ขอบคุณภาพประกอบโดย ตุ๊ โต้รุ่ง แห่ง landroverthailand
เมืองลับแล
เรื่องเมืองลับแล เป็นนิทานพื้นบ้านเล่ากันว่าเป็นเมืองของคนดี มีความซื่อสัตย์สุจริต โกหกคำเดียวไม่ได้ ลูกเขยเห็นลูกร้องไห้ กล่อมแบบไหนก็ไม่หยุด หลุดปากหลอกลูกว่า แม่มาแล้ว...เท่านั้นแหละ ก็ต้องออกจากเมือง
เกร็ดของเรื่องอยู่ตรงขมิ้นที่เมียจับยัดใส่เต็มย่าม...ระหว่างเดิน เหนื่อยมาก ก็ควักทิ้ง เหลือขมิ้นอยู่แง่งเดียว พอถึงบ้านล้วงขึ้นมาจึงรู้ว่าเป็นทอง
เรื่องเมืองลับแล ทำนองนี้เล่ากันทั่วไป ไปเมืองไหนก็เล่า กระทั่งที่อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์
หนังสือวัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ ฯลฯ จังหวัดอุตรดิตถ์ อธิบายคำ “ลับแล” ไว้ว่าที่ซึ่งมองดูไม่เห็น เป็นชื่อเมืองที่ตั้งอยู่ในภูมิประเทศที่ลึกลับซับซ้อน มองจากภายนอกจะมองเห็นเป็นป่า ไม่ค่อยพบเห็นบ้านเรือน คนต่างถิ่นหากหลงเข้าไปก็มักหาทางออกไม่เจอ
บรรยากาศทั่วไปเยือกเย็นยามพลบค่ำ ดวงอาทิตย์ ไม่ทันตกดิน ก็มืดแล้ว เพราะมีดอยม่อนฤๅษีสูงใหญ่เป็นฉากกั้นแสงอาทิตย์ ป่าบริเวณนี้เรียกว่า ป่าลับแลง... ต่อมาจึงเพี้ยนเป็นคำว่า “ลับแล”
บริเวณที่เป็นที่มาของชื่อ ลับแล คือห้าตำบลด้านเหนืออำเภอลับแล...ตำบลชัยจุมพล ตำบลศรีพนมมาศ ตำบลฝายหลวง ตำบลแม่พูล ตำบลนานกกก
ชาวลับแลมีอาชีพทำสวนทุเรียน สวนลางสาดบนภูเขา ผู้ชายใช้ชีวิตส่วนใหญ่ดูแลสวน ทิ้งลูกหลานอยู่ที่บ้าน ใครผ่านไป ก็เจอแต่ผู้หญิง นี่ก็คือที่มาของฉายา “เมืองแม่ม่าย”
สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงสันนิษฐานว่า คนเมืองลับแล น่าจะเป็นคนเมืองแพร่ เมืองน่าน...ที่หนีเภทภัย หรือลี้ภัยศึกสงคราม นักประวัติศาสตร์บางท่าน ชี้ว่า ในสมัยพระบรมไตรโลกนาถ มีสงครามระหว่างอยุธยากับเมืองทางเหนือ
แต่ตำนานกำเนิดเมืองลับแล...เล่าและบันทึกกันไว้เป็นหลักฐาน...เมื่อ ประมาณ พ.ศ.1500 หรือเมื่อพันปีที่แล้ว สมัยอาณาจักรโยนกนคร (เชียงแสนปัจจุบัน) เกิดสงครามรบพุ่งกันเนืองๆ ทั้งยังมีโรคระบาด
หนานคำสือและหนานคำแสน เป็นหัวหน้าพาคน 20 ครัวเรือน บรรทุกข้าวของใส่เกวียน มุ่งหน้าลงใต้ โดยบอกว่า เจ้าปู่พญาแก้ววงเมือง (กษัตริย์องค์ที่ 17 โยนกนคร) เข้าฝันบอกทาง จนมาถึงหุบเขาเมืองลับแล พบน้ำตก ธารน้ำไหล ดินฟ้าอากาศชุ่มชื้น มีภูเขาเตี้ย อุดมด้วยนานาพันธุ์ไม้ เหมือนที่เจ้าปู่เข้าฝัน ก็เลือกเป็นที่ตั้งรกรากปัฐาน
หนานคำสือ เป็นเจ้าแคว้น (กำนัน) หนาน คำแสน เป็นเจ้าหลัก (ผู้ใหญ่) ทำมาหากินอยู่เย็นเป็นสุขสมบูรณ์ 7 ปีต่อมา ก็ชักชวนชาวบ้าน 10 คน บรรทุกข้าวของเดินทางย้อนขึ้นไปเยี่ยมญาติ และได้เข้าเฝ้าฯพระเจ้าเรืองธิราช กษัตริย์ องค์ที่ 21 โยนกนคร กราบทูลถึงถิ่นฐานแห่งใหม่
พระเจ้าเรืองธิราช พระราชทานพระไตรปิฎก และพระสงฆ์ 6 รูป และเครื่องใช้ไม้สอยเกี่ยวกับศาสนพิธีให้ไปสร้างวัดเก้าเง้ามูลศรัทธา (วัดใหม่ ต.ฝายหลวง ปัจจุบัน) ความสัมพันธ์ระหว่างเมืองลับแลกับโยนกนคร แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น เมื่อกษัตริย์โยนกนครขอนางสุมาลี ธิดาเจ้าแคว้นลับแล และนางสุมาลา ธิดาเจ้าหลักเมืองลับแล ซึ่งมีฝีมือในด้านเย็บปักถักร้อย เป็นผู้ประดิษฐ์ซิ่นลายตีนจก ให้เป็นชายาฝ่ายขวาและฝ่ายซ้าย ของเจ้าฟ้าฮ่ามกุมารราชบุตรและโปรดให้ไปเป็นกษัตริย์เมืองลับแล เมื่อ พ.ศ.1513
เจ้าฟ้าฮ่ามมีพระทัยฝักใฝ่ศาสนา เสด็จไปขอแบ่งพระบรมสารีริกธาตุ จากดอยตุง มาบรรจุที่สถูปเจดีย์วัดป่าแก้วเรไร (วัดเจดีย์ ปัจจุบัน) ผู้เฒ่าเมืองลับแลเล่าให้ลูกหลานฟังว่า ถึงวันศีลวันธรรม จะมีดวงไฟสุกสว่าง (พระธาตุเสด็จ) ลอยเหนือเจดีย์ อยู่เป็นประจำ
ต่อมาได้เสด็จไปแบ่งพระบรมสารีริกธาตุ 32 องค์ จากโยนกนคร มาบรรจุไว้ที่สถูปเจดีย์ วัดม่อนธาตุ และต่อมาได้สร้างวัดชัยจุมพล และวัดดอนชัย เมื่อเจ้าฟ้าฮ่ามสวรรคต ราษฎรได้นำพระอัฐิไปบรรจุไว้ที่วัดม่อนอารักษ์ ต.ฝายหลวง ให้ชาวลับแลได้สักการะจนถึงวันนี้.
เมืองลับแลในนิยาย
เรื่องเล่าในนิยายต่อไปนี้จะเกี่ยวเนื่องถึงตำนาน เมืองแม่หม้าย เริ่มจาก ครั้งหนึ่งมีหนุ่มเมืองใต้ (เมืองทุ่งยั้ง) แอบเดินทางหลงป่าไปทางเหนือได้เห็นสาวสวยออกจากเมืองลับแลมาโดยซ่อนกุญแจไว้ ชายหนุ่มจึงแอบขโมยกุญแจไว้และใช้เล่ห์กล มนต์อุบาย เกี้ยวพาราสีจนสาวหลงเชื่อพาไปอยู่กินเป็นสามีในเมืองลับแล ชายหนุ่มได้เห็นความมั่งคั่งอุดมสมบูรณ์ของเมืองแต่มีแต่ผู้หญิงสาวสวยทั้ง หมด ด้วยเหตุที่เมืองลับแลเป็นเมืองลี้ลับคนภายนอกไม่สามารถจะเข้าไปในเมืองได้ ชาวเมืองลับแลเป็นผู้ยึดมั่นในศีลธรรมผู้คนเคร่งครัดปฏิบัติธรรมเป็นนิจไม่ มีการกล่าววาจาหรือกระทำโกหกหลอกลวงกัน ต่อมาชายหนุ่มกับสาวงามเมืองลับแลได้มีลูกด้วยกันหนึ่งคน วันหนึ่งผู้เป็นไปธุระนอกบ้านชายหนุ่มจึงอยู่กับลูก ลูกเกิดร้องไห้หาแม่ชายหนุ่มจึงพูดโกหกลูกว่า “แม่มาแล้ว” เพื่อให้ลูกหยุดร้องไห้ ชาวบ้านได้ยินคำโกหกของชายหนุ่มจึงขับไล่ชายหนุ่มผู้นั้นออกจากเมืองภรรยา ซึ่งรักสามีก็ไม่อาจช่วยได้ และเกรงว่าสามีจะได้รับความลำบากจึงแอบเอาของสำคัญใส่ย่ามให้สามีโดยกำชับ ว่าเมื่อถึงบ้านให้เอาออกมาดูห้ามเอาออกมาดูระหว่างทาง เมื่อเดินทางพ้นเมืองลับแลชายหนุ่มจึงอยากรู้ว่าภรรยาเอาอะไรใส่ถุงให้เพราะ หนักจึงเอาออกมาดูก็เห็นขมิ้นเต็มถุงย่ามจึงเอาออกขว้างทิ้งเกือบหมดเหลือตก ค้างอยู่เพียงเล็กน้อย ครั้นกลับถึงบ้านจึงเล่าเรื่องราวเมืองลับแลให้เพื่อน ญาติพี่น้องฟังพร้อมกับยืนยันคำพูดด้วยการเอาขมิ้นติดถุงย่ามออกมาอวดปรากฏ ว่าขมิ้นนั้นเป็นทองคำ ด้วยความเสียดายจึงชวนพรรคพวก ญาติพี่น้อง ออกตามไปเก็บขมิ้นที่ขว้างทิ้งระหว่างทางแต่หาทางเก่าไม่พบและไม่เห็นทาง เข้าเมืองลับแล ด้วยเหตุนี้เมืองลับแลจึงเป็นเมืองอาถรรพ์ที่ชายหนุ่มทั้งหลายหวังจะเข้าไป แต่ไม่มีใครเข้าไปได้อีกเลย เป็นแต่เล่าต่อๆกันมาเป็นนิยายปรัมปราจวบจนทุกวันนี้
จากนิยายมาเป็นตำนาน เมืองลับแล
ในสมัยก่อนเมืองลับแลเป็นป่าดงลึกที่มีภูเขาล้อมรอบเต็มไปด้วยสัตว์ป่าชุก ชุม พวกพรานเนื้อผู้กล้าหาญและมีเวทมนต์คาถาจะเดินทางเข้าไปล่าสัตว์ป่าแต่ปรากฏ ว่านายพรานทุกคนที่เข้าไปในป่าเมืองลับแลจะไม่มีใครได้กลับออกมา จึงกล่าวขานกันว่าเพราะผีป่าจำแลงแปลงเพศเป็นสาวงามออกมาเกี้ยวพาราสีนาย พราน ผู้หลงเดินทางเข้าดงลับแลก็จะนิมิตให้เป็นเมืองอย่างสวยงามมีผู้คนเป็นหญิง สาวล้วน ๆ พวกพรานหนุ่มก็พากันหลงกลมายาของพวกนางผีสาวจนตกเป็นอาหารกันหมดไม่มีผู้ใด รอดออกมาได้เลย ต่อมามีชายหนุ่มผู้ขมังเวทย์ชาวเมืองกัมโภช (ทุ่งยั้ง)จำนวน 3 คนชวนกันออกไปล่าสัตว์เดินทางแกะรอยสัตว์จนหลงเข้าใกล้ดงเมืองลับแลแดนผีดุ ร้ายจนถูกอำนาจมืดให้เข้าสู่นครสาวงาม เมื่อพบสาว ๆ หนุ่มทั้ง 3 คนก็หลงเกี้ยวพาราสีเมื่อถึงเวลาค่ำหนุ่ม 2 คนก็ถูกผีแม่กองกอยกินเป็นอาหาร บังเอิญหนุ่มอีก 1 คนโชคดีผีสาวตนหนึ่งได้หลอกพาเขาไปอยู่ในถ้ำและเอาเป็นสามีเมื่อถึงเวลาผี สาวกองกอยจะออกหากินก็จะเอาหินใหญ่ปิดปากถ้ำไว้ทำอยู่อย่างนี้เป็นเวลา 2 ปีกว่าจนมีลูกด้วยกันหนึ่งคน อยู่มาวันหนึ่งเมื่อนางผีสาวออกจากถ้ำแล้วปิดถ้ำไว้บังเอิญลูกเล่นอยู่ตรง ปากถ้ำไปถูกก้อนหินทำให้ก้อนหินปิดปกาถ้ำหล่นลงปากถ้ำก็เปิดออก ชายหนุ่มก็วิ่งออกจากถ้ำไปผีอีกองกอยกลับมาจึงออกวิ่งตามชายหนุ่มจวนตัวจึง หลบลงที่หลุมมันเสา (หลุมหัวมันกินได้) เอาหัวมุดลงหลุมเอาก้นกระดกขึ้นข้างบนผีสาวตามมาทันก็เอามือจับก้นชายหนุ่ม ด้วยความตกใจและกลัวตายหนุ่มก็ผายลมออกมาเสียงดังปุด ๆ ผีสาวก็เอามือมาดมก็ได้กลิ่นเหม็นจึงอุทานว่า “ป้ออี่ฮอม***ต๋ายเสียแล้ว***จะไปเอาถุงม่าบ้าม่าขั่ง (ถุงย่าม) มาหื้อผัว***” เพราะหวังว่าสามีจะได้ไปสู่ที่เจริญมีกินมีอยู่ว่าแล้วผีสาวก็เอาถุงย่ามมา ให้สามีแล้วกลับไปหาลูกสาวในถ้ำ ชายหนุ่มได้จังหวะก็ลุกขึ้นเอาถุงย่ามสะพายบ่าแล้วรีบเดินทางเพื่อกลับบ้าน เมื่อถึงบ้านจึงดูของในถุงย่ามก็พบว่าเป็นทองคำบริสุทธิ์ ชายหนุ่มจึงเล่าเรื่องราวเมืองลับแลให้เพื่อนฝูงญาติพี่น้องฟังทุกคนจึงลง ความเห็นว่าเมืองลับแลเป็นเมืองผีกินคน เป็นเมืองแม่หม้าย เมืองมหัศจรรย์ ต่อ ๆ กันมา
จากข้อมูลแห่งตำนาน สภาพต่อมาปรากฏว่าผู้คนเมืองลับแลจะมีผู้เฒ่าผู้แก่เป็นหญิงมากกว่าชายและ เป็นหญิงหม้ายเพราะสามีจะเสียชีวิตหมด (ผู้ชายเมืองลับแลจะอายุไม่ยืน) จะสังเกตได้ว่าจนถึงปัจจุบันในวันพระจะมีผู้สูงอายุเป็นหญิงไปทำบุญที่วัด มากกว่าชาย (ประมาณร้อยละ 80 เป็นผู้หญิง) ซึ่งจะมีสาเหตุอื่นประกอบก็เป็นได้จึงทำให้ผู้หญิงมีอายุยืนมากกว่าผู้ชายคง ต้องรอการศึกษาต่อไป
ข้อมูลเพิ่มเติม.....................
ทางด้านเหนือของเมืองกัมโภช มีภูมิประเทศเป็นป่าเขาสลับซับซ้อน มีบรรยากาศเยือกเย็นยามพลบค่ำแม้ตะวันจะยังไม่ตกดินก็จะมืดแล้ว เพราะมีดอยม่อนฤๅษีเป็นฉากกั้นแสงอาทิตย์ ป่านี้จึงได้ชื่อว่า "ป่าลับแลง" (แลง แปลว่า เวลาเย็น) ต่อมาเพี้ยนเป็น "ลับแล" ซึ่งกลายมาเป็นชื่ออำเภอลับแลในสมัยปัจจุบัน
ในยุคเดียวกับการรวมตัวของเมืองกัมโภช ได้มีผู้คนจากอาณาจักรโยนกเชียงแสน อพยพหลบภัยสงครามเข้ามาตั้งรกรากอยู่บริเวณที่ราบเขาแห่งหนี่งและตั้งชื่อ บ้านว่า "บ้านเชียงแสน" ต่อมาคนกลุ่มนั้นก็แยกย้ายกันไปหักล้างถางดงสร้างบ้านเมือง ขึ้นกระจัดกระจายตามที่ราบและไหล่เขาต่าง ๆ เมื่อได้ทำมาหากินกันระยะหนึ่งคนกลุ่มนั้นได้ไปอัญเชิญเจ้าชายฟ้าฮ่ามกุมาร จากอาณาจักรโยนกเชียงแสน มาตั้งเมืองที่ป่าลับแล ให้ชื่อว่าเมืองลับแล และสร้างวังขึ้นที่บ้านท้องลับแล หรือที่บริเวณวัดเจดีย์คีรีวิหาร เมื่ออาณาจักรโยนกเชียงแสนล่มสลายลง อาณาจักรล้านนาเฟื่องฟูแทน เมืองลับแลก็ยอมขึ้นกับอาณาจักรล้านนา ใน พ.ศ. 1690 อาณาจักรสุโขทัยรุ่งเรืองขึ้น ก็เป็นเมืองขึ้นของอาณาจักรสุโขทัย ในปี พ.ศ. 1981 เมืองทุ่งยั้ง ได้เจริญรุ่งเรืองขึ้น เพราะเป็นเมืองหน้าด่านของอาณาจักรอยุธยา เมืองลับแลจึงได้ถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของเมืองทุ่งยั้ง ครั้นต่อมาในสมัยรัตนโกสินทร์ ในราว พ.ศ. 2444 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสเมืองอุตรดิตถ์ และได้เสด็จมาถึงเมืองลับแลในวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2444 ได้โปรดให้ย้ายศาลากลางจังหวัดจากเมืองพิชัยมาตั้งที่บางโพ และยุบเมืองทุ่งยั้งรวมกับลับแลและสถาปนาเมืองลับแลขึ้นเป็นอำเภอ ส่วนอาคารที่ทำการยังตั้งอยู่ที่เมืองทุ่งยั้ง บริเวณใกล้เวียงเจ้าเงาะ
ต่อมาพระพิศาลคีรี ได้ย้ายอาคารที่ทำการไปตั้งที่ม่อนจำศีลในปีเดียวกันนี้ (ห่างจากที่ว่าการ อำเภอปัจจุบันไปทางทิศเหนือประมาณ 1 กิโลเมตร) ครั้นถึง พ.ศ. 2457 สมัย พระศรีพนมมาศ (เมื่อครั้งเป็นหลวงศรีพนมมาศ) เห็นว่าห่างไกลจากตัวเมืองลำบากแก่ราษฎรไปติดต่อ ประกอบกับพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชประสงค์จะสงวนที่ม่อนจำศีล เป็นที่ประดิษฐานพระเหลือ (พระพุทธรูปที่สร้างจากทองที่เหลือจากการหล่อพระพุทธชินราชที่จังหวัดพิษณุโลก) เพราะทรงเห็นว่าทิวทัศน์ของม่อนจำศีลคล้ายกับเมืองชวา จึงได้ย้ายอาคารที่ทำการจากม่อนจำศีล มาอยู่ที่ ม่อนสยามินทร์ (ชาวบ้านเรียกม่อนสามินทร์) เพราะเคยเป็นที่ตั้งพลับพลารับเสด็จพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นที่ตั้งที่ว่าการอำเภอในปัจจุบัน