โรคซึมเศร้า !! ซึมก่อนเศร้าหรือเศร้าก่อนซึมนะ

 

 

 

 

 

 

ขออภัย  ดิฉันอาจไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยา  แต่ก็หาข้อมูลประเด็นนี้ได้ความว่า

โรคซึมเศร้าคืออะไร

โรคซึมเศร้าเป็นการป่วยทั้งร่างกาย จิตใจและความคิด ซึ่งผลของโรคกระทบต่อชีวิตประจำวันเช่นการรับประทานอาหาร การหลับนอน ความรับรู้ตัวเอง ผู้ป่วยไม่สามารถประสานความคิด ความรู้สึกของตัวเพื่อแก้ปัญหา หากไม่รักษาอาการอาจจะอยู่เป็นเดือน

โรคซึมเศร้ามีกี่ชนิด

Major depression ผู้ป่วยจะมีอาการ(ดังอาการข้าง ล่าง)ซึ่งจะรบกวนการทำงาน การรับประทานอาหาร การนอน การเรียน การทำงาน และอารมสุนทรีย์ อาการดังกล่าวจะเกิดเป็นครั้งๆแล้วหายไปแต่สามารถเกิดได้บ่อยๆ dysthymia เป็นภาวะที่รุนแรงและเป็นเรื้อรังซึ่งจะทำให้คนสูญเสียความสามารถในการทำงานและความรู้สึกที่ดี bipolar disorder หรือที่เรียกว่า manic-depressive illness ผู้ป่วยจะมีการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ซึ่งบางคนอาจจะเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ส่วนมากจะค่อยเป็นค่อยไป เวลาซึมเศร้าจะมีอาการมากบ้างน้อยบ้าง แต่เมื่อเปลี่ยนเป็นช่วงอารมณ์ mania ผู้ป่วยจะพูดมาก  กระฉับกระเฉงมากเกินกว่าเหตุ มีพลังงานเหลือเฟือ ในช่วง mania จะมีผลกระทบต่อความคิด การตัดสินใจและพฤติกรรมผู้ป่วยอาจจะหลงผิด หากไม่รักษาภาวะนี้อาจจะกลายเป็นโรคจิต

อาการของโรคซึมเศร้า

ผู้ป่วยที่เป็นโรคซึมเศร้าอาจจะไม่จำเป็นต้องมีอาการทุกอย่างบางคนก็มีบางอย่างเท่านั้น

อาการซึมเศร้า depression

การเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ได้แก่ รู้สึกซึมเศร้า กังวล อยู่ตลอดเวลา หงุดหงิดฉุนเฉียว โกรธง่าย อยู่ไม่สุข กระวนกระวาย

การเปลี่ยนแปลงทางความคิด

รู้สึกสิ้นหวัง มองโลกในแง่ร้าย รู้สึกผิด รู้สึกตัวเองไร้ค่า ไม่มีทางเยียวยา มีความคิดจะทำร้ายตัวเอง คิดถึงความตาย พยายามทำร้ายตัวเอง

การเปลี่ยนแปลงการเรียนรู้หรือการทำงาน

ไม่สนใจสิ่งแวดล้อม ความสนุก งานอดิเรก หรือกิจกรรมที่เพิ่มความสนุกรวมทั้งกิจกรรมทางเพศ รู้สึกอ่อนเพลีย ไม่มีพลังงาน การทำงานช้าลง การงานแย่ลง ไม่มีสมาธิ ความจำเสื่อม การตัดสินใจแย่ลง

การเปลี่ยนปลงทางพฤติกรรม

นอนไม่หลับ ตื่นเร็ว หรือบางรายหลับมากเกินไป บางคนเบื่ออาหารทำให้น้ำหนักลด บางคนรับประทานอาหารมากทำให้น้ำหนักเพิ่ม มีอาการทางกายรักษาด้วยยาธรรมดาไม่หายเช่น อาการปวดศีรษะ แน่นท้อง ปวดเรื้อรัง ความสัมพันธ์กับบุคคลอื่นแย่ลง

อาการ Mania

มีอาการร่าเริงเกินเหตุ หงุดหงิดง่าย นอนน้อยลง หลงผิดคิดว่าตัวเองเก่ง ตัวเองใหญ่ พูดมาก มีความคิดชอบแข่งขัน ความต้องการทางเพศเพิ่ม มีพลังงานมาก ตัดสินใจไม่ดี มีพฤติกรรมเปลี่ยนไป

โรคซึมเศร้าอาจจะเกิดในคนที่มีการสูญเสีย หรือโรคซึมเศร้าอาจจะเกิดในคนที่มีโรคประจำตัวหรือเกิดในคนปกติทัวๆไป มีการประเมินว่าในระยะเวลา 1 ปีจะมีประชาชนร้อยละ9จะเป็นโรคซึมเศร้า ทำให้สูญเสียทางเศรษฐกิจประเมินมากมาย แต่สูญเสียคุณภาพชีวิตรวมทั้งความทุกข์ที่เกิดกับผู้ป่วยจะประเมินมิได้ โรคซึมเศร้าจะทำให้การดำรงชีวิตเปลี่ยนแปลงและเกิดความเจ็บปวดทั้งผู้ป่วย และผู้ดูแล บางครั้งอาจจะทำให้ครอบครัวแตกแยก

ผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่ทราบว่าตัวเองเป็นโรคซึมเศร้า และไม่ได้รับการรักษาทั้งที่ปัจจุบันมียาและวิธีการรักษาที่ได้ผลดี ความนี้จะเป็นแนวทางในการวินิจฉัย หากพบว่าคนที่รู้จักมีอาการเหมือนกับโรคซึมเศร้ารีบแนะนำให้เขาไปพบจิตแพทย์

ที่มา:http://www.siamhealth.net/public_html/Disease/neuro/psy/depression/depression.htm

"หาก คุณมีอาการเซื่องซึม คิดอะไรไม่ออก กิจวัตรประจำวันที่เคยทำได้ก็กลับทำไม่ได้ วิตกกังวล ทุกข์ใจ และขาดความมั่นใจ กินไม่ได้ นอนไม่หลับ โดยมีอาการดังกล่าวเกินกว่า 2 สัปดาห์ขึ้นไป"

อย่า ปล่อยทิ้งไว้ รีบหาทางแก้ก่อนเข้าสู่ภาวะซึมเศร้าแบบเรื้อรังจนกลายเป็นโรคซึมเศร้า และนำไปสู่ภาวะเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาพฤติกรรมฆ่าตัวตายได้

5 วิธีบำบัดการซึมเศร้า โดยได้รับความอนุเคราะห์ข้อมูล จากนิตยสารชีวจิต ปีที่ 13 ตุลาคม 2554 และ มหาวิทยาลัยแวนเดอร์บิท เมืองแนชวิลล์ รัฐเทนเนสซี สหรัฐอเมริกา

1. ออกกำลังกาย อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 วัน ครั้งละ 30 นาที เช่น วิ่งจ๊อกกิ้ง เต้นแอโรบิค (อยู่ในศูนย์พักพิงก็สามารถทำได้)

ข้อมูล วิชาการ : การศึกษาวิจัยที่ยืนยันผลทางการรักษานี้ กล่าวว่า การออกกำลังกายที่สามารถรักษาโรคซึมเศร้าได้นี้เป็นเพราะสามารถเพิ่มระดับ สารเคมีในสมองที่ชื่อ เซโรโทนิน (Serotonin) เช่นเดียวกัน ที่มีการพูดคือ ออกกำลังกายช่วยทำให้ร่างกายหลั่งสารเอนดอร์ฟิน (Endorphin) ซึ่งก็คือ สารธรรมชาติที่ออกฤทธิ์ระงับปวดคล้ายกับมอร์ฟิน (Morphine) แต่อย่างไรก็ตาม เอนเดอร์ฟินตัวนี้มักจะอยู่ในกระแสเลือด และมีผลต่อสมองน้อยกว่าและอยู่ไม่นาน (เพียง24 ชม. หลังออกกำลังกาย) ก็หมดไป จึงทำให้นักวิทยาศาสตร์บางรายเชื่อว่ามีผลต่อการรักษาโรคซึมเศร้าได้น้อย กว่า (Frayne, 2002) แต่อย่างไรก็ตามมันก็ทำให้คนเราอารมณ์ดีขึ้น

ซึ่ง งานวิจัยดังกล่าวยืนยันว่า การออกกำลังกายที่จะมีผลต่อการรักษาโรคได้นั้น จะต้องทำติดต่อกันอย่างน้อย 10 วันขึ้นไป เพื่อให้ร่างกายสามารถเพิ่มระดับซีโรโทนิน ซึ่งเป็นสารเคมีในสมองตัวสำคัญที่เกี่ยวข้องกับโรคซึมเศร้า สามารถลดระดับอาการโรคซึมเศร้าได้ ยืนยันผลโดยคะแนนจากการทำแบบทดสอบด้วยตนเองของกลุ่มตัวอย่างของ Hamilton Scale (ในวันที่ 10 ของการออกกำลังกาย) มีคะแนนลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยเป็นผลการศึกษาของ Proest and Haleon ในปี คศ.2001 และเผยแพร่ในวารสาร The British Journal of Sport Medicine ฉบับเดือน กันยายน 2006

นอกจากวิธีการในข้อ 1 แล้ว ถ้าสนใจทำกิจกรรมเพิ่มเติมก็มีข้อเสนอแนะจากวารสารชีวจิตเพิ่มดังนี้ค่ะ

2.สร้างเสียงหัวเราะให้ตัวเอง ดูภาพยนตร์ตลกหรืออ่านหนังสือการ์ตูนขำขัน สามารถช่วยคลายความวิตกกังวลและลดความเครียดได้

3.ระบาย อารมณ์เสียบ้าง อาการซึมเศร้ามักเกิดจากการเก็บกดอารมณ์โกรธไว้โดยไม่แสดงออก การระบายอารมณ์มีหลายวิธี ทั้งตะโกน ร้องไห้ หรือเขียนความรู้สึกลงในสมุดบันทึก

4.พูด คุยกับคนที่ไว้ใจ การเล่าเรื่องให้ผู้อื่นฟังจะช่วยลดความฟุ้งซ่าน ทั้งยังได้ข้อคิดและเรียนรู้ว่าความทุกข์ไม่ได้เกิดขึ้นกับเราเพียงคนเดียว

5.มองโลกในแง่ดี ทุกปัญหาย่อมมีทางออก ทุกอุปสรรคย่อมมีโอกาส การมองโลกในแง่ดีช่วยลดความวิตกกังวล ทำให้ค้นพบแนวทางในการแก้ไขปัญหา

หากพบว่าตนเองหรือคนรอบข้างซึมเศร้า อย่านิ่งนอนใจรับหาทางแก้ไขนะคะ

 

ขอบคุณที่แวะมาค่ะ ขอให้สุขภาพแข็งแรงทั้งร่างกายและจิตใจทุกท่านค่ะ

Credit: http://board.postjung.com/684544.html
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...