ทะเลอารัล เป็นทะเลปิดที่อยู่ในเอเชียกลาง อยู่ระหว่างประเทศคาซัคสถาน กับสาธารณรัฐคาราคัลปัคสถาน ซึ่งเป็นดินแดนปกครองตนเองของประเทศอุซเบกิสถาน ปัจจุบันปริมาณน้ำในทะเลลดลงมากจนทะเลถูกแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ ทะเลอารัลเหนือ ทะเลอารัลใต้ส่วนตะวันออก และทะเลอารัลใต้ส่วนตะวันตก
ทะเลอารัล อดีตทะเลสาบที่ใหญ่เป็นอันดับ 4 ของโลก ปัจจุบันได้แห้งเหือดหายไปมาก
น้ำใน ทะเลอารัล ลดลงอย่างรุ่นแรง ชาวประมงหลายคนไม่สามารถประกอบอาชีพได้ จึงต้องทิ้งเรือให้ร้างไป
ครั้งหนึ่ง ทะเลอารัล มีพื้นที่ 68,000 ตารางกิโลเมตร และเป็นทะเลสาบที่ใหญ่เป็นอันดับ 4 ของโลก แต่ตั้งแต่ประมาณปี พ.ศ. 2503 ทะเลอารัลก็ลดขนาดลงเรื่อยๆ เพราะแม่น้ำอามูดาร์ยาและแม่น้ำเซียร์ดาร์ยา ที่นำน้ำมาสู่ทะเลโดนเปลี่ยนเส้นทาง เพราะโครงการชลประทานของสหภาพโซเวียต ในปี พ.ศ.2547 พื้นที่ทะเลลดลงเหลือร้อยละ 25 ของขนาดเดิม และมีค่าความเค็มมากกว่าเดิมถึง 5 เท่าซึ่งทำให้พืช และสัตว์ที่เคยอาศัยอยู่ตายเสียส่วนใหญ่
ผลของการเปลี่ยนเส้นทางน้ำ เพราะโครงการชลประทาน ในยุคสหภาพโซเวียต ทำให้ ทะเลอารัล มีสภาพที่เห็นในปัจจุบัน
ในปี พ.ศ. 2550 พื้นที่ใน ทะเลอารัล ลดลงเหลือเพียงร้อยละ 10 ของขนาดเดิม และแยกตัวออกเป็นทะเลสาบสามส่วน ซึ่งสองในสามนั้นเค็มเกินไปที่ปลาจะอาศัยอยู่ได้ อุตสาหกรรมการประมงที่เคยเฟื่องฟูถูกทำลายลง เมืองประมงที่อยู่รอบๆ ชายฝั่งเดิมกลายสภาพเป็นสุสานเรือ และทำให้เกิดปัญหาการว่างงานและปัญหาเศรษฐกิจตามมา
Moynaq อดีตเมืองท่าการประมง กลายสภาพเป็นเมืองร้างสุสานเรือ เหตุมาจากน้ำใน ทะเลอารัล ลดลงอย่างต่อเนื่อง จนแห้งแล้งไปในที่สุด
ชาวบ้านหลายหมื่นคน กลายเป็นคนว่างงาน เมือง Moynaq ที่เคยเป็นเมืองท่าสำหรับการจับปลากลายเป็นเมืองร้างที่เต็มไปด้วยสุสานเรือ นอกจากนี้ ผลจากการแห้งลงของผืนน้ำ ทำให้สภาพอากาศบริเวณใกล้เคียง มีความแปรปรวนมากขึ้น เกิดพายุทราย ชาวบ้านมีปัญหาสุขภาพเนื่องจากการหายใจเอาละอองทรายและเกลือเข้าไป นอกจากนี้ยังมีปัญหาเรื่องของสารพิษตกค้าง อันเนื่องมาจากการทำเกษตร และอุตสาหกรรมในบริเวณใกล้เคียง ทำให้ที่ราบลุ่มที่เกิดจากการแห้งขอดของน้ำนั้นอุดมไปด้วยเกลือและสารพิษ และส่วนของน้ำที่เหลืออยู่เพียงน้อยนิดนั้นก็ไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้เลย…
ทะเลอารัล บัดนี้กลายเป็นดินแดนทะเลทราย ที่ไกลสุดลูกหูลูกตา
อนาคตของ ทะเลอารัล มีความพยายามที่จะปรับปรุงคุณภาพพื้นที่บริเวณทะเลอารัล และโดยรอบด้วยหลายวิธีด้วยกันไม่ว่าจะเป็นการพยายามคืนสภาพให้ดังเดิม เช่น การปรับปรุงคุณภาพของคลองทดน้ำให้ดีขึ้น หรือว่าจะเป็นการทดน้ำจากแม่น้ำ Volga , Ob และ Irtysh รวมถึงทะเล Caspian ที่อยู่ใกล้เคียง เพื่อทำให้ระดับน้ำเพิ่มขึ้น รวมไปถึงการพัฒนาผืนดินโดยการปลูกพืชที่ช่วยลดความเค็มในดิน ส่งผลให้ระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ความลึกของน้ำเพิ่มขึ้นจาก 30 เมตรในปี 2003 ไปเป็น 42 เมตรในปี 2008 แต่อย่างไรก็ตาม สำหรับบริเวณที่เป็นทะเลอารัลใต้ ตั้งอยู่ในประเทศอุซเบกิสถาน ซึ่งยากจนกว่านั้น ยังไร้อนาคตที่แน่นอน..
ถึงแม้ว่า มนุษย์จะมีพลังในการควบคุมสิ่งต่างๆ ได้มากมายเท่าไหร่ก็ตาม… แต่ก็ต้องไม่ลืมว่า เมื่อจะกระทำการใดๆ ของผู้กระทำไปแล้ว จะต้องเตรียมตัวรับผลของการกระทำนั้นๆ ด้วยเช่นกัน สิ่งที่ทำโดยไปมิได้คำนึงถึงผลกระทบให้รอบด้านนั้น จะก่อให้เกิดผลร้ายตามมาซึ่งคาดการณ์ไม่ได้เลย เช่นเดียวกับที่เกิดขึ้นกับ ทะเลอารัล แห่งนี้ั
ทะเลอารัล ไม่ใช่แค่ตัวอย่างเดียวในโลก ที่เกิดจากน้ำมือมนุษย์ ยังมีอีกหลายสถานที่ต้องเจอสภาพวิกฤต เพราะความมักง่าย และเพื่อผลประโยชน์ส่วนตัวของใครบางคน..ที่ทำให้ส่วนร่วมต้องรับกรรมไปด้วยกัน..
View Larger Map
ข้อมูลและภาพ : nationalgeographic.com / wiki / topicstock.pantip.com/wahkor/
เรียบเรียงโดย Travel MThai