7 สถานีอวกาศจากทั่วทุกมุมโลกทั้งในอดีตและปัจจุบัน
บางคนคงเคยได้ยินคำว่าสถานีอวกาศกันมาบ้าง แต่ยังไม่รู้แน่ชัดถึงความหมายจริง ๆ ของมันเสียที เราจึงต้องขออธิบายเอาไว้ก่อนว่า สถานีอวกาศนั้นก็คือดาวเทียมที่สร้างทิ้งไว้นอกโลก เพื่อใช้เป็นตัวส่งเสริมนักบินอวกาศเมื่อออกไปเยือนจักรวาลอันกว้างใหญ่นอก โลกนั่นเอง โดยมันเป็นเหมือนตัวช่วยสังเกตการณ์ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น เพื่อเป็นข้อมูลในการศึกษาอีกมากมาย รวมทั้งเป็นเหมือนท่าอากาศยานให้ยานอวกาศไปยังเป้าหมายได้อีกด้วย
สถานี อวกาศจึงเป็นที่พึ่งพาทั้งสำหรับด้านวิทยาศาสตร์และอยู่ในความสนใจของกองทัพ ทหารเพื่อเตรียมรับมือสถานการณ์ต่าง ๆ เลยทีเดียว หลาย ๆ ประเทศจึงเล็งเห็นความสำคัญของการสร้างสถานีอวกาศเอาไว้มากขึ้น จนเกิดเป็นสถานีอวกาศต่าง ๆ มากมาย และวันนี้กระปุกดอทคอมก็ได้รวบรวม 7 สถานีอวกาศจากทั่วโลกมาฝากกันแล้ว
1. Salyut 1
มันเป็นสถานีอวกาศแห่งแรกของโลก ซึ่งเป็นสถานีอวกาศของสหภาพโซเวียต และถูกส่งออกไปในอวกาศโดยจรวด Proton-K ซึ่งไม่มีนักบินบังคับเมื่อวันที่ 19 เมษายนปี 1971 โดยมันเป็นสถานีอวกาศแรกในกลุ่ม Salyut ก่อนจะมีอันอื่น ๆ ตามมา จากนั้นกลุ่มนักบินในภารกิจ Soyuz 10 ก็พยายามเดินทางไปเยือนสถานีอวกาศแห่งนี้แต่ก็ล้มเหลวกลับมา แม้จะยังโชคดีที่ทุกคนปลอดภัยก็ตาม ต่อมา Soyuz 11 ก็เดินทางไปบ้างและปฏิบัติภารกิจได้สำเร็จ แต่ก็ไม่สามารถยินดีได้นาน เพราะสุดท้ายนักบินก็เสียชีวิตลงจากอุบัติเหตุประตูเปิดทำให้ขาดอากาศตายใน ขณะที่พยายามจะกลับมายังโลกนั่นเอง ทั้งนี้หลังจากใช้งานได้ 6 เดือน สถานีอวกาศแห่งนี้ก็หมดอายุการใช้งานลงในที่สุด
2. Salyut 3
สถานีอวกาศจากสหภาพโซเวียตแห่งนี้ ถูกส่งขึ้นไปอยู่ในอวกาศเมื่อวันที่ 25 มิถุนายนปี 1974 และด้วยความที่เป็นสถานีอวกาศของกองทัพอากาศอัลมาซ ข้อมูลหลาย ๆ อย่างจึงถูกปิดเป็นความลับ แต่ก็มีรายงานออกมาว่า สถานีอวกาศแห่งนี้ติดกล้องไว้ใช้ส่องมองกลับมาให้เห็นความเปลี่ยนแปลงบนพื้น โลก รวมทั้งอาวุธปืนเอาไว้ด้วย แม้จะยังไม่มีการยืนยันข้อเท็จจริงออกมาอย่างเป็นทางการก็ตาม ทั้งนี้กลุ่มภารกิจ Soyuz 14 สามารถขึ้นไปเยือนสถานีอวกาศแห่งนี้ได้สำเร็จแล้ว ในขณะที่ Soyuz 15 ล้มเหลวในการปฏิบัติภารกิจ ก่อน Salyut 3 จะหมดอายุการใช้งานในวันที่ 24 มกราคมปี 1975
3. Salyut 5
หรืออีกชื่อว่า OPS-3 เป็นสถานีอวกาศที่อยู่ในเครือสถานีอวกาศจากสหภาพโซเวียตด้วยเช่นกัน และถูกส่งออกไปเมื่อปี 1976 ในฐานะหนึ่งในกลุ่มสนับสนุนภารกิจ Salyut ซึ่งมันเป็นสถานีอวกาศอันที่ 3 และอันสุดท้ายของกองทัพอากาศอัลมาซ โดยมีการส่งกลุ่ม Soyuz เข้าไป 2 ครั้ง ชุดละ 2 คน และสำเร็จด้วยกันทั้งคู่ ในขณะที่ครั้งที่ 3 ไปถึงแต่ไม่อาจลงจอดได้ ส่วนภารกิจครั้งที่ 4 เคยถูกวางแผนเอาไว้ แต่เลื่อนออกไปอย่างไม่มีกำหนด และสถานีอวกาศแห่งนี้ก็หมดอายุการใช้งานในวันที่ 8 สิงหาคมปี 1977 ก่อนจะพังทลายลงเมื่อกลับสู่ชั้นบรรยากาศบนโลกในที่สุด
4. Mir
หากจะบอกว่า Mir เป็นสถานีอวกาศที่ประสบความสำเร็จสูงสุดของประเทศรัสเซียก็คงไม่ดูเกินจริง ไปเลยสักนิด เพราะมันนับเป็นสถานีวิจัยถาวรระยะยาวแห่งแรกในอวกาศของมนุษยชาติเลยทีเดียว ซึ่งนับแต่ถูกส่งขึ้นอวกาศในช่วงปี 1986 มันก็เป็นสถานีอวกาศให้หลาย ๆ ประเทศทยอยส่งนักบินขึ้นมาเยี่ยมเยียนถึง 12 ชาติด้วยกัน จนกระทั่งหมดอายุใช้งานลงในวันที่ 23 มีนาคมปี 2001 และทำสถิติเป็นสถานีอวกาศที่มนุษย์ใช้เวลาเดินทางไปถึงนานที่สุดในประวัติ ศาสตร์ โดยมนุษย์คนที่ว่านี้คือนักบินอวกาศชาวรัสเซียที่มีชื่อว่า วาเลอรี โพลยาคอบ (Valeri Polyakov) ซึ่งกว่าเขาจะไปถึงสถานีอวกาศแห่งนี้ได้ ก็ใช้เวลาตั้ง 437 วันกับอีก 18 ชั่วโมงแน่ะ
5. Skylab
สหรัฐอเมริกามีสถานีอวกาศนี้เป็นสถานีอวกาศแห่งแรกของประเทศ โดยมันโคจรอยู่ในห้วงอวกาศช่วงปี 1973 – 1979 และมีสิ่งอำนวยความสะดวกมากมายอยู่ในตัว ไม่ว่าจะเป็นห้องทำงาน ที่สังเกตการณ์ระบบการทำงานของดวงอาทิตย์ และอื่น ๆ อีกมากมาย โดยมันถูกส่งขึ้นไปสู่อวกาศผ่านจรวด Saturn V ในขณะที่มีจุดประสงค์เพื่อใช้เป็นอุปกรณ์สนับสนุนภารกิจ ก่อนจะพังทลายลงอย่างน่าเสียดาย เมื่อเกราะไมโครมีเตอรอยด์หลุดออก ทำให้ห้องสังเกตการณ์ระบบการทำงานของดวงอาทิตย์และส่วนอื่น ๆ เสียหาย รวมทั้งสูญเสียความสามารถในการป้องกันตัวเองจากการถูกแสงอาทิตย์แผดเผาตามไป ด้วย
6. Tiangong-1
ในเมื่อชาวต่างชาติฝั่งยุโรปเขาสร้างสถานีอวกาศกันมามากแล้ว ก็ถึงคราวของประเทศมหาอำนาจฝั่งเอเชียกันบ้าง โดย Tiangong-1 เป็นสถานีอวกาศแห่งแรกของประเทศจีน และมันถูกส่งเข้าไปสู่อวกาศผ่านจรวด Long March 2F/G ซึ่งปราศจากผู้โดยสารในวันที่ 29 พฤศจิกายนปี 2011 และคาดการณ์ไว้ว่าจะหมดอายุการใช้งานภายในปีนี้ จึงได้วางแผนไว้ว่าจะมีการส่งยานอวกาศ Shenzhou ขึ้นไปเยือนเสียก่อน เริ่มจากภารกิจ Shenzhou 8 ที่ลงจอดในเดือนพฤศจิกายนปี 2011 ตามด้วย Shenzhou 9 ที่ไปเยือนสถานีอวกาศแห่งนี้ราวเดือนมิถุนายนปี 2012 ในขณะที่ภารกิจ Shenzhou 10 คาดว่าจะเกิดขึ้นเร็ว ๆ นี้ นับว่าเป็นความยิ่งใหญ่ที่น่าจับตามองของทวีปเอเชียเลยทีเดียว
7. สถานีอวกาศนานาชาติ
สถานีอวกาศนานาชาติ หรือ International Space Station (ISS) ถูกแบ่งเป็น 2 ส่วน ได้แก่ the Russian orbital segment (ROS) ของประเทศรัสเซีย และ the United States operational segment (USOS) ของสหรัฐอเมริกา ซึ่งถูกส่งขึ้นไปในห้วงอวกาศราวปี 1998 รวมทั้งยังคงทำงานอยู่ในปัจจุบัน โดย USOS ถูกส่งขึ้นไปผ่านกระสวยอวกาศในขณะที่ ROS ส่งผ่านจรวด Proton ที่ปราศจากนักบิน ซึ่งจุดประสงค์หลักในการสร้างสถานีอวกาศแห่งนี้ขึ้นก็เพื่อสำรวจและศึกษา ความเปลี่ยนแปลงในอวกาศเป็นหลัก
ทั้งนี้ นอกจากที่กล่าวมานี้ ยังมีสถานีอวกาศอื่น ๆ ที่อยู่ในระหว่างแผนการสร้างอีกมากมาย ซึ่งมันพิสูจน์ให้เราได้เห็นว่ามนุษย์ยังคงพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ๆ ออกมาอยู่เรื่อย ๆ โดยไม่ได้ละทิ้งความพยายามเลยแม้แต่น้อย ดังนั้น การก้าวไปสู่ความสำเร็จในการค้นพบความลับเกี่ยวกับอวกาศมากขึ้นคงไม่ไกลเกิน เอื้อมแน่นอน