เพื่อนๆ ครับ หลายคนคงเคยประสบกับปัญหาไส้ติ่งอักเสบกันมาบ้าง ส่วนใหญ่ทางรักษาก็คือการผ่าตัดเอาออก ซึ่งเมื่อผ่าตัดออกไปแล้ว ก็ไม่ได้ส่งผลข้างเคียงอะไรกับร่างกายเราเลย แล้วทีนี้เคยสงสัยหรือไม่ครับ ว่าธรรมชาติของมนุษย์เรามีไส้ติ่งไว้เพื่ออะไร เรามาหาคำตอบกันครับ
ไส้ติ่ง (appendix, vermiform appendix, cecal (หรือ caecal) appendix, vermix) เป็นท่อตันเชื่อมต่อกับลำไส้ใหญ่ส่วนต้น (cecum หรือ caecum) ซึ่งเป็นส่วนที่มีรูปร่างคล้ายกระเป๋าของลำไส้ใหญ่ที่เชื่อมต่อกับลำไส้เล็ก
ชื่อ "vermiform" มากจากภาษาละติน แปลว่า "รูปตัวหนอน"
ไส้ติ่งพบได้ทั่วไปใน Euarchontoglires และมีวิวัฒนาการอย่างเป็นอิสระในสัตว์กลุ่ม diprotodont และ marsupials ไส้ติ่งในสัตว์ต่างๆ จึงมีความแตกต่างกันอย่างมากทั้งด้านขนาดและรูปร่าง
ไส้ติ่งมีความยาวเฉลี่ย 11 ซม. (ขนาดที่พบได้อาจเป็น 2 ถึง 20 ซม.) เส้นผ่านศูนย์กลางของไส้ติ่งปกติอยู่ระหว่าง 7-8 มม. ไส้ติ่งที่ยาวที่สุดที่ถูกผ่าตัดออกมีความยาวถึง 26 ซม. พบในคนไข้จากโครเอเชีย
ภาพไส้ติ่งที่อักเสบและบวม ผ่าตามยาว
การผ่าตัดเอาไส้ติ่งอักเสบออก
อวัยวะที่ไม่ใช้งานแล้ว
ไส้ติ่งเป็นส่วนหนึ่งของลำไส้ใหญ่ตอนต้นที่หดเล็กลงตามกระบวนการวิวัฒนาการ ในบรรพบุรุษของมนุษย์ซึ่งเป็นสัตว์กินพืชลำไส้ใหญ่ส่วนนี้เป็นที่อาศัยของแบคทีเรียที่ช่วยย่อยเซลลูโลสที่พบในพืช
ประโยชน์ที่คาดว่าได้รับจากไส้ติ่ง
ระบบภูมิคุ้มกัน
นักวิทยาศาสตร์บางกลุ่มเสนอว่าไส้ติ่งอาจเป็นที่อาศัยของแบคทีเรียที่เป็นประโยชน์ต่อลำไส้ใหญ่ของมนุษย์
โรคที่พบบ่อยบริเวณไส้ติ่งได้แก่ไส้ติ่งอักเสบและเนื้องอก มะเร็งไส้ติ่งพบได้ประมาณ 1 ใน 200 ของมะเร็งระบบทางเดินอาหาร
ก็หวังว่าเพื่อนๆ คงได้ประโยชน์จากบทความนี้กันบ้าง ก็ไม่รู้ว่าวิวัฒนาการของมนุษย์อีกหลายล้านปีข้างหน้า ร่างกายยังจะคงเก็บไส้ติ่งที่รักเอาไว้อยู่้หรือเปล่า เพราะถ้าหากว่าร่างกายยังคงเก็บรักษาไส้ติ่งเอาไว นั่นก็เป็นข้อยืนยันได้ว่าไส้ติ่งมีประโยชน์ต่อมนุษย์จริงๆ แล้วพบกันใหม่ครับ...mata
เรียบเรียงโดย พรชัย สังเวียนวงศ์ (mata)