เรื่องราวต่อไปนี้เป็นมหากาพย์ตำนานความรักที่ยิ่งใหญ่ในประวัติศาสตร์ ที่ยังคงโรแมนติกและกลายเป็นเรื่องเล่าขานทุกยุคทุกสมัย จนคนอ่านต้องละลายหัวใจและตระหนักถึงความสำคัญของความรักที่แท้จริงในชีวิตของพวกเขาเลยที่เดียว
แฮรี่ ไทสัน และฮาร์เรียท ซิมส์มัวร์ คู่รักคู่นี้หลายคนอาจไม่ทราบว่าเป็นผู้บุกเบิกที่ช่วยปูทางการเคลื่อนไหวสิทธิมนุษยชนในปี 1960 ทั้งสองได้พบกันในปี 1925 ขณะที่แฮรี่ อายุ 20) กำลังสอนในโรงเรียนประถมในฟลอริด้า ส่วนฮาร์เรียท (อายุ 23 ปี) เป็นอดีตครูที่ขายประกัน ทั้งสอนตกหลุมรักอย่างรวดเร็วและแต่งงานในหนึ่งปีหลังจากนั้น ทั้งสองเป็นคนจิตใจเข็มแข็งและชอบเห็นอกเห็นใจคนอื่น ซึ่งในช่วงเวลานั้นประเทศอเมริกากำลังอยู่ในเรื่องสิทธิมนุษยชนกำลังตกต่ำ คนผิวดำเป็นพลเมืองถูกเอารัดเอาเปรียบ เงินเดือนนครูจ่ายไม่เท่าเทียมกัน เป็นเหตุให้ทั้งคู่เริ่มเคลื่อนไหวสิทธิมนุษย์ชน ทั้งคู่ต้องเข้าสู่เวทีอันตรายของศาลเตี้ยและตำรวจโหด เพราะทั้งคู่ต้องช่วยเหลือเหล่าคนผิวดำที่ถูกกล่าวหาอย่างไม่เป็นธรรม ซึ่งเขาต้องผจญกับอันตรายจากเจ้าหน้าที่รัฐหลายครั้ง จนกระทั่งในคืนวันคริสต์มาสในปี 1951 มัวร์และภรรยากำลังเฉลิมฉลองอยู่นั้นจู่ๆ ก็เกิดการระเบิดที่ถูกใครบางคนนำไปซ่อนที่ใต้พื้นบ้านจนบาดเจ็บสาหัส มัวร์เสียชีวิตระหว่างทางไปโรงพยาบาล ส่วนภรรยาของเขาเสียชีวิตจากการบาดเจ็บของเธอเก้าวันต่อมา เชื่อว่าคนวางระเบิดฆ่าทั้งคู่คือพวกคู คลักซ์ แคลน แต่จนบัดนี้คดีก็ไม่ได้รับการคลี่คลาย
ระหว่างเจ้าชายนิโคลัสที่ 2 ได้เสด็จประพาสเมืองดาร์มสตัดท์ พร้อมกับพระชนก และพระราชชนนี ได้ทรงพบเจ้าหญิงอเล็กซันดรา ฟอโดรอฟนาจนเกิดความรักและทั้งคู่ก็ได้อภิเษกสมรสกัน แม้ว่าพระจักรพรรดิอเล็กซานเดอร์ที่ 3 และพระจักรพรรดินีมาเรียไม่ทรงเห็นด้วยตาม ต่อมาซาร์นีโคไลที่ 2 ก็ได้เป็นจักรพรรดิ (องค์สุดท้ายของรัสเซีย) และมีลูกอเล็กซันดราถึง 5 พระองค์ แม้ว่าทั้งคู่จะเป็นคู่รักที่แยกออกจากกันไม่ได้ แต่ก็ไม่สามารถครองใจแก่ประชาชนรัสเซียได้ อันเนื่องมาจากความไม่สงบในประเทศ บวกกับราชสำนักตกต่ำลง ในขณะที่ทั้งคู่มีความสุขใช้ชีวิตหรูหราฟุ่มเฟือยในเรือยอชท์แต่ประเทศชาติของเขากลับต่ำต่ำลง ทำให้คณะปฏิวัติได้บังคับให้พระองค์สละราชบังลังก์ และโค่นล้มสถาบันพระมหากษัตริย์ นิโคลัสและครอบครัวของพรองค์ถูกจับกุมและถูกส่งไปไซบีเรีย ใช้ชีวิตอยู่อย่างยากลำบากที่นั้น และปี 1918 พระองค์ก็ถูกปลงพระชนม์พร้อมทั้งครอบครัวในที่สุด
พระนางแคทเธอรียที่ 2 ผู้ยิ่งใหญ่แห่งรัสเซีย แม้พระองค์นั้นจะอภิเษกสมรสกับพระเจ้าปีเตอร์ที่ 3 แต่พระองค์หาได้มีความสุขไม่ ทำให้พระองค์มีเพศสัมพันธ์สวาทกับทหารรักษาพระองค์หลายคน ทำให้มีคนรักมากถึง 55 คน แต่คนที่เธอโปรดปรานมากที่สุดส่วนมากจะเป็นบุคคลที่ทำคุณประโยชน์ให้กับพระองค์ได้นอกเหนือจากเรื่องบนเตียง หนึ่งในนั้นคือเกอรกอรี โปเต็มกิ้น ซึ่งเป็นผู้มีความสามารถ และพระองค์ก็ทำให้เขาเป็นรัฐบุรุษของรัสเซียที่นำทัพรัสเซียเอาชนะประเทศศัตรูรุกรานหลายครั้ง แม้ว่าต่อมาทั้งคู่จะยุติความสัมพันธ์เรื่องรักใคร่ๆ ลง แต่โปเต็มกิ้นยังคงอยู่ในใจของนางอยู่เสมอ และเมื่อเขาเสียชีวิตลงเมื่ออายุ 52 ปี แคเธอรีนก็เศร้าพระทัยตราบจนวาระสุดท้ายของชีวิต
ชาร์ลส์ ลินด์เบิร์ก เป็นนักบินชาวอเมริกันที่มีชื่อเสียงในปี 1927 ในฐานะนักขับเครื่องบินเดี่ยวข้ามมหาสมุทรแอตแลนติก ในขณะที่เขาเดินทางไปยังละตินอเมริกันเขาก็ได้พบแอนน์ สปอนเซอร์ มอร์โรว์ บุตรสาวของ ดไวท์ มอร์โรว์ เศรษฐีและท่านทูตประจำลาตินอเมริกัน และเกิดความรักจนแต่งงานกันในปี ในปี 1929 ชาร์ลส์ แต่งงานกับ ต่อมาพวกเขาเป็นหนึ่งคู่รักที่มีชื่อเสียงบินบนท้องฟ้า และช่วยกันพัฒนาอุตสาหกรรมการบินพาณิชย์ในสหรัฐอเมริกา เธอยังได้เขียนบันทึกเป็นหนังสือขายดีคือ “North To The Orient” ซึ่งสร้างรายได้แก่ครอบครัวอย่างงดงาม ต่อมาแอนน์ก็ได้ให้กำเนิดบุตรชายคือ ชาร์ลส์ เอ. ลินด์เบิร์ก จูเนียร์ แต่ความสุขนั้นอยู่ได้ไม่นานในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1932 ลูกชายของลินด์เบิร์กที่ยังเป็นเพียงเด็กทารก ได้ถูกลักพาตัวและฆาตกรรมในภายหลัง ซึ่งบรรดาสื่อถือว่าเป็น "อาชญากรรมแห่งศตวรรษ" เหตุการณ์ครั้งนี้ส่งผลให้ลินด์เบิร์กและครอบครัวตัดสินใจอพยพไปอยู่ในยุโรปในเวลาต่อมา
เรื่องราวของซาลิมและอานารกะลีเป็นตำนานของลาฮอร์ ปัญจาบ (ปากีสถานปัจจุบัน) โดยเป็นเรื่องราวของซาลิมซึ่งเป็นลูกชายของจักรพรรดิโมกุลอัคบาร์ ซาลิมเป็นเด็กนิสัยเสียและนิสับหยาบกร้าน จนถูกพ่อสั่งให้เข้ากองทัพเพื่อเรียนรู้กฎวินัย จนในที่สุดเมื่อซาริมได้กลับมาพระราชวัง พระราชาก็ได้จัดงานเฉลิมฉลองยิ่งใหญ่โดยมีนางระบำมาเต้น และหนึ่งนั้นมีสาวสวยซึ่งเป็นทาสคนหนึ่งที่งามโดเด่นมากเหมือนดอกไม้บาน อัคบาร์เรียกว่า “อนารกะลี” (ทับทิมบาน) ซึ่งซาลิมตกหลุมรักนางตั้งแต่แรกเห็นจนมีความคิดอยากแต่งงานกับเธอ แต่ปัญหาคืออนารกะลีเป็นเพียงนักเต้นและสาวใช้คนหนึ่งไม่ได้มีเลือดคนชั้นสูง เป็นเหตุทำให้พ่อแม่ของซาลิมคัดค้าน จึงสั่งคนจับนางอนารกะลีขังในคุก ตอนหลังเพื่อนของซาลิมช่วยเหลือเธอออมาและซ่อนตัวเธอเอาไว้ ต่อมาเจ้าซายซาลิมก็พ่ายศึกเพราะมัวแต่คิดถึงแต่นาง ทำให้อัคบาร์โกรธมาก จึงให้ซาริมเอกสองตัวเลือกคือให้เขาลืมอนารกะลีหรือต้องโทษประหาร เจ้าชายซาริมเลือกตัวเลือกที่สอง เมื่ออนารกะลีรู้ข่าวจึงออกจากที่ซ่อนและขอให้อัคบาร์ประหารเธอให้ตายไปพร้อมกับเขา และสุดท้ายทั้งคู่ก็ถูกฝังทั้งเป็นที่กำแพง เป็นอันจบเรื่องราวที่น่าเศร้าของคนทั้งคู่ในที่สุด (บางตำนานบอกว่าอนารกะลีพึ่งมารู้ข่าวว่าซาริมถูกประหารฝังในกำแพง เธอได้เอาแต่ร่ำไห้อยู่ข้างกำแพงนั้นตลอดชีวิตของนาง)
ไอโซลเป็นลูกสาวของกษัตริย์แห่งไอร์แลนด์ เธอถูกหมั่นหมายกษัตริย์แห่งคอร์นวอลล์ แต่อนิจจาเจ้าหญิงผู้นั้นได้ตกหลุมรักไทรสตันซึ่งเป็นหลานชายของกษัตริย์ แม้ว่าเธอจะแต่งงานแล้ว แต่เธอก็ยังลอบมีความสัมพันธ์กับไทรสตัน ในไม่ช้ากษัตริย์ก็ได้รู้เรื่องการเป็นชู้ภรรยาของพระองค์ หากแต่พระองค์ให้อภัยกับคนทั้งคู่ แต่ห้ามหลานชายของเขายุ่งเกี่ยวกับนางและให้ออกจากคอร์นวอลล์ไป ต่อมาไทรสตันได้พบผู้หญิงคนหนึ่งที่คล้ายไอโซลจึงได้แต่งงานกัน แต่เขาก็ยังไม่ลืมความรักที่มีแต่ไอโซล นานวันเขาก็เริ่มป่วย และเขาได้เขียนจดหมายถึงนาง โดยหวังว่าเธอจะช่วยทำให้เขาหาย ถ้าเธอตกลงให้แล่นเรือที่ชักใบเรือสีขาวมาหาเขา แต่หากปฏิเสธให้ชักใบเรือสีดำ ไอโซลไม่สามารถทรเห็นไทรสตันต้องเจ็บปวดจึงแยกจากสามีมาหาไทรสตัน หากแต่ภรรยาของไทรสตันเกิดความหึ่งหวงเลยโกหกเรื่องสีเรือใบ ทำให้ไทรสตันคิดว่าไอโซลไม่รักเขาแล้ว เป็นเหตุทำให้หัวใจเขาแตกสลายตรองใจตายในที่สุด
เจ้าฟ้าชายเอ็ดเวิร์ดและวอลลิส ซิมป์สันน่าจะเป็นความรักที่ไม่น่าเชื่อว่าจะเกิดในโลกจริงๆ ของเรา การสละอำนาจอันมั่งคั่งของเจ้าชายเอ็ดเวิร์ดเพื่อคนที่รักวอลลิส ซิมป์สันนั้นเป็นอะไรที่ทั่วโลกแปลกใจมาก เมื่อพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 8 ทรงประกาศราชบัลลังก์หลังจากที่พระองค์เสด็จขึ้นครองราชย์ได้ไม่ถึงหนึ่งปี (325 วัน เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อปี 1936) เพื่อที่จะเสกสมรสกับหญิงม่ายชาวอเมริกันผู้ผ่านการหย่าร้างมาสองครั้ง ท่ามกลางหลายฝ่ายไม่พอใจ อีกทั้งวอลลิสไม่สามารถเป็นราชินีอังกฤษได้เพราะเธอไม่มีสัญชาติอังกฤษ และต่อมาเอ็ดเวิร์ดก็สละราชบังลังก์เพื่อแต่งงานกับผู้หญิงที่เขารัก ทั้งคู่จัดงานพิธีแต่งงานเล็กๆ และใช้ชีวิตที่เหลือของพวกเขาส่วนใหญ่ในประเทศฝรั่งเศส เจ้าชายเอ็ดเวิร์ดถึงแก่กรรมอย่างสงบเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 1972 ส่วนวอลลิสถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 24 เมษายน 1986
เรื่องราวของพีรามุสและทิสเบนั้นเป็นตำนานความรักที่น่าเศร้า แต่ก็โรแมนติกและกลายเป็นตำนานของเทพนิยายโรมันในเวลาต่อมา (และถูกดัดแปลงเป็นโรมิโอและจูเลียต) เรื่องราวของพวกเขาเกิดขึ้นเมื่อปี 331 ก่อนคริสตกาล ในบาบิโลม พีรามุสเป็นชายหล่อเหลาและเป็นเพื่อนสมัยเด็กของทิสเบผู้งดงาม ทั้งสองอยู่บ้านใกล้กัน เติบโตด้วยกันพร้อมความรักที่เพิ่มพูนยิ่งขึ้น หากแต่พ่อแม่ของพวกเขาขัดขวางการแต่งงาน แต่นั้นก็ไม่สามารถขวางกั้นความรักของพวกเขาได้ ตรงกำแพงที่กั้นบ้านทั้งสองนั้นมีรอยแยกอยู่รอยหนึ่งซึ่งพวกเขากระซิบกระซาบส่งถ้อยคำหวานซึ้งหากันโดยผ่านทางรอยแยกนี้ จนในที่สุดคืนหนึ่งทั้งคู่ก็ตกลงใจว่าจะหนีออกจากบ้านด้วยกัน ทั้งสองนัดเจอกันที่ใต้ต้นมัลเบอรี่ ซึ่งทิสเบได้มาถึงที่นัดหมายก่อน พอดีในเวลานั้นแม่สิงโตตัวหนึ่งได้เข้ามาใกล้ต้นมัลเบอรี่ในปากของมันเต็มไปด้วยเลือด นางเลยตกใจกลัวและวิ่งหนีไป และเธอได้ทำผ้าคลุมหน้าของเธอหล่น และเจ้าสิงโตได้เอาปากคาบผ้าคลุมหน้าของเธอ ทันใดนั้นเองพีรามุสได้มาเห็นเข้าพอดีจึงคิดไปเองว่าสิงโตตัวนี้ได้กินผู้หญิงที่เขารักไปแล้ว พีรามุสจึงเสียใจเป็นอันมากจึงเอาดาบทิ่มแทงทะลุหัวใจ ส่วนทิสเบเมื่อมาถึงศพของพีรามุสก็ร่ำไห้และหยิบดาบแทงตนเองตายตามเขาเช่นกัน แม้ความรักของทั้งสองจะไม่สมหวัง แต่สุดท้ายทั้งสองก็ได้รับการฝังอยู่ด้วยกัน
เรื่องราวความรักของสองนักวิทยาศาสตร์ที่มีความสนใจศึกษาในวิทยาศาสตร์และธรรมชาติยังคงจารึกโลกอย่างไม่รู้ลืม ในปี 1981 มารียา สโคลดอฟสกา หรือเป็นผู้รู้จักกันในชื่อมารี กูรีนักวิทยาศาสตร์ได้เดินทางไปปารีสเพื่อศึกษาต่อ และได้เป็นผู้ช่วยในห้องปฏิบัติการทางเคมี ของ ปิแอร์ กูรี หลังจากคบหากัน ทั้งสองก็แต่งงานกันในปี 1895 มีลูกด้วยกัน หลังจากนั้นทั้งคู่ก็มีชื่อเสียงร่วมกัน ในปี 1898 พวกเขาพบธาตุโฟโลเนียมและ เรเดียมคลอไรด์ ซึ่งเป็นธาตุใหม่เวลานั้น ทั้งคู่ใช้เวลาหลายวันหลายคืนของพวกเขาในห้องปฏิบัติการเพื่อประกาศให้โลกรู้การค้นพบที่ยิ่งใหญ่นี้ หากแต่แปิแอร์ เสียชีวิตก่อนเพราะอุบัติเหตุรถม้าชน ในปี 1904 ทำให้มารีต้องสืบสานความตั้งใจของสามีต่อจนเธอได้กลายเป็นผู้หญิงคนแรกที่ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมีสองครั้ง และต่อมาเธอก็ล้มป่วยเพราะผลมาจากการทำงานหนัก และโดนรังสีเรเดียม ทำให้ไขกระดูกถูกทำลายและเสียชีวิตในปี 1934
อาบิเกล และจอห์น อดัมส์น่าจะเป็นคู่รักที่หวานแม้จะผ่านมาหลายศตวรรษแล้วก็ตาม กล่าวคือจอห์น อดัมส์เป็นประธานาธิบดีที่สองของอเมริกา ได้พบรักและแต่งงานกับ อบิเกล สมิธ เธอเป็นคนที่มีสติปัญญาสูงและร่าเริง ในปี1764 ในเวลานั้นอเมริกาเต็มไปด้วยความยุ่งยากทั้งภายนอกและภายในประเทศ อเมริกาต้องวางตัวเป็นกลางในสงครามอังกฤษกับฝรั่งเศส ทำให้ช่วงนี้อดัมส์ไม่ค่อยอยู่บ้านมากนักและค่อนข้างนานกว่าจะกลับ อย่างไรก็ตามด้วยความรักของอบิเกลเธอยังคงเขียนจดหมายถึงเขาอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้กำลังใจและสนับสนุนเขา และหลายตัวอักษรแสดงถึงความรักของคนทั้งคู่ที่พร้อมจะอยู่เคียงข้างเขาไปตลอดชีวิต ทั้งคู่อยู่ด้วยกัน 54 ปี จนกระทั่ง อบิเกล อาดัมส์ สิ้นชีวิต เมื่อ ค.ศ.1818 อายุ 74 ปี หลายปีก่อนที่ บุตรชายคนโต จอห์นควีนชี อาดัมส์ ได้เป็นประธานาธิบดีคนที่ 6 ของสหรัฐ คำพูดสุดท้ายของเธอคือ “ไม่ต้องเศร้าสลดใจ เพื่อน เพื่อนสุดที่รักของฉัน ฉันพร้อมที่จะไป และจอห์นมันจะไม่นาน”