ตัวอับเฉา หรือ เครื่องอับเฉา (Chinese Ship Ballast) มีต้นกำเนิดจากการค้าขายสินค้าด้วยเรือสำเภาเดินทะเล ในสมัยรัชกาลที่ 3 สินค้าจะเป็นพวก ไม้สัก ข้าวสาร งาช้าง ดีบุก พลวง ไม้ เครื่องเทศ ซึ่งเป็นของมีน้ำหนัก เมื่อค้าขายเสร็จแล้วก็จะซื้อสินค้ากลับมาจากจีนเป็นพวก ผ้าแพร ผ้าไหม แร่ทอง แร่เงิน ไขมุก ซึ่งมีราคสูงและแต่มีน้ำหนักเบา ซึ่งในช่วงที่เดินเรือในทะเล เรือสำเภาจะต้องแล่นฝ่าคลื่นลมในทะเล ฉะนั้นจึงต้องทำให้ตัวเรือนั้นมีน้ำหนักมากพอสมควรเพื่อไม่ให้เรือโคลงเคลง จึงได้ใส่ตัวอับเฉาเพื่อเป็นการถ่วงน้ำหนักใต้ท้องเรือ ทำให้เรือสามารถแล่นฝ่าคลื่นลมมาได้
ในยุคแรกๆ ตัวอับเฉา จะมีลักษณะเป็นแท่งหินธรรมดาๆยังไม่มีการทำเป็นตุ๊กตาหินอย่างในปัจจุบัน โดยนำไปใช้เป็นแท่งหินปูพื้นทำถนนทางเดิน ณ พระบรมมหาราชวังในปัจจุบัน ต่อมามีการนำตุ๊กตาหินมาใส่เป็นตัวอับเฉา ซึ่งทางจีนทำมาอย่างไรไทยก็ซื้อมาตามนั้น แต่ภายหลังมีการออกแบบจากไทยไปให้ช่างจีนทำตุ๊กตาหินตามสั่ง ซึ่งตุ๊กตาหินเหล่านั้นได้นำมาตั้งตกแต่งพระอาราม พระราชวัง วัง หรือบ้านผู้มียศศักดิ์ โดยสลักเป็นรูปต่างๆ ทั้งรูปคน ฝรั่ง จีน เทพเทวดา และรูปสัตว์
ตัวอับเฉานั้นมีประโยชน์แค่ถ่วงท้องเรือเท่านั้น เวลาชาวจีนเดินทางมาค้าขายที่ไทย ก็จะเอาอับเฉาถ่วงเรือมาด้วย และขนสินค้าจำพวกแร่ ดีบุก ข้าว และไม้สัก กลับไป ซึ่งแต่ละอย่างล้วนมีน้ำหนักมากโข จึงไม่จำเป็นต้องอับเฉากลับไปด้วย อีกทั้งชื่อก็ยังไม่เป็นมงคล ทำให้ไม่มีพ่อค้าแม่ค้าคนใดอยากได้กลับบ้านจึงได้นำมันไปไว้ที่วัด แต่ภายหลังชาวจีนเกิดความคิดว่า จะเอาแท่งหินธรรมดาๆมาทำไมก็เลยแกะสลักมันซะเลยเพื่อให้เกิดมูลค่า ดีกว่านำเอามาทิ้งเหมือนครั้งก่อนๆ
อับเฉา ปัจจุบันหาชมได้ที่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์) หรือพระบรมมหาราชวัง (วัดพระแก้ว)