'ออฟฟิศซินโดรม' พ่าย 5 ท่าออกกำลังกาย สำหรับ 5 วัน...!

 

 

 

'ออฟฟิศซินโดรม' พ่าย 5 ท่าออกกำลังกาย สำหรับ 5 วัน...!

 


           เคล็ดลับการออกกำลังกายด้วยท่าง่ายๆ 5 ท่า สำหรับวันทำงานทั้ง 5 วัน ที่สามารถทำได้ทั้งที่บ้านและที่ทำงาน ช่วยป้องกันความปวดและบรรเทาความเมื่อยล้าตามกล้ามเนื้อ ที่อาจเกิดการจากนั่งทำงานท่าเดิมเป็นเวลานานๆ เหมาะสำหรับคนรุ่นใหม่ที่ต้องการดูแลตัวเองให้ห่างจากการเป็นโรคยอดฮิต “ออฟฟิศ ซินโดรม” ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายแพทย์ วิศาล คันธารัตนกุล หัวหน้าศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาล สมิติเวช ศรีนครินทร์

วันจันทร์ เช้า


ประโยชน์: เพื่อการเหยียดกล้ามเนื้อของบริเวณคอ บ่าและไหล่ โดยขณะปฏิบัติควรจะรู้สึกมีความตึงบริเวณที่ถูกเหยียดเล็กน้อย แต่ไม่ควรมีอาการปวดมาก

ข้อควรระวัง: ในระหว่างการเหยียดไม่ควรเกร็ง แต่ให้เน้นการเคลื่อนไหวมากกว่าการเกร็งค้าง

วันจันทร์ บ่าย


ประโยชน์ : เพื่อการเหยียดกล้ามเนื้อรอบกระดูกสะบัก โดยเวลาเหยียดไม่ควรก้มตัว ให้เพียงแต่เหยียดแขนไปข้างหน้าให้มากที่สุด โดยที่ตัวยังคงอยู่ตำแหน่งเดิม

วันอังคารเช้า


ประโยชน์: ท่านี้เน้นการเหยียดกล้ามเนื้อข้างลำตัว ซึ่งจำเป็นมากสำหรับผู้ที่นั่งโต๊ะทำงานนานๆ หากเริ่มรู้สึกตึงน้อยลง การเหยียดอาจจะใช้หนังสือหนาประมาณ 5 นิ้วรองใต้ที่นั่ง (ตำแหน่งลูกศรชี้) ด้านตรงข้ามกับกล้ามเนื้อที่เหยียด

วันอังคารบ่าย


ประโยชน์ : เพื่อการเหยียดกล้ามเนื้อรอบกระดูกสะบัก โดยเวลาเหยียดไม่ควรก้มตัว ให้เพียงแต่เหยียดแขนไปข้างหน้าให้มากที่สุด โดยตัวยังคงอยู่ตำแหน่งเดิม

วันพุธเช้า


ประโยชน์: เพื่อการเหยียดกล้ามเนื้อข้างคอและต้นแขน

วันพุธบ่าย


ประโยชน์ : เพื่อการขยับและเหยียดข้อมือและกล้ามเนื้อมือและแขน โดยการเหยียดน้อย กำมือเข้าออก แบะมือขึ้นลง และขยับข้อมือซ้ายขวา

วันพฤหัสบดีเช้า

ประโยชน์: เพื่อการเหยียดข้อเท้า และกล้ามเนื้อขา โดยให้เหยียดขาตรง เข่าตรง ขึ้นลง ค้างไว้นับ 1-5

วันพฤหัสบดีบ่าย


ประโยชน์: เพื่อการเหยียดกล้ามเนื้อต้นขา ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง โดยการยืน เหยียดขาพาดบนเก้าอี้ แล้วค่อยๆ ก้มตัวลงและวางเข่าบนเก้าอี้ที่มีเบาะรอง แล้วค่อยๆ โน้มตัวไปข้างหน้า

วันศุกร์เช้า


ประโยชน์: เพื่อการเหยียดกล้ามเนื้อสะโพกด้านหลัง โดยนั่งแบะขาเป็นรูปเลข 4 แล้วค่อยๆ กดขาลง อย่าให้เกิดอาการเจ็บหรืออย่าขย่มตัว และให้ไขว่ห้างแล้วก้มตัวลงเข้าหาเข่า

วันศุกร์บ่าย

ประโยชน์: เพื่อการเหยียดกล้ามเนื้อหลังส่วนกลางและส่วนล่าง


ข้อควรระวัง : ไม่ควรใช้การก้มตัว แต่ให้ค่อยๆ โน้มตัวมาข้างหน้าและอย่างอหลัง ให้โน้มจนรู้สึกตึงจึงค่อยๆ ก้มลงไปให้มากที่สุด 

และนี่คือท่าทั้งหมดที่พิชิตโรคออฟฟิศซินโดรม.


Credit: http://fanthai.com/
9 มิ.ย. 56 เวลา 15:21 2,588
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...