พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย

 

 

 

 

 

 

 

ตราสัญลักษณ์ พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ซึ่งใช้ตราสัญลักษณ์เดียวกันกับพรรคคอมมิวนิสต์จีน

 

   พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท.) (อังกฤษ: Communist Party of Thailand - CPT) เป็นพรรคคอมมิวนิสต์ในประเทศไทย ไม่เคยจดทะเบียนจัดตั้งตามกฎหมายอย่างเป็นทางการ แต่ในทางปฏิบัติก็ถือเป็นพรรคการเมือง มีอุดมการณ์การเมืองชัดเจนตั้งแต่ก่อตั้ง ดำเนินแนวทางตาม ลัทธิมาร์กซ์ ลัทธิเลนิน และลัทธิเหมา นอกจากนั้น ในอดีต ยังมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยที่สังกัด พคท. อีกด้วย ได้แก่ ประเสริฐ ทรัพย์สุนทร

ในปัจจุบัน ถึงแม้จะยังไม่มีการประกาศยุบพรรค แต่ก็มิได้มีการเคลื่อนไหวทางการเมืองแต่อย่างใด

 

พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยยึดถือแนวคิดมาร์กซ เลนิน และ เหมาเจ๋อตุง

 

 

ประวัติ

   พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย เดิมเรียก พรรคคอมมิวนิสต์สยาม เริ่มก่อตั้งโดยโฮจิมินห์ ชาวเวียดนาม ใช้นามแฝงว่าสหายซุง โดยประชุมครั้งแรกแบบลับๆ ที่ โรงแรมตุ้นกี่ หน้าสถานีรถไฟหัวลำโพง เมื่อ 20 เมษายน พ.ศ. 2473 โดยแต่งตั้งหลี หรือ โงจิ๊งก๊วก เป็นเลขาธิการพรรคคนแรก และมีตัวแทนสองคนคือ ตัง หรือ เจิ่นวันเจิ๋น และ เหล่าโหงว หรือ อู่จื้อจือ จนก่อตั้งเป็นรูปร่างเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2485 หลังการประชุมสมัชชาพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 1 ที่กรุงเทพมหานคร โดยมีสมาชิกก่อตั้ง 57 คน พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยเป็นพรรคแนวอุดมการณ์ ยึดมั่นในลัทธิมาร์กซ เลนินและลัทธิเหมา โดยมีความมุ่งหมายเพื่อสร้างความเสมอภาคทางชนชั้น ชี้นำสังคมโดยพรรคคอมมิวนิสต์ และต่อสู้เอาชนะระบบทุนนิยมด้วยวิธี "ป่าล้อมเมือง"

 

พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย

กองกำลังทหารจากรัฐบาล

ยุทธการเขาค้อ

 

วันเสียงปืนแตก

   วันเสียงปืนแตก คือวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2508 ซึ่งเป็นวันที่พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยใช้อาวุธโจมตีกองกำลังของรัฐบาลไทยเป็นครั้งแรก กองกำลังของพรรคได้เรียกตนเองว่า กองทัพปลดแอกประชาชนแห่งประเทศไทย (ทปท.) เหตุเกิดที่ บ้านนาบัว ตำบลโคกหินแฮ่ อำเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนม ทั้งนี้ได้ประกาศยุทธศาสตร์ "ต่อสู้ด้วยกำลังอาวุธ ใช้ชนบทล้อมเมือง และยึดเมือง" หลังจากวันเสียงปืนแตก พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยก็ต่อสู้ด้วยอาวุธกับกองกำลังของรัฐบาลไทยมา ตลอด และในยุค "แสวงหา" บรรดานักเรียนนักศึกษาประชาชนร่วมเข้าป่าเพื่อต่อสู้กับพรรคคอมมิวนิสต์แห่ง ประเทศไทย โดยเฉพาะหลังเหตุการณ์ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 จนกระทั่งปี พ.ศ. 2523 รัฐบาลพลเอกเปรม ติณณสูลานนท์ได้ออกคำสั่ง 66/2523 นิรโทษกรรมแก่ฝ่ายคอมมิวนิสต์ และปี พ.ศ. 2525 พรรคมีการเจรจากับรัฐบาลไทย เลิกต่อสู้ด้วยอาวุธ ให้มาต่อสู้กันทางรัฐสภาแทน บรรดานักปฏิวัติหลายคนที่ผิดหวังต่อแนวทางของพรรคที่อิงจีนมากเกินไป โดยไม่อาศัยสภาพความเป็นจริงของประเทศไทย จึงยุติการต่อสู้ หลังจากนั้นพรรคก็อ่อนกำลังลง ในปัจจุบันยังคงมีพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยอยู่ แต่ยังคงไม่มีการเคลื่อนไหวทางการเมืองใด ๆ

รายนามเลขาธิการพรรค

   รายชื่อเลขาธิการพรรค เรียงตามวาระที่ได้ดำรงตำแหน่ง โดยการเลือกเลขาธิการพรรคนั้น จะกระทำในที่ประชุมสมัชชา พคท. แต่ละครั้ง

พ.ศ. 2485 - พิชิต ณ สุโขทัย (จูโซ่วลิ้ม, พายัพ อังคะสิงห์) (แหล่งข้อมูลบางแหล่งไม่เห็นด้วยกับข้อมูลนี้ โดยอ้างว่า ในขณะนั้น นายพิชิตไม่ได้เข้าร่วมประชุมสมัชชาด้วย) พ.ศ. 2495 - ประสงค์ วงศ์วิวัฒน์ (ทรง นพคุณ) พ.ศ. 2504 - มิตร สมานันท์ (เจริญ วรรณงาม) ชาวอุดรธานี การศึกษาจบสาขาวารสารศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมต่อต้านญี่ปุ่นในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ศึกษาต่อที่สถาบันลัทธิมารก์ซเลนินที่กรุงปักกิ่ง และเสียชีวิตลงในปี พ.ศ. 2521 พ.ศ. 2525 - ประชา ธัญญไพบูลย์ (ธง แจ่มศรี) ชาวไทยเชื้อสายเวียดนาม เข้าร่วมพรรคตั้งแต่อายุ 17 ปี

 

คลิปจากYOUTUBE

 

 

 

 

กรุณา อย่าโยงเข้าการเมืองเเละอย่าดราม่าในกระทู้ เจ้าของกระทู้ขอลบความคิดเห็นนั้นๆหากมีความหมายสื่อไปในทางการเมืองหรือ เสียดสีต่างๆอันก่อให้เกิิดความเเตกเเยกในสังคม จึงเรียนให้ทราบมา ณ ที่นี้

 


Credit: http://board.postjung.com/680573.html
27 พ.ค. 56 เวลา 11:06 6,415 1 130
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...