เบียร์ญี่ปุ่น เบียร์เด็ก กินได้

 

 

 

 

 

 

 เบียร์ญี่ปุ่น เบียร์โอริอัน

เฮ้อ! ช่วงนี้หลังจากปาร์ตี้ ฮาโลวีน เสร็จก็มานั้งมอง สิ่งที่ตัวเองถืออยู่ในมือนั้นก็คือ เบียร์ญี่ปุ่น ที่เพื่อนซื้อมาฝากจากแดนไกล ด้วยความอยากรู้ว่า เบียร์ญี่ปุ่น มันจะต่างจากเบียร์ไทย อย่างไร? ไม่รีรอดึงฝา ป๊อกซ่า! ดื่มอึ้กๆ ก็รสชาติเบียร์ขมๆ เหมือนกันนั้นแหละ … แต่เพื่อนบอกว่า เห้ยอ่านสรพพคุณก่อนต่างกันนะเว้ย ! เออว่ะ จริงด้วย เพราะ เบียร์ญี่ปุ่น ผลิตโดยใช้วัตถุดิบส่วนใหญ่จาก ถั่วเหลือง ข้าว ข้าวโพด มันฝรั่ง แทนการใช้ Malt ! อั๊ยย่ะชิชะ ใช้วัตถุดิบอื่นนอกจาก มอล์ล ได้ด้วยหรือ? แหม่ เบียร์ญี่ปุ่น กระตุ๊กต่อม teen.mthai.com อีกแล้ว

ข้อมูล เบียร์ญี่ปุ่น : Kalaman /Japan เรื่องของ Beer Beer

เบียร์ญี่ปุ่น เบียร์ Shinagawa

ญี่ปุ่น รู้จักเบียร์จากการมาของชาว Dutch ที่มาค้าขายทางใต้แถบ Nagasaki เบียร์ญี่ปุ่น ยี่ห้อแรกๆของญี่ปุ่นคือ Shinagawa (品川縣麦酒 – Shinagawa Ken Biiru) เริ่มผลิตตั้งแต่ปี 1869 จนถึงปัจจุบัน

ทุกวันนี้คนญี่ปุ่นดื่ม เบียร์ญี่ปุ่น เป็นสัดส่วนถึง 40% ของเครื่องดื่มน้ำเมาทั้งหมด โดยกินเฉพาะเบียร์อย่างเดียวปีละ 6,500 ล้านลิตร เฉลี่ยแล้ว ดื่ม เบียร์ญี่ปุ่น คนละ 50 กว่าลิตรต่อปี

แม้ว่า เบียร์ญี่ปุ่น  4 ยี่ห้อหลักคือ Kirin (กิเลน) Asahi Suntory และ Supporo จะกินตลาดรวมกันไปแล้วกว่า 96% แต่ก็ยังมีเบียร์ท้องถิ่นและ Micro Brewery อยู่อีกเป็นร้อยแห่งทั่วประเทศ ทำให้ตลาด เบียร์ญี่ปุ่น มี Segment ยุบยับไปหมด มีแม้กระทั่ง เบียร์เด็ก เบียร์ (ปลอม) สำหรับเด็ก (こども の のみもの – Kodomo no Nomimono)  

เบียร์ญี่ปุ่น เบียร์เด็กกินได้

แถมญี่ปุ่นยังมีสูตรการเก็บภาษีเครื่องดื่มน้ำเมาประเภทนี้เฉพาะตัว นั่นคือเก็บตามปริมาณส่วนผสมของ Malt ถ้ามี Malt มากก็จะเสียภาษีมาก ยกตัวอย่างเบียร์ 1 ขวดราคา 337 เยน จะเป็นภาษีรวมแล้วถึง 157 เยน หรือ 47% เลยทีเดียว

แต่ถ้าส่วนผสมของ Malt ต่ำกว่า 67% จะเสียภาษีถูกลงเหลือเพียง 36% เท่านั้น ภายใต้เงื่อนไขที่ว่าห้ามเขียนที่ขวดหรือกระป๋องว่าเบียร์ (ビール) ต้องใช้คำอื่นแทน ดังนั้นถ้าอยากจะกินเบียร์แท้ๆแบบต้นตำรับ จึงต้องสังเกตคำว่า ビール ให้ดีก่อนซื้อ

เมื่อมีกติกาเช่นนี้ ผู้ผลิต เบียร์ญี่ปุ่น จึงหนีมาผลิต Low-Malt Beer มากขึ้นโดย Segment นี้มีชื่อว่า Happoushu (発泡酒) คือ เหล้าที่มีฟอง มาจากคำว่า Happou 発泡 (はっぽう) ที่แปลว่า เป็นฟอง ส่วนคำว่า Shu 酒 (シュ) นั้นก็คือ เหล้า ที่ปกติเราอ่านว่า Sake (さけ) นั่นเอง

หลังจากนั้นในปี 2004 ก็มี เบียร์ญี่ปุ่น Low-Malt อีก Segment โผล่ขึ้นมา เรียกว่า Happousei (発泡性) โดยใช้คำว่า Sei 性 (せい) ที่แปลว่าประเภท แทนคำว่า Shu 酒 (シュ) เนื่องจากมันถูกผลิตโดยใช้วัตถุดิบส่วนใหญ่จาก ถั่วเหลือง ข้าว ข้าวโพด มันฝรั่ง แทนการใช้ Malt

เบียร์ Happousei นี้ถูกเรียกว่าเป็น Third Generation Beer หรือ เบียร์ญี่ปุ่น รุ่นหลาน กำลังเป็นที่นิยมมากขึ้น เพราะราคาที่ถูกกว่า สังเกตได้จากที่กระป๋องจะเขียนคำว่า Liquor (リキュール) แทน แต่ก็ไม่วายที่จะแอบใส่รูปรวงข้าว Barley บนกระป๋องให้เข้าใจแบบไม่ต้องสื่อสารว่า ที่อยู่ในกระป๋องน่ะ รสชาติเบียร์นะโว้ย

ในระยะหลัง เบียร์ญี่ปุ่น ถูก Position ให้เป็นเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพมากขึ้น จะพบเห็นคำที่ฟังแล้วดูดีคือคำว่า Zero ปรากฎอยู่ตามโฆษณาในที่ต่างๆทั่วไป และมี เบียร์ญี่ปุ่น แบบ Zero ให้เห็นอยู่หลายรุ่น เช่น Zero Alcohol คือ เบียร์ที่ไม่มี Alcohol (แล้วจะกินกันไปทำไม..)

เบียร์ญี่ปุ่น จาก Kirin แบบนี้

 

และ เบียร์ญี่ปุ่น จาก Suntory แบบนี้

รวมทั้งมีเบียร์ Calorie ต่ำ カロリーオフ (Calorie Off) ที่แอบใช้คำว่า Zero กับเขาด้วย แต่ไม่ได้แปลว่า Calorie จะเหลือ 0 นะ แบบนี้..

โดยเฉพาะเจ้า เบียร์ญี่ปุ่น กระป๋องนี้.

 

มันยังมีอยู่ตั้ง 19 kcal แน่ะ

 

นั่นไม่สำคัญเท่า มันมี Alcohol 3%

ดังนั้น ใครไปเยือน ญี่ปุ่น เวลาไปยืนหน้าตู้ขาย เบียร์ญี่ปุ่น ซึ่งมันจะเบียดกันเสนอหน้าจนละลานตาไปหมด เห็นคำว่า Zero อย่าได้ย่ามใจคิดว่าปลอดภัยเชียว กระป๋องนี้น่ะ ทีเด็กๆที่ไม่ยอมกิน เบียร์เด็ก ไปคว้ามาลองเพราะเข้าใจผิด คิดว่าเป็นรุ่น Zero Alcohol ดวดกันเข้าไปคนละสองอึกสามอึก นั่งตาปรือกันถ้วนทั่วหน้าแน่ๆ ^^

Credit: http://teen.mthai.com/variety/49256.html
13 มิ.ย. 56 เวลา 16:09 2,592 110
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...