โซเวียตมีผู้นำจอมโหดอยู่คนหนึ่งโลกรู้จักเขาดี เขาคนนั้นก็คือ สตาลิน ผู้นำหนวดเฟิ้ม
จากจอร์เจีย แต่ใครจะว่าอย่างไรก็แล้วแต่ สตาลินคนนี้นี่เองที่เป็นคนที่ทำให้โซเวียตพลิก
กลับมาเอาชนะเยอรมันได้ในสงครามโลกครั้งที่ 2 ในสงครามครั้งนั้น โซเวียตเสียทหาร
และพลเรือนไปมากกว่า 20 ล้านคน และหนึ่งในจำนวนนั้นก็คือลูกชายแท้ๆของท่านผู้นำ
เอง ลูกชายของสตาลินมีชื่อว่า ยาคอฟ โยซิโฟวิช จูกัชวิลลี่ เกิดเมื่อ 18 มีนาคม 1907
หรือก่อนการปฏิวัติของเลนิน 10 ปี
สตาลินยังมีลูกอีก 2 คนชื่อ สเวียตลาน่า ส่วนอีกคนก็คือ วาสิลี่ ยาคอฟถือได้ว่าเป็นพี่
ชายคนโต เขาเป็นลูกที่เกิดกับภรรยาคนแรกของสตาลิน ชื่อ เยคาเตริน่า ที่ป่วยตายใน
ปลายปี 1907 หรือหลังจากที่คลอดยาคอฟไม่กี่เดือน สตาลินเคยบอกเอาไว้ว่านอกจาก
แม่ของเขาแล้ว ผู้หญิงคนนี้คือผู้หญิงที่เขารักจริง แต่ชะตากรรมการตายของยาคอฟนั้น
เป็นอะไรที่ผมรู้สึกกลืนไม่เข้าคายไม่ออก หลังจากที่ได้รู้เรื่องราวและรู้สึกเห็นใจสตาลิน
อยู่ไม่น้อย เพราะถ้าอยู่ในสถานะเดียวกับสตาลินก็คงต้องทำเช่นเดียวกับเขา
ยาคอฟเกิดที่จอร์เจีย ซึ่งสมัยนั้นเป็นส่วนหนึ่งของรัสเซีย และเขาก็อยู่ที่จอร์เจียจนอายุ
14 ปี ก่อนจะถูกส่งมาเรียนต่อที่มอสโกเพื่อเรียนต่อ และที่นี่ เขาก็ต้องมาเริ่มต้นด้วยการ
เรียนภาษารัสเซียเพราะพูดภาษาหลักของประเทศไม่ได้เลย ยาคอฟกับสตาลินเข้ากันไม่
ได้สักเท่าไหร่อาจจะเป็นเพราะว่า สตาลินมัวแต่ง่วนอยู่กับการปฏิวัติ มีอยู่ครั้งหนึ่งยาคอฟ
พยายามยิงตัวตายแต่ไม่ตายเพียงแต่ได้รับบาดเจ็บ ปรากฏว่าผู้เป็นพ่อไม่สนใจที่จะดูแล
อาการบาดเจ็บของลูก แต่กลับบ่นกับภรรยาใหม่ของเขาซึ่งก็คือแม่เลี้ยงของยาคอฟว่า
"แค่ยิงให้ถูก มันยังทำไม่ได้"
โดยอาชีพแล้ว ยาคอฟเป็นทหารเมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 มาถึงสหภาพโซเวียต ยาคอฟ
ซึ่งเป็นทหารปืนใหญ่และมีครอบครัวแล้ว โดยมีลูก 2 คน ได้นำทหารออกสู้รบเช่นเดียว
กับทหารของโซเวียตทั้งหลาย แม้จะเป็นถึงลูกของท่านผู้นำก็ตามที แต่ยาคอฟโชคร้าย
เขาถูกข้าศึกจับเป็นเชลย
ยาคอฟ ถูกจับเป็นเชลยเมื่อ 16 กรกฎาคม 1941 ในการสู้รบที่เมืองสมาเลนส์ค ซึ่งเป็น
ในช่วงต้นๆของสงคราม ระหว่างการบัญชาการรบของหน่วยรถถังหน่วยหนึ่งว่ากันว่าเขา
รบได้แค่อาทิตย์เดียวเท่านั้นก็ถูกจับเสียแล้ว หลังจากนั้นเยอรมันก็ออกโฆษณาชวนเชื่อ
ให้ทหารกองทัพแดงยอมแพ้แต่โดยดี เพราะแม้ลูกชายสตาลินก็ยังยอมแพ้ และได้รับการ
เลี้ยงดูอย่างดี แต่จริงๆแล้วมีรายงานว่ายาคอฟ ก็ไม่ได้รับการเลี้ยงดูอย่างดีประการใด
สภาพของเขาก็โทรมตามสไตล์ของเชลยศึกทั่วไป และที่สำคัญเขาไม่ได้ให้ความร่วมมือ
กับฝ่ายศัตรูแต่อย่างใด ก็จึงไม่มีการออกมาพูดทางวิทยุเรียกร้องให้ทหารกองทัพแดง
ยอมจำนนแต่อย่างใด ยาคอฟถูกเยอรมันย้ายไปโน่นมานี่อยู่เป็นระยะเพื่อป้องกันการชิง
ตัว โดยระหว่างเดือนเมษายน – มิถุนายน 1942 เขาถูกส่งไปกักตัวอยู่ที่ค่ายกักกันใน
เมือง Hommelsburg และพอเดือนมีนาคม 1943 ก็ถูกส่งตัวมาที่ค่าย Sachsenhausen
และในช่วงต้นปี 1943 จอมพลฟริดริค เปาลุส ของเยอรมันก็สร้างประวัติศาสตร์กลายเป็น
นายทหารยศจอมพลคนแรกของเยอรมันที่ยอมจำนนต่อฝ่ายศัตรูในการสู้รบที่เมือง
สตาลิน กราด ทางเยอรมันก็จึงเสนอแลกตัวยาคอฟกับเปาลุส แต่สตาลินปฏิเสธโดยบอก
ว่า "ฉันจะไม่แลกร้อยโทกับจอมพล"
นอกจากนั้นก็ยังมีข้อมูลว่าฮิตเลอร์เสนอแลกตัวยาคอฟกับ ลีโอ เราบัล หลานของฮิต
เลอร์ ที่ถูกโซเวียตจับได้ในการรบที่สตาลินกราด แต่เรื่องนี้ก็ไม่มีการตกลงกันเช่นกัน
โดยสตาลินบอกว่า "สงครามต้องเป็นสงคราม"
บางคนบอกว่าที่ท่าทีของสตาลินเป็นเช่นนี้ ก็เป็นเพราะยาคอฟไม่ใช่ลูกคนโปรดของเขา
แต่ในฐานะผู้นำประเทศเรื่องแบบนี้ก็ว่าตัดสินใจได้ยากมากอยู่เหมือนกัน
ทหารโซเวียตที่ตกเป็นเชลยศึกมากมายก็ตกอยู่ในชะตากรรมเหมือนตายทั้งเป็นหลังจาก
ที่ได้รับอิสรภาพกลับมา เพราะสตาลินมองว่าพวกเขาเป็นคนทรยศต่อชาติ แล้วเขาจะทำ
อย่างไรกับยาคอฟ อดีตเชลยศึก หากว่าได้ตัวกลับมา
หลังสงครามทั้ง เปาลุส และ เราบัล ต่างก็ได้รับการปล่อยตัวกลับบ้าน แตกต่างจาก
ยาคอฟ ที่ไม่มีข่าวคราวยืนยันใดๆเกี่ยวกับเขาออกมาอีกเลย แต่มีการสรุปตรงกันว่าเขา
ตายแล้วในค่ายกักกันเยอรมัน และก็มีการนำภาพศพของเขาออกเผยแพร่ด้วย แต่ก็ไม่มี
การระบุว่าเขาตายเมื่อใดและอย่างไร
บ้างก็ว่าเขาเดินไปเหยียบรั้วไฟฟ้าของค่ายกักกัน Sachsenhausen บ้างก็ว่าเขาฆ่าตัว
ตาย บ้างก็ว่าเขาถูกฆ่า บ้างก็ว่าเขาตายระหว่างการรบช่วงปลายสงคราม โดยผู้ที่เชื่อ
ในทฤษฎีสุดท้ายนี้บอกว่า ที่ผิดสังเกตก็คือภาพของเขาที่เยอรมันนำออกเผยแพร่นั้นมี
น้อยมาก ซึ่งผิดธรรมดาของคนที่จับลูกชายของฝ่ายศัตรูได้ที่จะต้องโหมการโฆษณา
ชวนเชื่ออย่างหนัก
แต่ล่าสุดเมื่อเร็วๆนี้รัสเซียก็เปิดเผยเอกสารชั้นความลับ ซึ่งเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับยาคอฟ
หลังจากที่ถูกจับตัวไป เอกสารบอกว่า ยาคอฟถูกยามยิงตายเมื่อปลายปี 1943 ที่ค่าย
กักกัน Sachsenhausen หลังไม่ยอมปฏิบัติตามคำสั่ง นักประวัติศาสตร์ระบุว่า แม้จะถูก
จับ แต่ยาคอฟก็เป็นคนที่ไม่เกรงใจใคร เขาทำตัวเป็นอิสระและดูถูกฝ่ายผู้บริหารค่ายกัก
กันอย่างเปิดเผย
ในวันเกิดเหตุ ยาคอฟเดินไปรอบๆค่ายและยามสั่งให้เขากลับเข้าที่พัก แต่ยิ่งว่าเหมือนยิ่ง
ยุ เขายิ่งเดินเข้าไปใกล้รั้วมากขึ้นไปอีกรวมทั้งตะโกนให้ยามยิงเขาด้วยและยามก็ทำจริงๆ
โดยยิงไปที่หัว บางคนบอกว่าที่เขาออกอาการเพี้ยนก็เพราะเครียดกับคำพูดของสตาลิน
"ฉันจะไม่แลกร้อยโทกับจอมพล"
เท่ากับปิดตำนานลูกชายคนโตของ
ผู้นำประเทศที่ใหญ่ที่สุดในโลก (ที่พ่อไม่รัก)