20 เรื่องราว กำเนิดสิ่งแรกของประเทศไทย
กำเนิดสิ่งแรกของประเทศไทย 1
บทประพันธ์ที่ทำการขายลิขสิทธิ์ครั้งแรกในประเทศไทย ( นิราศลดอนอน ของหม่อมราโชทัย ขายให้กับหมอบรัดเลย์ )
เนื้อเรื่องย่อ
คณะราชทูตไทยอัญเชิญพระราชสาร พร้อมทั้งเครื่องราชบรรณาการไปถวายสมเด็จพระบรมราชินีนาถวิคตอเรียณ พระราชวังวินเซอร์ (พระราชวังประจำฤดูหนาว) ซึ่งทำให้ได้รับผลดีคือ มีการเปลี่ยนแปลงสัญญาใหม่ โดยที่ไทยได้ประโยชน์เพิ่มขึ้น จากนั้นคณะราชทูตไทยได้รับพระราชทานเลี้ยงอาหารค่ำและน้ำชาและได้พักค้างแรม ณ พระราชวังวินเซอร์ 1 คืน ต่อมาจึงได้ไปเยี่ยมชมสถานที่สำคัญๆ เช่น โรงพยาบาล โรงงานทำเหรียญกษาปณ์ ป้อมศาสตราวุธแห่งลอนดอน มงกุฎกษัตริย์อังกฤษซึ่งมีเพชรขนาดใหญ่เท่าไข่นกพิราบประดับอยู่และพระราชวังบัคกิงแฮม (พระราชวังประจำฤดู)
กำเนิดสิ่งแรกของประเทศไทย 2
แบบเรียนเล่มแรกของคนไทย ( หนังสือจินดามณี พระโหราธิบดีเป็นผู้แต่ง)
แบบเรียนเล่มแรกของไทย ชื่อ “ จินดามณี ” แต่งโดย พระมหาราชครู กวีในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (ครองราชย์ปี พ.ศ. 2199 – 2231)
กำเนิดสิ่งแรกของประเทศไทย 3
หนังสือไทยเล่มแรก ( หนังสือไตรภูมิพระร่วง )
ไตรภูมิพระร่วง มีหลายชื่อเรียกได้แก่ ” ไตรภูมิพระร่วง ” ” เตภูมิกถา ” ” ไตรภูมิกถา ” ” ไตรภูมิโลกวินิจฉัย ” และ ” เตภูมิโลกวินิจฉัย “
เป็น วรรณคดีพุทธศาสนา ที่แต่งในสมัยสุโขทัยประมาณ พ.ศ. 1888 โดยพระราชดำริในพระยาลิไท รวบรวมจากคัมภีร์ในพระพุทธศาสนา มีเนื้อหาเกี่ยวกับโลกสัณฐาน ที่แบ่งเป็น 3 ส่วน หรือ ไตรภูมิ ได้แก่ กามภูมิ รูปภูมิ และอรูปภูมิ
นรก สวรรค์ การเวียนว่ายตายเกิด ทวีปทั้งสี่ (เช่น ชมพูทวีป ฯลฯ) ระยะเวลากัปป์กัลป์ กลียุค การล้างโลก พระศรีอาริย์ มหาจักรพรรดิราช แก้วเจ็ดประการ ฯลฯ
กำเนิดสิ่งแรกของประเทศไทย 4
หนังสือพิมพ์ฉบับแรกของไทย ( หนังสือพิมพ์บางกอกรีคอดเดอร์ เมื่อปี พ.ศ.2387)
4 กรกฎาคม พ.ศ. 2387 ” บางกอกรีคอร์เดอร์” (Bangkok Recorder) หรือ ” หนังสือจดหมายเหตุ ” เป็นหนังสือพิมพ์ฉบับแรกของไทย ฉบับปฐมฤกษ์เริ่มออกวางแผง
หนังสือพิมพ์ฉบับนี้จัดพิมพ์โดย หมอบรัดเลย์ (Dr. Dan Beach Bradley, M.D.) มิชชันนารีอเมริกัน โดยใช้ตัวพิมพ์ที่เรียกว่า “ บรัดเลย์เหลี่ยม ” จัดพิมพ์ทั้งภาษาไทยและอังกฤษ ในระยะแรกเริ่มออกฉบับรายเดือน ต่อมาเปลี่ยนเป็นรายปักษ์หรือรายครึ่งเดือน แต่ออกได้เพียงสองปีก็ต้องเลิกกิจการ หนังสือพิมพ์บางกอกรีคอร์ดเดอร์ได้นำเอาวิธีการรายงานข่าวและการเขียนบทความแบบวิพากษ์วิจารณ์ ซึ่งเป็นของใหม่ในสมัยนั้นเข้ามาด้วยกำเนิดสิ่งแรกของประเทศไทย 5
ปฏิทินฉบับภาษาไทยของประเทศไทย จัดพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ ( ปี พ.ศ.2385 )
ในอดีตประเทศไทยใช้ปฏิทินจันทรคติตั้งแต่สมัยสุโขทัยโดยนับปีตามปีมหาศักราชและจุลศักราชตามลำดับ จนกระทั่งในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรดเกล้าฯ เปลี่ยนจากปฏิทินจันทรคติมาใช้ปฏิทินสุริยคติ ในปีจุลศักราช 1240 ซึ่งตรงกับปี พ.ศ. 2431 โดยใช้แบบสากลตาม ปฏิทินเกรกอเรียน
โดยเดือนแรกของปีคือเดือนเมษายน และเดือนสุดท้ายของปีคือมีนาคม และปรับมาใช้รัตนโกสินทรศก และพุทธศักราชตามลำดับ จนกระทั่งในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้มีการปรับเปลี่ยนปฏิทินอีกครั้งโดยปรับให้วันที่ 1 มกราคม เป็นวันขึ้นปีใหม่และเป็นวันเริ่มต้นของปีแทนที่รูปแบบเดิม โดยวันขึ้นปีใหม่ในรูปแบบนี้เริ่มใช้ในปี พ.ศ. 2484การพิมพ์ปฏิทินมีขึ้นเป็นครั้งแรกในเมืองไทย เมื่อ วันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2385 (ปลายสมัย รัชกาลที่ 3) ต่อมาในรัชกาลที่ 4 ทรงฯโปรดให้พิมพ์ปฏิทินภาษาไทย ในสมัยรัชกาลที่ 5 ปฏิทินที่พิมพ์ในเมืองไทยได้แก่ ” ประนินทิน “ แจ้งราคาขายไว้เล่มละ 4 บาท การพิมพ์ปฏิทินเล่มยังมีการจัดทำต่อมา ในหลายรูปแบบ ซึ่งมีบอกสถาพของน้ำขึ้น-น้ำลง ดิถีดวงจันทร์ และปฏิทินภาษาจีนร่วมด้วย และมีช่องว่างให้บันทึกเล็กน้อย ในรูปแบบของ ไดอารี่ หรือ ” สมุดบันทึกประจำวัน ” ก็สามารถอนุโลมให้เป็นปฏิทินได้ โดยไดอารี่ที่มีชื่อเสียงได้แก่ ไดอารี่ของรัชกาลที่ 5 ซึ่งเมื่อตีพิมพ์เผยแพร่มีชื่อเรียกว่า ” จดหมายเหตุพระราชกิจรายวัน “
กำเนิดสิ่งแรกของประเทศไทย 6
โรงเรียนหลวงสำหรับราษฎรแห่งแรก ( โรงเรียนวัดมหรรณพาราม )
พ.ศ.๒๔๑๔ (ค.ศ.1871) ที่ประเทศไทย ในรัชกาลที่ ๕ ด้วยพระบรมราชโองการ “โปรดเกล้าฯ จะให้มีอาจารย์สอนหนังสือไทยและสอนเลขทุก ๆ พระอาราม” การศึกษาแบบสมัยใหม่ในประเทศไทยก็เริ่มตั้งต้น ทั้งนี้ โดยให้พระสงฆ์รับภาระช่วยการศึกษาของชาติ ครั้นแล้วใน พ.ศ.๒๔๒๗ ก็โปรดให้ตั้งโรงเรียนหลวงสำหรับราษฎรขึ้นตามวัด เริ่มที่วัดมหรรณพาราม เป็นโรงเรียนแรก
กำเนิดสิ่งแรกของประเทศไทย 7
มหาวิทยาลัยแห่งแรกของไทย ( จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย )
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นสถาบันอุดมศึกษาแห่งแรกของประเทศไทย ถือกำเนิดจากโรงเรียนสำหรับฝึกหัดวิชาข้าราชการฝ่ายพลเรือน โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และได้รับพระบรมราชานุญาตให้เปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียนมหาดเล็ก ในครั้งนั้นมีการเปิดสอน ๘ แผนกวิชา ได้แก่ การปกครอง กฎหมาย การฑูต การคลัง การแพทย์การช่าง การเกษตร วิชาครู
จัดการศึกษาใน ๕ โรงเรียน (คณะในปัจจุบัน) คือ
โรงเรียนรัฏฐประศาสนศาสตร์ ตั้งอยู่ในพระบรมมหาราชวัง โรงเรียนฝึกหัดอาจารย์ตั้งอยู่ที่บ้านสมเด็จเจ้าพระยา โรงเรียนราชแพทยาลัยตั้งอยู่ที่โรงพยาบาลศิริราช โรงเรียนเนติศึกษาตั้งอยู่ที่เชิงสะพานผ่านพิภพลีลา โรงเรียนยันตรศึกษาตั้งที่วังใหม่หรือวังกลางทุ่ง หรือ วังวินเซอร์ (เคยเป็นวังของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ)ต่อมาพระบาทสมเด็จพระมงกูฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีพระราชดำริที่จะขยายการศึกษาในโรงเรียนข้าราชการพลเรือนฯ ให้กว้างขวางยิ่งขึ้น คือ ไม่เฉพาะสำหรับผู้ที่จะเล่าเรียนเพื่อรับราชการเท่านั้น แต่จะรับผู้ซึ่งประสงค์จะศึกษาขั้นสูงให้เข้าเรียนได้ทั่วถึงกัน จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประดิษฐานโรงเรียนข้าราชการพลเรือนฯ ขึ้นเป็น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อ ๒๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๕๙
จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัยในช่วงแรกมีการจัดการศึกษาเป็น ๔ คณะ ได้แก่ คณะรัฐประศาสนศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์และ วิทยาศาสตร์
กำเนิดสิ่งแรกของประเทศไทย 8
ธนบัตร หรือ หมาย เงินกระดาษใบแรกของไทย
ธนบัตรหรือเงินกระดาษของไทย ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ผลิตขึ้นครั้งแรก ในสมัยรัชกาลที่ 5พิมพ์ออกใช้ครั้งแรกเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ.2445 โดยก่อนหน้านั้น ในสมัยรัชกาลที่ 4ได้มีการผลิตธนบัตร หรือ เงินกระดาษออกใช้เป็นครั้งแรก ในเมืองไทยแล้ว เมื่อปี พ.ศ.2396
เรียกว่า หมาย ด้วยกระดาษปอนด์สีขาวรูปสี่เหลี่ยม พิมพ์ลวดลายด้วยหมึกทั้งสองด้าน ประทับตรา พระราชลัญจกรประจำแผ่นดิน ตราจักร และ พระราชลัญจกรประจำรัชกาลสีแดงชาด ( ลัญจกร อ่านว่า ลัน-จะ-กอน แปลว่า ตราสำหรับใช้ตีหรือประทับ ราชาศัพท์ใช้คำว่า พระราชลัญจกร )กำเนิดสิ่งแรกของประเทศไทย 9
เรือกลไฟลำแรกของประเทศไทย ( เรือสยามอรสุมพล )
เรือกลไฟ หรือ เรือกำปั่นไฟ เป็นเรือที่ใช้เครื่องจักรพลังไอน้ำในการขับเคลื่อน แทนการใช้ใบและแรงลม เรือกลไฟลำแรกที่เข้ามาแล่นอวดโฉมให้ชาวสยามในบางกอกได้ตื่นตาตื่นใจกันว่า ” เหล็กลอยน้ำได้ ” นั้น คือเรือกลไฟชื่อ ” เอ็กสเปรส ” (Express) ภายใต้การบัญชาการของกัปตันปีเตอร์ บราวน์ (Peter Brown)
กำเนิดสิ่งแรกของประเทศไทย 10
โรงพยาบาลแห่งแรกของไทย ( โรงพยาบาลศิริราช )
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เกิดอหิวาตกโรคระบาดชุกชุมเมื่อ พ.ศ. 2424 ในครั้งนั้นทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งโรงพยาบาลขึ้นชั่วคราวในที่ชุมชนรวม 48 ตำบล ครั้นโรคร้ายเสื่อมถอยลง โรงพยาบาลจึงได้ปิดทำการ หากแต่ในพระราชหฤทัยทรงตระหนักว่า โรงพยาบาลนั้นจะยังประโยชน์บำบัดทุกข์ บำรุงสุข ให้พสกนิกรและผู้อยู่ใต้ร่มพระบรมโพธิสมภาร แต่การจัดตั้งโรงพยาบาลนั้นเป็นการใหญ่ จำเป็นต้องมีคณะกรรมการเพื่อจัดการโรงพยาบาลให้สำเร็จ
กำเนิดสิ่งแรกของประเทศไทย 11
โรงเรียนอนุบาลแห่งแรกของไทย ( โรงเรียนอนุบาลที่โรงเลี้ยงเด็ก ซึ่งพระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ พระอัครชายาใน รัชกาลที่ 5 เป็นผู้ให้กำเนิด)
กำเนิดสิ่งแรกของประเทศไทย 12
ธนาคารเอกชนแห่งแรกของไทย ( แบงก์สยามกัมมาจล ปัจจุบัน คือ ธนาคารไทยพาณิชย์ )
2449 – 2475 ก่อรากฐานการธนาคารไทย
ประวัติศาสตร์หน้าแรกของธนาคารไทยพาณิชย์ ซึ่งนับเป็น สถาบันการเงินแห่งแรกของชาวสยาม นั้น เริ่มต้นขึ้นในนาม ” บุคคลัภย์ ” ( Book Club ) โดย พระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย ซึ่งขณะนั้นทรง ดำรงตำแหน่งเสนาบดี กระทรวง พระคลังมหาสมบัติในพระบาทสมเด็จพระจุลจอม เกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงตั้งพระทัยอย่างแน่วแน่ที่จะให้มีสถาบัน การเงินของสยาม เป็นฐานรองรับการเติบโตทางด้าน เศรษฐกิจการเงินของประเทศ จากการที่โลกตะวันตกได้ ขยายเส้นทางการค้าทางทะเลมาสู่ดินแดนสยามเป็นอย่างมาก ในยุคนั้น ในขั้นแรกจึงทรงริเริ่มดำเนินกิจการธนาคาร พาณิชย์เป็นการ ทดลองในนาม ” บุคคลัภย์ ” (Book Club)
ต่อมากิจการทดลองประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงมีพระบรม ราชานุญาตให้ตั้งเป็นธนาคารในนาม “บริษัท แบงก์สยาม กัมมาจล ทุนจำกัด” ( Siam Commercial Bank, Limited ) เมื่อวันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2449 ประกอบธุรกิจ ธนาคารพาณิชย์ อย่างเป็นทางการ นับตั้งแต่นั้นมาและได้ กลายมาเป็น “ต้นแบบธนาคารไทย” โดยริเริ่ม นำระบบ และ แนวคิดของการให้บริการ รับฝากเงินออมทรัพย์ และ บริการ บริการบัญชี กระแสรายวัน ( Current Account ) ถอนเงิน โดยใช้เช็คมาให้บริการ แก่ประชาชน พร้อมทั้งจัดตั้งสาขาขึ้น ทั้งในกรุงเทพฯ และภูมิภาคต่างๆ นอกจากนี้ธนาคารยังมี ส่วนร่วม ในการก่อกำเนิดและวางรากฐานสหกรณ์การเกษตร ของประเทศกำเนิดสิ่งแรกของประเทศไทย 13
โรงภาพยนตร์โรงแรกในกรุงเทพฯ ที่ฉายจอซีนีมาสโคป ( โรงภาพยนตร์ศาลาเฉลิมไทย )
ศาลาเฉลิมไทย หรือบางคนก็เรียกว่า โรงหนังเฉลิมไทย เคยตั้งอยู่บริเวณหัวมุมถนนราชดำเนินกลางกับถนนมหาชัย สร้างขึ้นเมื่อพุทธศักราช ๒๔๘๙ ในสมัยรัฐบาลจอมพลป. พิบูลสงคราม แล้วเสร็จเมื่อพุทธศักราช ๒๔๙๒
เมื่อเริ่มแรก ดำริของรัฐบาลประสงค์สร้างขึ้นเพื่อใช้เป็น โรงละครแห่งชาติ มีที่นั่งราว ๑,๒๐๐ ที่นั่งพร้อมที่นั่งชั้นบน เวทีเป็นแบบมีกรอบหน้า มีเวทีแบบเลื่อนบนราง (Wagon Stage) เพื่อความรวดเร็วในการเปลี่ยนฉาก เริ่มใช้แสดงละครเวทีอาชีพตั้งแต่เปิดใช้งาน พุทธศักราช ๒๔๙๖ จึงได้เปลี่ยนเป็นโรงภาพยนตร์ศาลาเฉลิมไทยเคยเป็นแหล่งความบันเทิงสำคัญแห่งหนึ่งของเมืองไทย ถึงแม้ไม่ใช่ โรงภาพยนตร์แห่งแรก แต่ก็สร้างความน่าตื่นตาตื่นใจได้ด้วยภาพยนตร์ทั้งจากของไทยและต่างประเทศ โปสเตอร์ขนาดยักษ์ ตั้งเด่นเชิญชวนให้เห็นได้แต่ไกล
ที่ตั้งเดิมของ ศาลาเฉลิมไทย ปัจจุบันกลายเป็น ลานพลับลามหาเจษฎาบดินทร์ โดยมีฉากหลัง เป็นวัดราชนัดดา และ โลหะปราสาท
กำเนิดสิ่งแรกของประเทศไทย 14
โลหะปราสาท องค์แรกและองค์เดียวของไทย
สถาปัตยกรรมทรงคุณค่า โลหะปราสาท องค์แรกและองค์เดียวของไทย ( http://travel.mthai.com/blog/33640.html )
กำเนิดสิ่งแรกของประเทศไทย 15
ภาพยนตร์เรื่องแรกที่ออกฉายให้ประชาชนชมครั้งแรกเรื่อง ( นางสาวสุวรรณ เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2466)
ในปี ๒๔๖๖ ครั้งรัชกาลที่ ๖ ชาวสยามพากันตื่นเต้นและยินดี เมื่อมีคณะฝรั่งนักสร้างภาพยนตร์มืออาชีพจาก ฮอลลีวู้ดสหรัฐอเมริกา เดินทางเข้ามาสยามเพื่อจัดสร้างภาพยนตร์ชนิดเรื่องบันเทิง โดยใช้เรื่องราวของชาวสยามและใช้คนไทยเป็นตัวแสดง
คณะฝรั่งจากฮอลลีวู๊ดนี้มี นายเฮนรี เอ. แมคเร (Henry A.Macrae) เป็นหัวหน้าคณะ ซึ่งทำหน้าที่เป็นทั้งผู้อำนวยการสร้าง ผู้เขียนเรื่อง และผู้กำกับการแสดง นายแมคเรได้ติดต่อขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตถ่ายภาพยนตร์ในสยาม ซึ่งได้รับพระมหากรุณาธิคุณ มีพระบรมราชานุญาต ทั้งยังโปรดเกล้าฯให้กรมรถไฟหลวง และกรมมหรสพ ร่วมงานกับนายแมคเรด้วย โดย กรมรถไฟหลวง ช่วยอำนวยความสะดวกในการหาสถานที่ถ่ายทำ การเดินทางและขนส่ง การล้างและสำเนาฟิล์มภาพยนตร์ ส่วนกรมมหรสพร่วมมือด้านผู้แสดง นายแมคเรได้แต่งเรื่องสำหรับทำภาพยนตร์ขึ้น ให้ชื่อว่า “นางสาวสุวรรณ” เป็นเรื่องอย่างนิยายความรักของหนุ่มสาวชาวสยามในสมัยนั้นกรมรถไฟหลวงได้นำออกฉายสู่สาธรณชนครั้งแรกในกรุงเทพ เมื่อวันที่ ๒๒ มิถุนายน ๒๔๖๖ ท่ามกลางความตื่นเต้นยินดีของชาวสยามที่จะได้ชม ภาพยนตร์ไทยเรื่องแรก
กำเนิดสิ่งแรกของประเทศไทย 16
โรงแรมแห่งแรกของไทย ( โรงแรมโอเรียนเต็ล ) โรงแรมที่เก่าแก่ที่สุดในเอเชีย
โรงแรมแมนดาริน โอเรียนเต็ล กรุงเทพ ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ถนนเจริญกรุง แขวงบางรัก เขตบางรัก โดยในอดีตมีชื่อว่า ” โรงแรมโอเรียนเต็ล ” โดยปัจจุบันบริหารงานโดย บริษัท OHTL จำกัด (มหาชน) (เดิมมีชื่อว่า บริษัท โรงแรมโอเรียนเต็ล (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)) เป็น โรงแรมที่เก่าแก่ที่สุดในเอเชีย และเป็นหนึ่งใน โรงแรมที่ถือว่าดีที่สุดของโลก
โรงแรมตั้งขึ้น ประมาณปี พ.ศ. 2413