ปริศนาภาพวาด ตำนานของโลก [โมนาลิซ่า] คือใครกันแน่ ??

 

 

โมนาลิซา(Mona Lisa) หรือ ลาโชกงด์ (La Gioconda, La Joconde) คือภาพวาดสีน้ำมัน สูง 77 เซนติเมตร กว้าง 53 เซนติเมตร วาดโดย เลโอนาร์โด ดา วินชี 

ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ระหว่าง พ.ศ. 2046 (ค.ศ. 1503) ถึงปี พ.ศ. 2050 (ค.ศ. 1507)

เป็นภาพที่ทั่วโลกรู้จักกันดีภาพหนึ่ง ในฐานะสุภาพสตรีที่มี รอยยิ้มอันเป็นปริศนา ที่ไม่รู้ว่า

เธอจะยิ้ม หัวเราะ หรือร้องไห้กันแน่ ปัจจุบันอยู่ในความครอบครองของรัฐบาลฝรั่งเศส และเก็บรักษาอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ลูฟร์(Musée du Louvre) กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส 



     กว่า 500 ปีมากแล้วกับคำถามที่ว่า โมนา ลิซ่า (Mona Lisa) นั่นเป็นใคร ซึ่งยังเป็น

ปริศนา และยังไม่มีคำตอบที่ชัดเจนและแน่นอน ว่าบุคคลในภาพเขียนของ ลีโอนาร์ โด ดา

วินซี่ (Leonardo da vin Ci 1452-1519) คือใครกันแน่ ภาพนี้วาดขึ้นราวๆ ค.ศ.

1503-1506 โดยแฝงรอยยิ้มที่ลึกลับ น่าเคลือบแคลง ไปด้วยปริศนามากมายลง บนใบหน้า

ของ โมนา ลิซ่า ให้ผู้คนได้นึกคิด จินตนาการกันไปต่างๆ นานา ยาวนานถึง 5 ศตวรรษ

จวบจนกระทั่งปัจจุบัน คำถามที่ผู้คนสงสัย และได้ค้นคว้าหาคำตอบกันอย่างมากมาย ก็คือ

โมนา ลิซ่า คือใคร? 

     ตามคำบอกเล่าของ "จิออร์โอ วาซารี" (Giorgio Vasari 1511-1574) จิตรกร สถาปนิก และ ผู้เขียนหนังสือเกี่ยวกับศิลปะในสมัยนั้น เขากล่าวไว้ว่า โมนา ลิซ่า ก็คือภรรยา

ของ ฟรานเชสโก เดล จิโอกอนโด ซึ่งเป็นพ่อค้าไหมที่มั่งคั่งแห่ง เมืองฟลอเรนซ์ ขณะที่ ดาวิน

ซี่ เขียนภาพนี้ซึ่งได้ใช้เวลานานถึง 4 ปี เขาได้ไปว่าจ้าง นักร้อง นักดนตรี และตัวตลกมาให้

ความบันเทิงแก่หญิงงามผู้เป็นแบบของภาพเขียน เพื่อให้เธอมีรอยยิ้มที่ปราศจากความเศร้า

หมอง อย่างไรก็ตามจากคำบรรยายของ วาซารี ก็เป็นเพียงข้อมูลจากผู้ที่ไม่เคยเห็นภาพเขียน

นี้ของ ลีโอนาร์โด แต่อย่างใด 

     จากหลักฐานอีกแหล่งหนึ่งจาก "อันโตนิโอ เดอ เบอาทิส" ผู้บันทึกปากคำของ ลีโอนาร์โดใน ค.ศ. 1517 ว่าผู้เป็นแบบในภาพคือสตรีชาว ฟลอเรนซ์ และ จูลีอาโน เดอ เมดิซี่ เป็นผู้ว่าจ้างให้เขียนภาพนี้ จากการที่ ไม่มีหลักฐานปรากฎที่แน่ชัดว่า ใครเป็นแบบให้กับ ลีโอนาร์โดวาดภาพนี้ จึงทำให้มีการตั้งข้อสันนิษฐานกันไป ต่างๆ นานา ไม่ว่าจะ -เป็น บุคคลใน ภาพอาจเป็น คอนสตันซ่า คาวารอส หรืออาจจะเป็น อิสซาเบลลา เดสเต ผู้อื้อฉาว หรืออาจเป็นภรรยาลับของ จูลีอาโน เดอ เมดิซี่ ทั้งนี้ ก็เพราะได้ปรากฎว่า มีโม นา ลิซ่า (เปลือย) หลายภาพ

ในศตวรรษที่ 16 ซึ่งเป็น ที่โด่งดังมากกับภาพเปลือยของสาวผู้นี้ 

 

 



     นอกจากนี้จากการที่ลีโอนาร์โดเองมีชื่อที่ถูกกล่าวขานกันว่าเขาเป็นพวกรักร่วม

เพศ จึงเกิดการสันนิษฐานว่า โมนา ลิซ่า ไม่ใช่ผู้หญิงแต่เป็นภาพเหมือนจำแลง เพศของ

เด็กหนุ่มรูปงามคนใดคนหนึ่ง ซึ่งศิลปินมักเลี้ยงไว้ติดสอยห้อยตามในสตูดิโอ บ้างก็มีการนำ

ภาพเหมือนของ ลีโอนาร์โดมามาเปรียบเทียบกับภาพของ โมนา ลิซ่า แล้วก็สรุปเอาดื้อๆว่าภาพเขียนอันลือชื่อนี้แท้ที่จริงคือ ภาพของ ลีโอนาร์โด ดาวิน ซี่ เองที่แปลงกาย แต่งตัวเป็นสตรีเพศ

ยิ่งไปกว่านั้นผู้ที่สนับสนุนทฤษีนี้ยังกล่าวเสริม ต่อไปว่า ลายปักขดเชือกที่รอบคอเสื้อของ โมนา

ลิซ่า คือลายเซ็นลับของ ดาวินซี่เอง เพราะในภาษาอิตาเลี่ยนคำว่า "ขดเชือก" จะตรงกับคำว่า

"วินชีเร่" (Vincire) 


     แม้ว่าบุคคลในภาพ โมนา ลิซ่า ยังเป็นสิ่งที่ถกเถียงกันอยู่ แต่ข้อมูลเกี่ยวกับผู้ครอบครองภาพนี้ยังพอมีข้อมูลอยู่บ้าง นั่นก็คือ เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า ลีโอนาร์โด ไม่ยอม

พรากจากภาพเขียนนี้ และเขาได้นำติดตัวพร้อมกับทรัพย์สินสินมีค่าอื่นๆที่เขารัก หวงแหน

ออกจากกรุงโรมเมื่อครั้งเดินทางมาที่ฝรั่งเศสเพื่อเป็นศิลปินแห่งราชสำนัก ของพระเจ้าฟราน

ซิสที่ 1 (ค.ศ. 1479-1547) ใน ค.ศ. 1517 ด้วยเหตุนี้เอง ผู้ครอบครองภาพ โมนา ลิซ่า

คนแรกก็คือกษัตริย์ฝรั่งเศส ซึ่งโปรดให้นำภาพไปประดับที่ห้องสรงในพระราชวัง ฟองแตน

โบล แต่เมื่อจักรพรรดินโปเลียนขึ้นครองราชย์ ภาพโมนา ลิซ่า จึงถูกย้ายมาพำนักในห้องพระบรรทม และมีชื่อเรียกอย่าง สนิทสนมว่า "มาดาม ลิซ่า" 

     มุมมอง ทัศนะคติ และ ความคิดเห็นความรู้สึกต่างๆ ที่มีต่อ Mona Lisa นั้นมีมากมายเหลือเกิน "จูลส์ มิเชอเลต์" ได้พรรณนาไว้ในหนังสือประวัติศาสตร์ฝรั่งเศสว่า "ภาพเขียนนี้ดึงดูดข้าพเจ้า พรํ่าเรียกข้าพเจ้า รุกรานข้าพเจ้า ซึมซาบเข้าไปในตัวข้าพเจ้า ข้าพเจ้าตรงลิ่วเข้าไปหาโดยไม่รู้สึกตัว ประดุจนกบินดิ่งเข้าไปในปากงูพิษ" นี่คือทัศนคติต่อ Mona Lisa ในศตวรรษที่ 16 ที่มองความงามในแบบอุดมคติ แต่มุมมองจากนักวิจารณ์ในศตวรรษที่ 19 กลับมองไปอีกด้านหนึ่ง โดยเฉพาะกลุ่มโรแมนติคส์ที่มองว่า โมนา ลิซ่า เป็นสตรีมรณะ (Femme fatale) หรืออีกนัยหนึ่งคือสตรีผู้ยื่นความตายแก่บุรุษ 

     สำหรับ เธโอฟิล โกติเอร์ (Theophile Gautier) โมนา ลิซ่า มิได้เป็นสาวน้อยที่มีรอยยิ้มแสนหวานงามปานกลีบกุหลาบ ตามที่วาซารีเคยพรรณนาไว้แต่จะเป็นสาววัย สามสิบที่ร่องรอยแห่งเลือดฝาด และความสดใสแห่งชีวิตเริ่มที่จะอันตรธานหายไป สีของอาภรณ์ และผ้าคลุมผม

ของเธอ ซึ่งหมองคลํ้าเพราะกาลเวลา ทำให้เธอดูเหมือนหญิงหม้ายที่แฝงไว้ด้วยความทุกข์โศก 

 

 

 

 

 

 

 

 

 
Credit: http://variety.teenee.com/world/33227.html
20 พ.ค. 56 เวลา 22:31 2,856 50
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...