดยเริ่มจากธรรมชาติวิทยาของฝิ่น การสืบประวัติการใช้ฝิ่นในยุคโบราณกลับไป 5,000 ปี ประวัติการแพร่กระจายของฝิ่นจากการค้าสมัยจักรวรรดินิยม เหตุการณ์พลิกประวัติศาสตร์ ที่สร้างความอดสูแก่ผู้ชนะและผู้แพ้สงครามฝิ่น อันนำไปสู่การล่มสลายของราชวงค์แมนจู ความชาญฉลาดของประเทศสยามในการเผชิญกับมหาอำนาจตะวันตก และการควบคุมปัญหา ฝิ่น ยาเสพติดเริ่มใกล้ชิดกับชีวิตประจำวันในรูปแบบของยามหัศจรรย์ หอฝิ่นได้นำเสนอสนธิสัญญาฝิ่น กฎหมายเกี่ยวกับฝิ่น องค์การที่แก้ไขปัญหานี้ ความขัดแย้งและการพัวพันอาชญากรรม ผลกระทบที่เลวร้ายของยาเสพติดที่ทำให้ผู้เสพไม่สามารถต่อต้านได้ มาตรการควบคุมและปราบปรามยาเสพติด และกรณีศึกษาที่นำเสนอทางเลือก โอกาสที่จะต่อสู้กับความเย้ายวนจากสารเสพ ติด หอฝิ่น ได้จัดแสดงอุปกรณ์การสูบฝิ่น การขายฝิ่น ชมภาพถ่าย ภาพยนต์และวีดิทัศน์เรื่องราวเกี่ยวกับ และยาเสพติดจากหลายประเทศทั่วโลก
ความเป็นมาของ หอฝิ่น ในดินแดนสามเหลี่ยมทองคำ คือ จุดที่ประเทศไทย ลาว และพม่า มาบรรจบกัน เป็นที่ที่แม่น้ำรวกไหลมารวมกันกับแม่น้ำโขง และยังหมายถึงพื้นที่กว้างครอบคลุมบริเวณถึงสามประเทศ และในพื้นที่นี้เองมีการปลูกฝิ่น ผลิตเฮโรอีน และลักลอบนำออกไปขาย เมื่อได้ยินคำว่า “ สามเหลี่ยมทองคำ “ คนส่วนมากมักจะนึกถึง ดอกฝิ่น ชาวไทยภูเขา เทือกเขาที่ปกคลุมไปด้วยเมฆหมอก แม่น้ำโขง หรือภาพของภาพป่าเบจพรรณ แต่ภาพที่นึกถึงมากที่สุดคงจะเป็นภาพของฝิ่นและเฮโรอีน ภาพความลึกลับ น่าสะพรึงกลัวของการปลูกและการลักลอบค้าฝิ่น ภาพสงครามกลางเมือง กองทหารการสู้รบของพวกลักลอบการค้าฝิ่น ชาวบ้านยากจน การกวาดล้างโรงงานผลิตเฮโรอีน คาราวานขนฝิ่นไปตามเส้นทางในป่า สามเหลี่ยมทองคำ คือ แหล่งที่มาของเฮโรอีนกว่าครึ่งของจำนวนที่มีอยู่ทั้งหมดในโลก
เป็นพระมหากรุณาธิคุณอันล้นพ้น สมเด็จย่า ทรงทรงเริ่มโครงการพัฒนาเหนือสุดของประเทศไทย มีจุดมุ่งหมายคืนผืนป่า และฟื้นฟูคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ดีขึ้น
สามเหลี่ยมทองคำ คือ รากเหง้าของอาชญากรรม และการกระทำอันทุจริตที่เกิดขึ้นในทวีปเอเชีย แพร่ไป สู่แอฟริกา ยุโรปและอเมริกา ทุกๆ ปีจะมีนักท่องเที่ยวเกือบแสนเดินทางมาที่นี่เพียงเพราะชื่อ สามเหลี่ยมทองคำ ปี พ.ศ.2531 (1988) สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ได้ทรงเริ่มโครงการพัฒนาดอยตุงขึ้นในจุด เหนือสุดของประเทศไทยโครงการนี้มีจุดหมายที่จะคืนผืนป่าและฟื้นฟูคุณภาพ ชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เทือกเขานางนอนในเขตพื้นที่ ประเทศไทย และหยุดการปลูกและการเสพฝิ่นในดินแดนแห่งนี้ ในอีกไม่กี่ปีต่อมา สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีได้ทรงริเริ่มโครงการที่จะช่วยให้การศึกษา แก่ประชาชนในเรื่องของการศึกษาประวัติของฝิ่นในดินแดนสามเหลี่ยมทองคำและ ทั่วโลก ทั้งนี้เพื่อเป็นการปลูกจิตสำนึกให้ประชาชนร่วมกันต่อสู้ยาเสพติด ให้คนส่วนใหญ่เข้าใจว่า ยาเสพติดประเภทต่างๆ ไม่เฉพาะก่อให้เกิดปัญหากับประชากรที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เท่านั้น แต่ยังสร้างปัญหาให้กับประชากรและสังคมโลกโดยรวมอีกด้วย การริเริ่มโครงการในพระราชดำริในครั้งนั้น ส่งผลสืบเนื่องให้เกิด หอฝิ่น อุทยานสามเหลี่ยมทองคำ
หอฝิ่น อุทยานสามเหลี่ยมทองคำ ตั้งอยู่บนพื้นที่ประมาณ 250 ไร่ ห่างจากอำเภอเชียงแสนประมาณ 10 กิโลเมตร หอฝิ่นฯซึ่งล้อมรอบด้วยสวนอันสวยงามของอุทยานสามเหลี่ยมทองคำ จะเป็นศูนย์นิทรรศการแสดงประวัติความเป็นมาของฝิ่นเมื่อสมัยที่มีการใช้กัน อย่างถูกกฎหมายและผลกระทบของการเสพติดฝิ่น อีกทั้งยังทำหน้าที่เป็นศูนย์ข้อมูลเพื่อการค้นคว้าวิจัยและการศึกษาต่อ เนื่องในหัวข้อฝิ่น สารสกัดจากฝิ่นในรูปแบบต่างๆและยาเสพติดในชนิดอื่นๆ
นิทรรศการภายในของหอฝิ่นประกอบด้วย
อุโมงค์มุข (TUNNEL) นิทรรศการเริ่มตั้งแต่อุโมงค์ที่มืดสนิท ดูลึกลับที่มีความยาว 137 เมตร ซึ่งเจาะทะลุภูเขาทางด้านตึกรับรองไปถึงตัวอาคารใหญ่อีกฟากหนึ่ง ที่กว้าง สว่าง ลม โปร่ง และเป็นทุ่งฝิ่นจำลอง
ห้องโถง (LOBBY) ผู้คนจะได้เห็นทุ่งฝิ่นจำลอง และศึกษาเรื่องราว และความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพันธุ์ต่างๆของดอกป๊อปปี้ทั้งที่เป็นพันธุ์สวย งามและเป็นพันธุ์ที่ใช้กรีดเอายางมาผลิตเป็นยา การเจริญเติบโตในระยะต่างๆของดอกป๊อปปี้ รวมทั้งการเปาะแห้งของดอกป๊อปปี้ที่ใช้ประโยชน์ในการตกแต่งดอกไม้แห้งประดับ
ห้องประชุม (AUDITORIUM) ห้องโสตทัศนศึกษาในห้องนี้มีการจัดฉาย VTR เล่าถึงที่มาจุดประสงค์และเรื่องราวที่บรรจุในการจัดหอฝิ่น อุทยานสามเหลี่ยมทองคำ
ปัญจสหัสวรรษแรก (THE FIRST 5,000 YEARS) ผู้ชมจะเดินทางเข้าสู่การแกะรอยประวัติศาสตร์อันยาวนาน และเปี่ยมไปด้วยมนต์เสน่ห์ของพืชพิเศษประเภทนี้ การแกะรอยประวัติศาสตร์ของฝิ่นเริ่มต้นจากการกำเนิดของฝิ่น บริเวณชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน โดยมีหลักฐานการค้นพบครั้งแรกที่ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ตลอดจนหลักฐานที่มีการ เขียนเป็นรายลักษณ์อักษรชิ้นแรกในตำราทางการแพทย์ SUMERIAN และการใช้เชิงการแพทย์ และการศาสนาในกรีกโบราณ โมและ อียิปต์ ได้มีการใช้ฝิ่นซึ่งเป็นยาที่มีประสิทธิผลที่ต่ำมาตลอดระยะเวลาอันยาวนาน
มีดสองคม (LIGHT AND DARK HALLWAY) ผนังสองด้านของทางเดินเชื่อมต่อนี้จะถูกออกแบบให้สะท้อนถึงด้านดีและด้านร้ายที่ได้จากการใช้ ”ฝิ่น”
- ด้านที่ดี จะเป็นด้านที่สว่างเห็นภาพของการใช้ยาที่ได้จากการสกัด จากฝิ่น เพื่อประโยชน์จากการรักษาและบรรเทาอาการเจ็บปวด ผลผลิตที่ได้จากดอกป๊อปปี้ เช่น สินค้า เค้ก ขนมปัง ดอกไม่ประดับ
- ด้านร้าย เป็นด้านที่มืดจะเห็นอาการที่ทุกข์ทรมานจากการเสพติด ภาพการใช้เข็มฉีดยา และภาพการเสื่อมโทรมทางกายภาพของผู้ติดยา
ประจิมสู่บูรพา (FROM WES TO EAST) ต่อจากนั้นผู้ชมจะก้าวเข้าสู่ยุคของการค้าระหว่างจักรวรรดิยุโรปกับเอเชีย เพื่อที่จะได้เรียนรู้ว่าฝิ่นเป็นสินค้าในเชิงพาณิชย์อย่างไรและฝิ่นกลาย เป็นสารเสพติดที่แพร่หลายในวงกว้างอย่างไร โดยจำลองฉากท่าเรือพาณิชย์อังกฤษผู้ชมจะเดินทางผ่านห่อใบชา ผ้าไหม เครื่องลายคราม และเครื่องเทศ อันเป็นสินค้าของตะวันออกและวัฒนธรรมการดื่มชาของชาวอังกฤษ และเป็นสาเหตุของการขาดดุลการค้าอย่างมหาศาลเกือบทำให้ประเทศนี้เกือบล่ม สลาย ต่อจากนั้นจึงเดินทางเข้าสู่เรือสินค้าของยุโรปที่ออกเดินทางจากอังกฤษมา อินเดียพร้อมทั้งชมโรงงานฝิ่นในอินเดีย เรือบรรทุกสินค้าจะหยุดพักที่เมืองสิงคโปร์เพื่อเติมเสบียง และขนถ่ายสินค้าบางส่วนลงเรือขนาดเล็ก สู่ท่าเรือท้องถิ่นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น เมืองสงขลา และจันทบุรี เมืองสิงคโปร์จึงกลายเป็นศูนย์กลางการค้าระหว่างอินเดียและจีน ก่อนที่จะรวมการเดินทางราวติดปีกของฝิ่นมาสู่ประเทศจีนที่ท่าเรืออันเป็น หัวใจของจีน กวางตุ้ง