อภิมหาโปรเจค เปลี่ยนดาวอังคาร เป็น โลก !

อภิมหาโปรเจค พลิกดาวอังคาร เป็น โลก



Mar ดาวอังคาร คิดว่ามนุษย์จะสามารถพลิก ดาวแห้งแล้งสีแดง อันหนาวเหน็บ เพื่อเป็นที่โลกแห่งที่ 2 สำหรับเราได้หรือไม่ แต่นักวิทยาศาสตร์ ก็ได้ฝัน และได้คิดอภิมหาโปรเจค เปลี่ยนดาวอังคาร เป็น โลกแห่งที่สอง สำหรับ มนุษย์

Step I
 เรียก ว่าช่วง ก้าวเดินสู่อภิมหาโปรเจค 1000 ปี เริ่มต้นด้วยภาระกิจสำรวจระยะเวลา 18 เดือน โดย 6 เดือนแรกเป็นการเดินทางจาก โลก มายัง ดาวอังคาร เมื่อถึงดาวอังคาร ก่อดำเนินการสร้างที่พักอาศัยขนาดเล็ก(Habitation Module) เพื่ิอใช้เป็นฐานปฏิบัติภาระกิจขั้นต่อไป โดยช่วงแรกดาวอังคารมีอุณหภูมิเพียง -60 องศาเซลเซียส Step II
เรียกว่า่ช่วง สร้างชั้นบรรยากาศ หลังจากเวลาผ่านไป 100 ปี การเพิ่มอุณหภูมิดาวอังคาร โดย การปลดปล่อยจากก๊าซเรือนกระจก จาก โรงงานผลิตก๊าซซุปเปอร์เรือนกระจก เพื่อทำให้ดาวอังคาร เกิดปรากฏการณ์เรือนกระจกอย่างรวดเร็ว เพื่อเป็นการเพิ่มอุณหภูของดาวอังคาร ให้เหมาะสม กับ การดำรงณ์ชีวิต ของ มนุษย์ การสร้างน้ำ และชั้นบรรยากาศ โดย ดาวเทียมที่สะท้อนพลังงานแสงอาทิตย์กำลังสูง มายังน้ำแข็งบนดาวอังคาร เพื่อผลิตน้ำ และปลดปล่อย ก๊าซคาร์บอนไดออกไซค์ ที่น้ำแข็งกักเอาไว้ออกมาเพื่อเป็นการสร้างชั้นบรรยากาศ Step III
เรียกว่าช่วง ฝน หลังจากเวลาผ่านไป 200 ปี เมื่อผ่านมา 200 ปี ฝนจะตก น้ำจะมีการไหล เพียงพอต่อการหล่อเลี้ยง จุลชีพ สาหร่าย ตะไคร่ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซค์ (CO2) จะยังคงดำเนินการเพิ่ม ความดันบรรยากาศ และอุณหภูมิ อย่างต่อเนื่อง Step IV
เรียกว่าช่วง ดวงดาวแห่งดอกไม้บาน หลังจากเวลาผ่านไป 600 ปี หลังจากมีกลุ่มพืชชั้นต่ำ เช่น สาหร่าย และตะไคร่ ปกคลุมทะเลทราย และหิน พวกมันจะปลดปล่อยออกซิเจน สู่ชั้นบรรยากาศ พวกมันทำการย่อยสลาย หิน และทราย เป็น ดิน เมื่อกำเนิด ดินขึ้นก็จะเป็นการกุยทางสู่การก่อกำเนิกป่าสนเขตหนาว จนถึงป่าเขตร้อน ได้หยั่งรากสู่แผ่นดิน Step V
เรียกว่าช่วง พลังงาน หลังจากเวลาผ่านไป 900 ปี เพื่อเป็นการรองรับการขยายตัวของเมือง และประชาชนที่จะเพิ่มขึ้น ในช่วงแรกอาจจะมีการผลิตพลังงานจาก พลังงานนิวเคลียร์ หรือ พลังงานจากกังหันลม สำหรับในระยะยาวพลังงานที่ดีที่สุดคือ พลังงาน จากเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ ( Fusion reactor ) Step VI
หลังจากเวลาผ่านไป 1,000 ปี มนุษย์สามารถย่างก้าวออกมาเดินบนผืนดินของดาวอังคาร โดยสวมใส่ชุดคล้ายชุดดำน้ำ เนื่องจากปริมาณออกซิเจนในบรรยากาศยังเบาบาง แต่ถึงกระนั้นเมื่อถึงช่วงเวลาที่ดาวโลก ถึงวาระที่ไม่สามารถให้มนุษย์ดำรงณ์ชีพอยู่ได้ ดาวอังคาร ก็อาจจะสูญเสียชั้นบรรยากาศที่มนุษย์เพียรพยายามสร้างไว้ แล้วกับสู่ดาวสีแดง ที่หนาวเหน็บ เมื่อผ่านไป 1 พันปี ชั้นบรรยากาศ บนดางอังคาร จะมีสภาพ ดังนี้
ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 50% ก๊าซไนโตรเจน 40% ( ปริมาณไนโตรเจนในบรรยากาศโลกอยู่ที่ 78% ) ก๊าซออกซิเจน 5% ( ปริมาณออกซิเจนในบรรยากาศโลกอยู่ที่ 21% ) ความดันบรรยากาศ 500 มิลลิบาร์ (ความดันบรรยากาศบนโลกอยู่ที่ 1,013 มิลลิบาร์) ข้อมูลอ้างอิง อภิมหาโปรเจค เปลี่ยนดาวอังคาร เป็น โลก
http://ngm.nationalgeographic.com/big-idea/07/mars http://ngm.nationalgeographic.com/big-idea/07/mars-pg2
Credit: http://www.wowboom.blogspot.com/
8 มี.ค. 53 เวลา 21:21 6,700 47 322
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...