หัวใจเทียมแบบใหม่ใช้เนื้อเยื่อวัวเป็นส่วนประกอบ

 

 

 

 

 

 

ในทุกๆปีนั้นมีผู้คนราวสองพันถึงสามพันคนในสหรัฐฯได้รับหัวใจดวงใหม่จากผู้ให้บริจาคอวัยวะ แต่ขณะเดียวกันก็มีคนจำนวนเท่ากันที่อยู่ในรายชื่อรอรับบริจาค ซึ่งหลายคนก็ได้เสียชีวิตก่อนที่จะได้มีโอกาสได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนถ่ายอวัยวะเสียอีก

หัวใจเทียมนั้นได้ถูกใจเป็นตัวคั่นเวลาระหว่างที่คนไข้กำลังรอรับบริจาคหัวใจอยู่ ซึ่งหัวใจเทียมพวกนี้ก็มีอายุการใช้งานไม่นานมากนัก ซึ่งอาจจะได้ซักสามถึงสี่ปีก็จริง แต่ก็ไม่ใช่วิธีแก้ปัญหาที่ถาวรอยู่ดี ยิ่งไปกว่านั้น หัวใจเทียมจะต้องอาศัยตัวขับเคลื่อนที่จะต้องอยู่ด้านนอกของร่างกายและเชื่อมต่อกับหัวใจเทียมโดยเจาะผ่านผิวหนัง เป็นการเพิ่มโอกาสของการติดเชื้อให้มากสูงขึ้นอีกด้วย

Carmat บริษัทจาก Paris ได้สร้างหัวใจเทียมที่ไม่ต้องมีส่วนที่ออกมานอกร่างกายเป็นชิ้นแรกและสามารถปลูกถ่ายไว้ในร่างกายได้ทั้งหมด การที่อุปกรณ์ทั้งชิ้นสามารถอยู่ภายในร่างกายได้ทั้งหมดนั้นจะช่วยลดตำแหน่งที่สามารถเกิดการติดเชื้อและทำให้อายุการใช้งานของหัวใจเทียมนั้นยาวนานขึ้นด้วย

อุปกรณ์ดังกล่าวนั้นแบ่งออกเป็นสองห้อง แต่ละห้องถูกแบ่งออกจากกันด้วยเนื้อเยื่อ ซึ่งฟากนึงจะเป็นของเหลวไฮโดรลิก ในขณะที่อีกฟากนึงของอุปกรณ์จะสัมผัสกับเลือดโดยตรง

ภายในจะมีปั๊มตัวหนึ่งที่ค่อยสูบของเหลวเข้าออกจากห้องทั้งสอง ซึ่งของเหลวจะเป็นตัวขยับเนื้อเยื่อ ทำให้เลือดไหลเข้าออกจากห้องหัวใจเช่นเดียวกับหัวใจจริงๆ ส่วนเนื้อเยื่อข้างที่สัมผัสกับเลือดนั้นเป็นมาจากเนื้อเยื่อของหัวใจวัว ลิ้นปิดเปิดของหัวใจข้างในนั้นก็ทำมาจากเนื้อเยื่อของวัวเหมือนกัน

ผู้ออกแบบหัวใจเทียมตัวนี้กล่าวว่าการใช้เนื่อเยื่อจากสัตว์นั้นทำให้ลดโอกาสเกิดอาการเลือดจับตัวเป็นก้อนในผู้ช่วยซึ่งเป็นสาเหตุของอาการเลือดไม่ไปเลี้ยงสมอง อีกทั้งยังช่วยลดความต้องการยาสำหรับละลายก้อนเลือดที่แข็งตัวอีกด้วย

อุปกรณ์ที่ Carnat ได้สร้างขึ้นนั้นยังได้ใช้ระบบเซนเซอร์ที่จะส่งผ่านข้อมูลไปยังคอมพิวเตอร์ และให้คอมพิวเตอร์ส่งสัญญาณกลับมาที่หัวใจเทียมเพื่อปรับการทำงานต่างๆให้เข้ากับสภาวะของผู้ใช้งานในเวลานั้นๆ  ซึ่งหัวใจเทียมตัวนี้มีแบตเตอรี่อยู่ภายในและชาร์จไฟด้วยระบบประจุไฟฟ้าเหนี่ยวนำ

อย่างไรก็ตาม ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่าอุปกรณ์ตัวนี้จะสามารถใช้งานได้นานแค่ไหน ร่างกายของมนุษย์นั้นไม่ค่อยเหมาะกับอุปกรณ์เครื่องกลเสียเท่าไหร่ เพราะมีความเค็มสูงซึ่งทำให้เกิดการสึกกร่อนง่าย อีกทั้งหัวใจนั้นยังคงต้องเต้นเป็นจำนวนมาก ด้วยอัตราปกติของ 60 ครั้งต่อนาที ซึ่งนับเป็น 86,400 ครั้งต่อวัน หรือ 31.5 ล้านครั้งต่อปีเลยทีเดียว การออกแบบอะไรก็ตามที่สามารถคงสภาพการทำงานได้านขนาดนั้นในสภาวะที่ทำให้เกิดการเสื่อมสภาพได้ง่ายนับว่าเป็นเรื่องที่ท้าทายอย่างมาก  อุปกรณ์ดังกล่าวจะถูกนำไปทดสอบกับคนไข้ในยุโรปและตะวันออกกลางต่อไป 


Credit: http://women.postjung.com/684730.html
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...