ไทยกับสงครามอินโดจีน

 

 

 

 

 

 

ฝรั่งเศสเข้าคุกคามไทยในปี ค.ศ. 1907 และได้ยึดดินแดนของไทยไปทั้งหมด 5 ครั้งทำให้ไทยเสียดินแดน คิดเป็นพื้นที่ 467,500 ตารางกิโลเมตร ได้แก่ ประเทศลาวและเขมรในปัจจุบัน ทำให้ดินแดนของไทยลดลงไปครึ่งประเทศ



โดยในวันที่ 8 ตุลาคม ค.ศ. 1940 นิสิตนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประมาณ 8,000 คน เดินขบวนครั้งใหญ่สนับสนุนรัฐบาลไทยในการเรียกร้องดินแดนคืนจากฝรั่งเศส หลังจากนั้น วันที่ 12 ตุลาคม ค.ศ. 1940 ประชาชนชาวไทยอีกกว่า 50,000 คน พากันเดินขบวนและรวมตัวกันที่ท้องสนามหลวงเพื่อสนับสนุนรัฐบาลพลตรีหลวงพิบูลสงครามให้เอาดินแดนที่เสียไปคืนมา



รัฐบาลพลตรีหลวงพิบูลสงคราม เห็นด้วยกับประชาชน และได้เรียกร้องให้ฝรั่งเศสคืนดินแดนที่ไทยเสียไปกลับคืนมา แต่ทว่า รัฐบาลฝรั่งเศสได้ปฏิเสธข้อเรียกร้องของไทย และเริ่มการคุกคามไทยด้วยการยิงปืนใหญ่จากฝั่งแม่น้ำโขงเข้ามายังดินแดนของไทยและส่งเครื่องบินรุกล้ำน่านฟ้าของไทยตลอดเวลา โดยทางฝ่ายไทยยังไม่ได้ตอบโต้แต่ก็เตรียมพร้อมที่จะรับมือกับฝรั่งเศส 

 


ในวันที่ 25 พฤศจิกายน ค.ศ. 1940 รัฐบาลไทยภายใต้การนำของหลวงพิบูลสงครามจัดตั้งกองทัพเพื่อต่อสู้กับฝรั่งเศส 2 กองทัพ กับกองพลสนามอิสระ อีก 1 กองพล เพื่อรับมือกองทัพฝรั่งเศสซึ่งกำลังจะบุกเข้ามายังไทย



ในวันที่ 28 พฤศจิกายน ค.ศ. 1940 ฝรั่งเศสส่งเครื่องบินมาทิ้งระเบิดที่จังหวัดนครพนม ทำให้ประชาชนไทยบาดเจ็บ กองทัพไทยได้ส่งกองทัพอากาศเข้าโจมตีฝรั่งเศส เพื่อเป็นการตอบโต้ 

กองทัพบกฝรั่งเศสยกทัพเข้ามาประชิดชายแดน จังหวัดสุรินทร์ อุบลราชธานี และจังหวัดหนองคาย โดยทางไทยถือว่า การเคลื่อนไหวของกองทัพฝรั่งเศสในครั้งนี้เป็นการคุกคามอธิปไตยของชาติไทยอย่างร้ายแรง



หลังจากนั้นกองบัญชาการทหารสูงสุดได้ออกประกาศ ฉบับที่1/2483 มีใจความว่า

"เรื่อง ให้พี่น้องชาวอินโดจีนระวังภัยจากการทิ้งระเบิด

ขอให้พี่น้องชาวอินโดจีนในปกครองของฝรั่งเศสทราบทั่วกันว่า เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน เวลา 08.00 นาฬิกา เครื่องบินฝรั่งเศส 5 เครื่อง ได้บินมาทิ้งระเบิดที่จังหวัดนครพนม ทำให้ประชาชนบาดเจ็บ 6 คน การรุกรานของฝรั่งเศสในอินโดจีนคราวนี้ เป็นการกระทำอย่างผิดศีลธรรมด้วยประการทั้งปวง ฉะนั้น เพื่อความปลอดภัยของพี่น้องทั้งหลาย กองทัพอากาศจะได้ทำการตอบแทนแก่คนฝรั่งเศสในอินโดจีนบ้าง โดยจะได้ไปทิ้งระเบิดยังกองบัญชาการ และที่พักอาศัยซึ่งมีทหารชาติฝรั่งเศสอยู่ทั่วไป

ฉะนั้น ขอแจ้งให้พี่น้องชาวอินโดจีนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง ได้ออกไปอยู่ห่างจากตำบลที่คนฝรั่งเศสอยู่ และอย่าได้เข้าอยู่ใกล้คนฝรั่งเศสเป็นอันขาด เพราะจะพลอยเป็นอันตรายไปด้วย"

หลังเสร็จสิ้นการประกาศ กองทัพไทยจากกองพลพายัพได้เคลื่อนกำลังจากแนวชายแดนด้านติดลาวกับด้านที่ติดกับกัมพูชา เข้าไปจู่โจมกองทัพอินโดจีนของฝรั่งเศสอย่างดุเดือด



ในวันที่ 6 มกราคม ค.ศ. 1941 กองทัพไทยที่จัดตั้งขึ้่นเริ่มทำการรบกับฝรั่งเศส โดยบุกเข้าไปทางกัมพูชา จำปาศักดิ์ เวียนจันทน์ และสุวรรณเขต อีกทั้งกองทัพไทยยังสามารถ เข้ายึดหลวงพระบาง เมืองหลวงของลาวเอาไว้ได้ หลังจากนั้นฝั่งซ้ายทั้งหมดของแม่น้ำโขงก็ตกอยู่ภายใต้การยึดครองของไทย ส่วนการรบทางด้านตะวันออก กองทัพไทยสามารถตรึงทหารฝรั่งเศสตรงพรมแดนไว้ไม่ให้บุกเข้ามา แล้วรุกไล่กองทัพฝรั่งเศสให้เข้าไปในดินแดนของฝรั่งเศส และเข้ายึดปอยเปตไว้ได้ ภายหลังที่ยึดปอยเปตไว้ได้แล้ว ฝรั่งเศสส่งเครื่องบินทิ้งระเบิดมาทิ้งระเบิดที่กองบัญชาการไทยแต่ไม่เกิดผล 



หลังจากการต่อสู้อย่างดุเดือดระหว่างไทยกับฝรั่งเศส เป็นเหตุให้ฝ่ายฝรั่งเศสต้องตกเป็นฝ่ายเสียเปรียบในการรบในอินโดจีน ดังนั้น กองทัพฝรั่งเศสจึงได้ส่งเครื่องบินทิ้งระเบิดที่จังหวัดนครพนมอย่างหนัก ในวันที่ 17 มกราคม 1941 ไทยได้ส่งเครื่องบินเข้าต่อสู้อย่างอาจหาญจึงสามารถป้องกันจังหวัดนครพนมไว้ได้ พร้อมทั้งกองทัพอากาศไทยได้ส่งเครื่องบินทิ้งระเบิดได้เข้าไปทิ้งระเบิดฐานที่มั่นของฝรั่งเศสเพื่อเป็นการตัดกำลังของฝรั่งเศส



กองทัพเรือของฝรั่งเศสที่ประจำอยู่ที่อินโดจีน ได้เข้าปะทะกับ ราชนาวีไทยตรงบริเวณเกาะช้างในวันที่ 17 มกราคม 1941 เรือลาดตระเวนลามอตต์-ปิเกต์ ของฝรั่งเศสระดมยิงเรือรบหลวงธนบุรีของไทยเสียหาย แต่ก็ไม่จมจึงพ้นภัยข้าศึกมาได้ และข้าศึกก็ไม่อาจรุกล้ำอธิปไตยของไทยได้อีกด้วย นับว่า "ยุทธการแห่งเกาะช้าง" ครั้งนั้นสร้างเกียรติประวัติให้แก่ราชนาวีไทยเป็นอย่างยิ่ง นอกจากเรือรบหลวงธนบุรี ก็ยังมีเรือรบจากราชนาวีไทยอีกหลายลำที่ได้ออกรบกับเรือลาดตระเวนลามอตต์-ปิเกต์ อาทิเช่น เรือรบสงขลา และเรือรบชลบุรี ซึ่งทำการต่อสู้กับกองเรือรบของฝรั่งเศสอย่างห้าวหาญ เป็นเหตุให้กองทัพเรือของฝรั่งเศสต้องถอนทัพออกจากอ่าวไทยไป 
 

 

 




ในระหว่างการรบ ฝ่ายไทยเป็นฝ่ายยึดพื้นที่ในอินโดจีนไว้ได้หลายจุด ญี่ปุ่นซึ่งกำลังเป็นมหาอำนาจอยู่ในเอเชีย ได้เสนอตัวเข้ามาเป็นผู้ไกล่เกลี่ยให้ไทยกับฝรั่งเศสเลิกรบแล้วหันมาทำการเจรจากัน รัฐบาลไทยกับฝรั่งเศสตอบตกลงตามข้อเสนอของญี่ปุ่น และหยุดยิงในวันที่ 28 มกราคม 1941



อนุสัญญาโตเกียว

เมื่อมีการหยุดยิงกันแล้ว มีการจัดตั้งคณะกรรมการขึ้นมา 2 คณะ คณะหนึ่งทำหน้าที่เจรจากับผู้แทนฝรั่งเศสบนเรือลาดตระเวนนาโตริที่ไซ่ง่อนในวันที่ 29 มกราคม 1941 อีกคณะหนึ่งมีกรมหมื่นนราธิปพงษ์เป็นหัวหน้าคณะเดินทางไปเจรจาสันติภาพกับฝรั่งเศสที่โตเกียว ในวันที่ 9 พฤษภาคม 1941 และได้ลงนามในอนุสัญญาโตเกียวกับผู้แทนฝรั่งเศส

จากอนุสัญญาโตเกียวนี้ ไทยได้ดินแดนต่างๆกลับคืนมาดังนี้
1. ดินแดนฝั่งขวาของหลวงพระบาง
2. จำปาศักดิ์
3. ศรีโสภณ
4. พระตะบอง
5. ดืนแดนในกัมพูชา

โดยหลังจากนั้นไทยได้นำดินแดนที่ได้มาตั้งเป็น 4 จังหวัดดังนี้
1. จังหวัดพระตะบอง
2. จังหวัดพิบูลสงคราม
3. จังหวัดจำปาศักดิ์
4. จังหวัดล้านช้าง

เป็นอันว่าสงครามครั้งนี้ทำให้ไทยได้ดินแดนที่โดนฝรั่งเศสขโมยไปเมื่อปี ค.ศ. 1904

บุคคลที่นำความสำเร็จมาให้กับประเทศไทยมีรายชื่อดังนี้
1. พลตรีหลวงพิบูลสงคราม
2. กรมหมื่นนราธิปพงษ์
3. นาย ควง อภัยวงศ์
4. หลวงพรมหมโยธี
5. พันเอกประเสริฐ สุดบรรทัด 

 

 

 



ปราสาทเขาพระวิหาร หรือ ศรีศิขเรศวร เป็นศาสนสถานขนาดใหญ่ตั้งอยู่บนเทือกเขาพนมดงรักกั้นระหว่างแผ่นดินเขมรต่ำ กลุ่มเมืองพระนคร และเขมรสูงในภาคอีสานของไทย สร้างขึ้นก่อนนครวัดถึง100 ปีอยู่ในจังหวัดพระวิหาร ของกัมพูชา ติดชายแดนไทย ที่อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ

กล่าวกันว่าสร้างเพื่อการแสดงอำนาจของกษัตริย์แห่งเมืองพระนคร ที่มีความเชื่อถือในเรื่องเทวราชา อันหมายถึงกษัตริย์คืออวตารหนึ่งของเทพเจ้าในศาสนาฮินดู เป็นศูนย์รวมแห่งคติความเชื่อ คือการสร้างมหาปราสาทประดิษฐานศิวลึงค์ อันเป็นสัญลักษณ์แทนพระศิวะและพระมหากษัตริย์

เมื่อปี พ.ศ.2483 เกิดสงครามอินโดจีนฝรั่งเศสอ่อนแอ รัฐบาลไทยภายใต้การนำของจอมพล ป.พิบูลสงครามได้เรียกร้องให้มีการปรับปรุงพรมแดนไทย-อินโดจีน เป็นให้ไทยได้ 4 จังหวัดฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงครอบครอง พ.ศ.2487เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติ ไทยต้องปรับตัวเองมิให้เป็นประเทศแพ้สงคราม จึงต้องคืนดินแดนที่ได้มาแก่ฝรั่งเศสไปรวมทั้งเขาพระวิหาร

พ.ศ.2502 รัฐบาลกัมพูชานำด้วยสมเด็จพระนโรดมสีหนุยื่นฟ้องต่อศาลโลกที่กรุงเฮกประเทศ เนเธอร์แลนด์ว่าปราสาทเขาพระวิหารเป็นของกัมพูชา พ.ศ.2505 ศาลโลกมีมติ 9 ต่อ 3 ให้เฉพาะตัวปราสาทเขาพระวิหารเป็นของกัมพูชา และพื้นที่เป็นของไทย
 

Credit: http://board.postjung.com/677973.html
16 พ.ค. 56 เวลา 07:16 3,481 1 90
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...