คาเฟ่ หรือที่ชาวเกาหลีออกเสียงว่า "คาเพ่" (카페) ก็คือร้านกาแฟบ้านเรานี่เองค่ะ คาเฟ่นั้นมีให้เห็นอยู่ทุกซอกทุกมุม ทุกเส้นถนน เรียกได้ว่าหันไปทางไหน ก็เจอแต่คาเฟ่เรียงรายกันเต็มไปหมด
คาเฟ่ที่ประเทศเกาหลีนั้น มีทั้งแบบแฟรนไชส์อินเตอร์ เช่น สตาร์บัคส์ (Starbucks) คาริบู คอฟฟี่ (Caribou Coffee) แฟรนไชส์โลคอล บีนส์ บินส์ (Beans Bins) คาเฟ่เบเน่ (Caffe Bene)
วัฒนธรรมการดื่มกาแฟ หรือ Coffee Culture ของชาวเกาหลีนั้น อาจไม่ได้มีประวัติย้อนหลังยาวนาน เหมือนกับวัฒนธรรมการดื่มชาของชาวญี่ปุ่น ที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ แต่กระแสความนิยมของเขา บวกกับการต้องแวะมานั่งในคาเฟ่หลังมื้ออาหาร ทำให้ผู้เขียนอยากหยิบยกขึ้นมาเล่ากันในครั้งนี้ค่ะ
Coffee Prince
กระแสความสนใจกาแฟในหมู่ชาวเกาหลีนั้น บางวิจัยชี้ว่า น่าจะมีส่วนเกิดขึ้นจากการ
นำเสนอร้านกาแฟ และชีวิตของบาริสต้า โดยละครซีรีย์ยอดฮิด The 1st Shop of Coffee Prince(นำแสดงโดย กงยู และยุนอึนเฮ) ในปี 2007 ซึ่งได้ทำการ
ปลุกกระแส ให้ชาวเกาหลีหันมาให้ความ
สนใจกับกาแฟมากขึ้น ทั้งในด้านรสชาติ การแต่งหน้ากาแฟ และบรรยากาศของร้าน
การเจริญเติบโตของร้านกาแฟในเมืองใหญ่ๆ อย่าง โซล พูซาน หรือ กวางจูนั้น ทำให้มี
การนำเข้ากาแฟเพิ่มขึ้นมากกว่าหนึ่งเท่าตัว
ในห้าปีที่ผ่านมา ทำสถิติการนำเข้ากาแฟ แซงหน้าปี 2010 เป็นเงินมากกว่า สี่ร้อยล้านเหรียญสหรัฐ ธุรกิจร้านกาแฟนั้น เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วถึง ยี่สิบเปอร์เซนต์ ต่อปี ในขณะที่สถิติเผยว่า ชาวเกาหลีหนึ่งคน ดื่มกาแฟโดยเฉลี่ยแล้ว 400 ร้อยแก้วต่อปี ซึ่งนั่นหมายความว่าพวกเขาดื่มมากกว่าหนึ่งแก้วต่อวัน !
Coffee Prince
Coffee Prince
อย่างที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น เนื่องจากคาเฟ่ในเมืองใหญ่นั้นมีอยู่มากมาย หาเข้าได้ง่าย ทำให้ชาวเกาหลี ไม่ต้องคิดเยอะในเรื่องสถานที่การนัดพบปะ คุยงาน คุยเล่น หลังอาหาร ซึ่งผู้เขียนสามารถบอกได้ ณ ที่นี้ว่า วัฒนธรรมการดื่มกาแฟกันหลังอาหารนั้น มันมีอยู่จริง ไม่เว้นแม้กระทั่งหลังอาหารเย็น!
เนื่องจากชาวเกาหลีส่วนใหญ่ (เวลาไปทานอาหารกับเพื่อน หรือรุ่นพี่รุ่นน้อง) จะไม่ค่อยนิยมการจ่าย
ค่าอาหาร แบบแยกกันจ่าย (go Dutch) ทำให้ต้องมี "รอบสอง" กันต่อในร้านกาแฟ ซึ่งจะเปิด
โอกาสให้รุ่นน้อง หรืออีกฝ่าย ได้เลี้ยงกาแฟตอบแทนอาหารมื้อก่อนหน้านี้ ทำให้บางครั้ง ถึงเราจะ
เหนื่อย และง่วงแค่ไหน เราก็ต้องพาเขาไปดื่มกาแฟกันต่อที่คาเฟ่ เหลือบมองโต๊ะข้างๆ สั่งอเมริกาโน่
กันตอนสี่ทุ่มยังมี! อ้อ ไม่ต้องแปลกใจไป ว่าทำไมคาเฟ่ที่เกาหลีเปิดให้บริการถึงดึกขนาดนี้ เพราะคาเฟ่บางร้านก็ทำขึ้นมาไม่ใช่เพื่อไว้ดื่มกาแฟอย่างเดียว บางร้านมีคอนเซ็ปต์ที่แตกต่างกัน
ออกไป เช่น บุ๊คคาเฟ่ บอร์ดเกมส์คาเฟ่ ให้ลูกค้าสามารถหาหนังสือมาอ่านฆ่าเวลา หรือ เล่นเกมส์กันได้ เป็นต้น ส่วนใหญ่แล้วร้านจะปิดประมาณ ห้าทุ่มถึงเที่ยงคืน หรือไม่ก็ตีสอง หรือ 24ชม.ไปเลยก็มีค่ะ
ย่านคาเฟ่ดัง อินดี้ มีรูปแบบและคอนเซ็ปต์เป็นของตัวเอง ส่วนใหญ่จะอยู่ในย่านฮงเด ย่านแทฮังโน ย่านชินชา และย่านชัมชองดง ราคาของกาแฟที่เกาหลี จัดอยู่ในระดับไม่แพงมากเมื่อเทียบกับ ค่าใช้จ่ายอื่นๆในชีวิตประจำวัน ราคาเอสเพรสโซ่อ ยู่ที่แก้วละประมาณ 3,000วอน อเมริกาโน่ 3,000-4,500วอน ในขณะที่ราคาของเครื่องดื่มพิเศษ เช่น ไอซ์มอคค่าเฟรปปูชิโน อาจมีราคาสูงถึง 7,000-10,000วอน เป็นต้น ทั้งนี้ทั้งนั้นราคาของเครื่องดื่ม อาจจะสูงขึ้นกว่าที่ได้กล่าวมาแล้ว ขึ้นอยู่กับย่านที่ตั้งของคาเฟ่นั้นๆ โดยส่วนใหญ่แล้ว คาเฟ่บางร้านจะมี เชทเครื่องดื่ม พร้อมอาหาร ทานเล่น เช่น ทอม แอนด์ ทอมส์ จะมี มอร์นิ่งเชท ให้ลูกค้าได้เลือกเครื่องดืมจากสองถึงสามชนิด ทานคู่กับ เพรทเชิล เบเกิ้ล หรือฮันนี่โทสท์ ในระหว่างช่วงเวลา เจ็ดโมงเช้าถึงสิบเอ็ดโมง ในราคาเพียง 4,500วอน ถึง 4,900วอนเท่านั้น
นอกจากจะได้จิบกาแฟอร่อยๆ ในบรรยากาศดีๆแล้ว เก้าสิบเปอร์เซนต์ของคาเฟ่ในเมือง ทั้งคาเฟ่แบบ
แฟรนไชส์ใหญ่ หรือในร้านเล็กๆ ยังมีบริการอินเตอร์เนตไร้สาย (wireless internet) ไว้บริการฟรี
แก่ลูกค้า แถมยังมีที่สำหรับให้ชาร์ตไฟตามผนัง หรือตามโต๊ะที่นั่ง ในกรณีที่ลูกค้านำโน๊ตบุ๊คมาใช้ หรือ กลัวแบตเตอรี่มือถือจะหมดอีกด้วย ส่วนใครที่กลัวว่าจะนั่งไม่คุ้มค่ากาแฟ ขอบอกว่าคุ้มสุดๆ เพราะชาวเกาหลีเขานั่งเล่น นั่งทำงาน นั่งเม้าท์กันสามถึงสี่ชั่วโมงเลยทีเดียว (ขอกระซิบบอก ผู้เขียน
เคยนั่งทำรายงาน แบบมาราธอนถึงสิบสองชั่วโมงกับกาแฟสามแก้วมาแล้วค่ะ)