ความเป็นมาของหอไอเฟล

 

 หอไอเฟลเป็นที่รู้จักกันว่าเป็นสัญลักษณ์ของประเทศฝรั่งเศส หากใครที่ได้ไปเมืองน้ำหอมแล้วไม่ได้ไปดูหอไอเฟลนี้เรียกว่ายังไปไม่ถึงก็อาจจะเป็นได้ นักท่องเที่ยวมากมายก็สนใจไปดูหอไอเฟลนี้แต่จะมีสักกี่คนที่รู้ว่าประวัติความเป็นมาของเจ้าหอไอเฟลนี้ งั้นเราไปทำความรู้จักกับประวัติความเป็นของหอไอเฟลกันค่ะ
           หอไอเฟลเป็นหอคอยเหล็กตั้งอยู่ที่ Champ de Mars ในกรุงปารีส เมืองหลวงของประเทศฝรั่งเศส หอคอยแห่งนี้เป็นเสมือนสัญลักษณ์ของประเทศฝรั่งเศส และเป็นหนึ่งในสิ่งปลูกสร้างที่มีชื่อเสียงที่สุดในโลก

           หอคอยแห่งนี้ถูกตั้งชื่อตามผู้ออกแบบคือ Gustave Eiffel ทำการสร้างในระหว่างปี 1887-1889 น้ำหนักของหอไอเฟลคือ 7300 ตัน ยอดของหอคอยสามารถเบนออกจากแสงอาทิตย์ที่ส่องมายังยอดหอคอยถึง 18 เซ็นติเมตร (7นิ้ว) ทั้งนี้ขึ้นอยูกับอุณหภูมิของเหล็กด้านที่หันหน้าเข้าสู่แสงอาทตย์ซึ่งจะ ขยายตัวเนื่องจากความร้อนที่ได้รับ นอกจากนี้ตัวหอคอยแห่งนี้ยังมีการแกว่งตัวตามแรงลมอีกด้วย โดยการแกว่งตัวอยู่ที่ระดับ 6-7 เซ็นติเมตร (2-3นิ้ว)

           ในการก่อสร้างหอคอยแห่งนี้ ใช้คนงานก่อสร้างถึง 300 คน เพื่อประกอบเหล็กจำนวน 18038 ชิ้นเข้าด้วยกัน โดยใช้หมุดถึง 2.5 ล้านตัว ความเสียงที่จะเกิดอุบัติเหตุระหว่างการก่อสร้างสูงมาก เนื่องจากหอไอเฟลแตกต่างจากตึกสูงในปัจจุบันตรงที่เป็นหอเปลือย ไม่มีจำนวนชั้น อย่างไรก็ตามมีการเตรียมตัวรักษาความปลอดภัยในการก่อสร้างอย่างเต็มที่ ทำให้มีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุในการก่อสร้างเพียงคนเดียวเท่านั้น(จริงอ่ะป่าวเนี่ย)

           ในระหว่างการก่อสร้าง หอไอเฟลถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักถึงรูปร่างของหอคอย Gustave Eiffel ถูกกล่าวหาว่าพยายามสร้างงานศิลปะที่ดูแล้วไม่มีศิลปะ การก่อสร้างให้หอคอยแกว่งตัวได้ไม่คำนึงถึงหลักวิศวกรรมศาสตร์(แต่เราว่ามันก็สวยดีนะ) แต่อย่างไรก็ตาม Gustave Eiffel ซึ่งมีชื่อเสียงมาจากงานก่อสร้างสะพาน กลับเป็นผู้ที่เข้าใจความสำคัญของแรงลม และเป็นผู้ที่รู้ว่าการก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างที่สูงที่สุดในโลก(ในขณะนั้น) จะต้องแน่ใจว่ามันต้องต้านทานลมได้ และในตอนต้นศตวรรษที่ 20 หอไอเฟลถูกใช้เป็นศูนย์รับส่งสัญญานวิทยุ เมื่อปี 1909 ศูนย์วิทยุถูกก่อสร้างขึ้นอย่างถาวรที่หอไอเฟล และยังปรากฎให้เห็นในปัจจุบัน



  


 



     

Credit: http://board.postjung.com/678264.html
16 พ.ค. 56 เวลา 12:25 2,816 30
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...