ดาวเคราะห์ เคปเลอร์-22บี (Kepler-22b) คาดเป็นมนุษย์ต่างดาว

 
นาซ่า แถลง ตรวจเจอแสงเคลื่อนที่ได้ บนดาวเคราะห์ เคปเลอร์-22บี (Kepler-22b) คาดเป็นมนุษย์ต่างดาว
 องค์การบริหารการบิน และอวกาศแห่งชาติ (นาซ่า) ของสหรัฐอเมริกา ได้ออกมาแถลงข่าวยืนยันครั้งแรกเกี่ยวกับการค้นพบ ที่คาดว่าเป็นสิ่งมีชีวิตบนดาวเคราะห์ เคปเลอร์-22บี (Kepler-22b) ที่อยู่ห่างไปจากโลกประมาณ 600 ปีแสง อีกทั้งยังพบว่ามีแหล่งน้ำ รวมทั้งอุณหภูมิบนดาวเคราะห์ดังกล่าว
โดยกล้องของยานสำรวจอวกาศของนาซ่า ยังสามารถจับภาพแสงสว่างกำลังเคลื่อนที่บน เคปเลอร์-22บี และยังมีร่องรอยเล็กๆ ตามมาหลังจากแสงเดินทางผ่านไป ซึ่ง เชื่อว่าน่าจะเป็นสิ่งที่มีชีวิต หรือที่เรียกว่ามนุษย์ต่างดาว 
อย่างไรก็ตาม ทีมนักวิทยาศาสตร์นาซา ยืนยันว่า วัตถุที่เห็นเป็นผลที่เกิดจากวิธีการประมวลภาพที่บันทึกมาเพียงเท่านั้น
ด้านพีท วอร์เดน ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเอมส์ ของนาซ่า ในรัฐแคลิฟอร์เนีย กล่าวยอมรับว่า เราได้เข้าไปใกล้ดาวเคราะห์มาก และใกล้ที่จะพบสิ่งมีชีวิตบนดาวเคราะห์แล้ว
ทั้งนี้เคปเลอร์-22บี (Kepler-22b) อยู่ห่างไปจากโลก 600 ปีแสง ใหญ่กว่าโลกประมาณ 2.4 เท่า โคจรรอบดาวฤกษ์ที่คล้ายดวงอาทิตย์ และเป็นหนึ่งในดาวเคราะห์ที่อยู่นอกระบบสุริยะที่องค์การน่าซ่าค้นพบ
ก่อนหน้านี้ ต้นเดือนธันวาคม นักดาราศาสตร์จากนาซ่ายืนยันการมีอยู่จริงของดาวเคราะห์ที่มีลักษณะคล้ายโลก ในเขตอาศัยได้ (habitable zone) หรือย่านหนึ่งในอวกาศที่ซึ่งดาวเคราะห์คล้ายโลกสามารถดำรงน้ำในสถานะของเหลวได้บนพื้นผิวและสามารถมีสิ่งมีชีวิตคล้ายกับสิ่งมีชีวิตบนโลก ซึ่งโคจรอยู่รอบๆดาวฤกษ์ดวงหนึ่งที่คล้ายๆกับดวงอาทิตย์
 
ภาพเปรียบเทียบวงโคจรของดาวเคราะห์ Kepler-22b กับระบบสุริยะของโลก

โดยดาวเคราะห์สีน้ำเงินดังกล่าวมีชื่อว่า Kepler-22b มีขนาดใหญ่กว่าโลกราว 2.4 เท่า และมีอุณหภูมิประมาณ 22 องศาเซลเซียส นี่ถือเป็นดาวเคราะห์ที่มีความคล้ายคลึงกับโลก ที่ได้รับการยืนยันว่าอยู่ใกล้โลกมากที่สุด อย่างไรก็ดี ทีมนักวิจัยยังไม่ทราบว่าดาวเคราะห์  Kepler-22b ประกอบด้วยหิน แก๊ส หรือของเหลว
 
รายงานยังระบุว่า ดาวเคราะห์  Kepler-22b ห่างจากโลกออกไป 600 ปีแสง โดยแต่ละปีแสงคิดเป็นระยะทางราว 944,000 กม. ดังนั้นหากเดินทางไปที่นั่นด้วยกระสวยอวกาศ อาจต้องใช้เวลานานถึง 22 ล้านปี
 
ดาวเคราะห์  Kepler-22b เป็นหนึ่งในดาวเคราะห์จาก 54 ดวง ที่ได้รับรายงานว่ามีลักษณะคล้ายคลึงกับโลกมากที่สุด หรือที่เรียกกันว่า "Earth 2.0" จากการสังเกตโดยใช้กล้องโทรทรรศน์เคปเลอร์ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา และจากการใช้กล้องตัวอื่นๆเพื่อสังเกต
 
ดาวเคราะห์  Kepler-22b ตั้งอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ของมัน คิดเป็นระยะทางที่น้อยกว่าระยะทางจากโลกไปยังดวงอาทิตย์ของระบบสุริยจักรวาลราวร้อยละ 15 โดยระยะเวลาหนึ่งปีของดาวเคราะห์ดังกล่าวคาดว่ามีทั้งสิ้น 290 วัน

อย่างไรก็ดี ดวงอาทิตย์ดวงดังกล่าวให้แสงสว่างน้อยกว่าดวงอาทิตย์ของโลกราวร้อยละ 25 ซึ่งทำให้ดาวเคราะห์ดังกล่าวมีอุณหภูมิที่ไม่สูงเกินไป ที่สนับสนุนแนวคิดที่ว่าอาจมีของเหลวอยู่บนนั้น และด้วยความดาวเคราะห์ดังกล่าวมีสีน้ำเงิน จึงอาจเป็นการบอกเป็นนัยว่า นั่นคือมีพื้นผิวที่เป็นแหล่งน้ำ สามารถดำรงชีพได้ หรือเป็นเขตเอื้ออาศัยไม่ร้อนหรือไม่หนาวเย็นจนเกินไป
 
ทั้งนี้ ทางนาซ่ามีการเปิดเผยว่า หลายปีที่ผ่านมามีการค้นพบดาวดวงใหม่ ที่เปรียบเสมือนโลกแห่งใหม่อย่างไม่น่าเชื่อ แต่การค้นพบดาวเคราะห์สีน้ำเงินในครั้งนี้ เป็นความหวังมากทีเดียวสำหรับมนุษย์ที่จะเห็นสิ่งมีชีวิตอยู่บนดาวเคราะห์ดวงนี้ มันมีขนาดใหญ่ ประกอบกับมีพื้นหิน อุณหภูมิอยู่ที่ประมาณ 72 องศาฟาเรนไฮต์ หรือประมาณ 21 องศาเซลเซียส ซึ่งจะมีภูมิอากาศคล้ายกับฤดูใบไม้ผลิ
 
ด้านนายอลัน บอส หนึ่งในทีมนักวิจัย จากสถาบันคาร์เนกี้ กล่าวว่าการค้นพบครั้งนี้จะถูกตีพิมพ์ในนิตยสาร The Astrophysical ว่าเป็นการค้นพบครั้งแรกที่มีความเป็นไปได้ว่า มนุษย์จะสามารถอาศัยอยู่ได้ ขณะที่นายวิลเลียม บอรุคกี นักวิทยาศาสตร์หัวหน้าโครงการเคปเลอร์ กล่าวว่า เป็นการค้นพบครั้งยิ่งใหญ่และสำคัญอีกครั้งหนึ่งในภารกิจของนาซ่าที่พยายามค้นหาดาวเคราะห์ที่มีความคล้ายคลึงโลก

หมายเหตุ:
Kepler-22 อยู่กลุ่มดาวหงษ์ บนกาแล็กซี่ทางช้างเผือกStar Kepler-22Constellation CygnusRight ascension (α) 19h 16m 52.2sDeclination (δ) +47° 53′ 4.0″Apparent magnitude (mV) 11.5 (B-band) [1]Distance 587 ly(180 [2] pc)Spectral type G5VMass (m) 0.97 M☉Radius (r) 0.98 R☉Temperature (T) 5606 K
Credit: Dominic
4 มิ.ย. 56 เวลา 11:54 21,326 30
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...