นักประดิษฐ์ที่น่าสงสาร

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 Henry winstanley เกิดที่แซฟฟรอน วอลเดน, เอสเซ็ก เข้ารับศีลจุ่มเมื่อวันที่ 31 มีนาคม ค.ศ. 1644 บิดาของเขาเป็นผู้ดูแลที่ดินให้เอิร์ลแห่งซัฟโฟล์ก เจ้าของอัดลีย์เอนด์ เฮาส์ ใน ค.ศ. 1652 เฮนรีซึ่งอยู่ในวัยเด็กก็ทำงานที่อัดลีย์เอนด์ในตำแหน่งคนเฝ้าประตู จากนั้นก็ได้เป็นเลขานุการ วินสแตนลีย์มีความสนใจในวิชาแกะสลักหลังจากเยือนยุโรปในช่วง ค.ศ.1669-1674 หลังจากนั้นสองปีคือ ค.ศ. 1676  เขาก็ลงมือออกแบบและทำงานแกะสลักงานสถาปัตยกรรมที่ อัดลีย์เอนด์ 

ซึ่งใช้เวลานานถึงสิบปีกว่าจะเสร็จสมบูรณ์และสถานที่นั้นก็กลายเป็นคฤหาสน์ขุนนางหลังแรกๆ ที่แกะสลักอย่างสวยงาม  นอกจากนี้ เขายังออกแบบไพ่ ซึ่งปรากฏว่าได้รับความนิยมระหว่างนี้วินสแตนลีย์ก็ยังคงทำงานเสมียนที่ อัดลีย์เอนด์ 

โดยรับช่วงงานมาจากพ่อของเขาจนถึง ค.ศ. 1701 วินสแตนลีย์ได้รับมอบหมายให้ทำงานก่อสร้างประภาคาร จนกระทั่งเขาได้สร้างแล้วเสร็จในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1698 หลังจากก่อสร้างเสร็จก็เข้าสู่ฤดูหนาวที่ทำให้ตัวประภาคารเสียหาย แสงจากประภาคารก็ขมุกขมัว จึงต้องมี การบูรณะกันใหม่ในช่วงฤดูใบไม้ผลิ โดยขยายประภาคารให้ใหญ่ขึ้น และมีการประดับตกแต่งมากขึ้น วินสแตนลีย์ได้รับชื่อเสียงและความเชื่อถือเป็นอย่างมาก  เขามีความปรารถนาจะอยู่ในประภาคารในระหว่างที่เกิดพายุใหญ่ และในที่สุดความปรารถนาของเขาก็เป็นจริงในคืนวันที่ 27 พฤศจิกายน ค.ศ. 1703 เกิดพายุใหญ่ซึ่งคร่าชีวิตผู้คนไปกว่า 8,000 คน  รวมทั้งสร้างความเสียหายต่างๆ วินสแตนลีย์ไป ที่ประภาคารเพื่อทำการซ่อมแซม พายุพัดจนประภาคารพัง  รวมถึงจบชีวิตของผู้สร้างมันขึ้น  มีการสร้างประภาคารขึ้นใหม่แทนที่ประภาคารเก่าที่พัง หลังแรกเป็นไม้ ต่อมาเป็นคอนกรีต ปัจจุบันประภาคาร เอดดีสโตน เป็นประภาคารหลังที่ห้า ลักษณะหอคอยดูขึงขัง สร้างจากคอนกรีต ทาสี เหลืองอ่อน สร้างเสร็จเมื่อ ค.ศ.1882 ความสูง 180 ฟุตเหนือระดับน้ำทะเล 

 
Henry Smolinski  เป็นวิศวกรของ Northrop ที่ผ่านการฝึกอบรมมาอย่างดี เขาลาออกจากงานเพื่อที่จะเริ่มต้นวิศวกรยานยนต์ขั้นสูง เขามุ่งมั่นที่จะสร้างรถที่บินได้  ในปี 1973  เขาได้สร้างรถต้นแบบคนแรกของโลก  โดยการหลอมรวมท้ายของเครื่องบินเซสนา Skymaster กับ รถฟอร์ด Pinto
 
Henry Smolinski  ได้รับการมอบหมายสำหรับการผลิตสำหรับตลาดค้าปลีกในปีหน้า แต่เมื่อ 11 กันยายน 1973 เขาก็ได้ทำการบินทดสอบรถต้นแบบกับนักบินแฮโรลด์เบลคและได้ประสบอุบัติเหตุและเสียชีวิตพร้อมกับนักบินในการทดสอบรถต้นแบบ คณะกรรมการแห่งชาติความปลอดภัยการขนส่งได้ระบุว่ารอยเชื่อมของรถและของเครื่องบินได้มีปัญหาทำให้เกิดเหตุการณ์ และฟอร์ดก็มีความผิดสำหรับอุบัติเหตุในครั้งนี้ด้วย
 
 
Franz Reichelt เป็นช่างตัดเสื้อชาวออสเตียที่มีความคิดประดิษฐ์ชุดแปลกๆเหมือนร่มชูชีพลูกผสม โดยเขาบอกว่าชุดนี้สามารถให้ผู้สวมใส่ร่อนบนพื้นได้อย่างปลอดภัยแม้ว่าจะตกจากที่สูง(หรือแม้กระทั่งบินได้) แต่คนที่ดูแล้วมันเหมือนกับพวกรุ่มร่ามคนบ้าหลุดจากโรงพยาบาลบ้ามากกว่า และเมื่อเห็นคนดูถูกเป็นจำนวนมาก เขาเลยสวมชุดที่ว่านี้ทดสอบ Reichelt เชื่อว่าเขาไม่มีสถานที่ที่สูงพอที่จะใช้ทดสอบ จึงยังไม่ประสบความสำเร็จเสียที เขาจึงทำเรื่องขออนุญาตจากทางการตำรวจปารีสเพื่อทำการทดลองที่หอไอเฟล  
 
ในที่สุดเขาก็ได้รับอนุมัติให้ทำการทดลองในช่วงต้น ค.ศ 1912 (พ.ศ. 2455) และในวันที่ 4 กุมภาพันธ์ วันทำการ ทดลอง เขาก็ตัดสินใจสวมชุดและทดสอบด้วยตนเอง แทนที่จะใช้หุ่น ในวันนั้นมีสื่อมวลชนมาทำข่าว และมีประชาชนมาเฝ้าดูกันอย่างหนาแน่น แม้เพื่อนๆ และผู้มาชมจะห้ามไม่ให้เขาทำการทดสอบ แต่ก็ไม่สำเร็จ  Reichelt กระโดดลงจากแท่นทดสอบแท่นแรกของหอไอเฟล ที่ระดับความสูง 60 เมตร ปรากฏว่าชุดชูชีพไม่กาง ร่าง Reichelt กระแทกพื้นอย่างจัง เขาเสียชีวิตทันทีวันต่อมา หนังสือพิมพ์ต่างพากันลงข่าว เรื่องราวของนักประดิษฐ์ผู้บุ่มบ่าม  ผู้เสียชีวิตจากผลงานของตนเอง
 
 
Thomas Midgley Jr. นักเคมีผู้ค้นพบสารเคมีที่นำมาทำประโยชน์ แต่เกิดโทษในท้ายที่สุด 
แต่สิ่งที่ทำให้เขาเสียชีวิตกลับเป็นกลไกช่วยชีวิตที่เขาประดิษฐ์ขึ้น มิดจ์ลีย์ได้รับมอบหมายให้หาวิธีการกำจัดเสียงน็อกที่เกิดขึ้นในเครื่องยนต์หลังจาก ทำวิจัยอยู่หลายปี มิดจ์ลีย์ค้นพบว่า การเติมเตตระเอทิลเลด  (สารตะกั่ว) ลงในน้ำมันจะกำจัดเสียงน็อกของเครื่องยนต์ได้   แต่ก็โชคร้ายที่ว่าตะกั่วทำให้เกิดตะกอนมาเกาะที่วาล์วของเครื่องยนต์ ทำให้เครื่องหยุดเดินได้ มิดจ์ลีย์จึงเติมเอทิลีนไดโบรไมด์ลงไปยังเครื่องยนต์เอทิล ซึ่งจะป้องกันการเกิดตะกอนตะกั่วได้ 
 
 แต่โชคร้ายที่ใน ค.ศ. 1941 (พ.ศ. 2484) ขณะอายุได้ 51 ปี มิดจ์ลีย์ป่วยเป็นโปลิโอ ทำให้เขากลายเป็นผู้พิการ 
นี่เป็นเหตุให้เขาคิดประดิษฐ์ระบบเชือกและรอกที่จะช่วยยกตัวเขาออกจากเตียง แต่ระบบที่เขาประดิษฐ์ขึ้นมาก็ทำให้เขาเสียชีวิต เนื่องจากเชือกเข้ามาพันตัวเขาจนทำให้หายใจไม่ออกและเสียชีวิตในที่สุด  สิริรวมอายุได้ 55 ปี ผลงานตลอดชีวิตของเขามีการจดสิทธิบัตรไว้ถึง 170  เรื่อง โดยเรื่องของน้ำมันเอทิล และสารคลอโรฟลูออโรคาร์บอนที่ใช้เป็นสารทำความเย็นเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่เป็นที่รู้จักมากที่สุด
 
 
Marie Curie เป็นนักฟิสิกส์และนักเคมีชาวโปแลนด์ ซึ่งเปลี่ยนสัญชาติเป็นฝรั่งเศส 
เธอเป็นผู้บุกเบิกในสาขาวิชากัมมันตรังสี และเป็นบุคคลแรกที่ได้รับรางวัลโนเบลถึงสองครั้งในสาขาฟิสิกส์และสาขาเคมี
ตามลำดับ และถือเป็นผู้หญิงคนแรกที่ได้ตำแหน่งศาสตราจารย์ประจำมหาวิทยาลัยปารีสอีกด้วย แต่ในท้ายที่สุดก็จบชีวิตลงจากผลงานการค้นพบของเธอนั่นเอง มาดามกูรีเสียชีวิตในวันที่ 4 กรกฎาคม ค.ศ. 1934 (พ.ศ. 2477) ที่ปารีส จากอาการโรคโลหิตจางเนื่องจากเม็ดเลือดไม่เจริญ ซึ่งเป็นที่แน่นอนว่า เกิดจากการได้รับรังสี ซึ่งในสมัยนั้นยังไม่ทราบว่าเป็นอันตราย
 
 ผลงานของเธอส่วนใหญ่ก็เก็บไว้ในที่เก็บซึ่งไม่มีการตรวจวัดปริมาณรังสี มาดามกูรีก็มักจะนำหลอดทดลองใส่สารกัมมันตรังสีไว้ในกระเป๋าหรือไม่ก็เก็บไว้ที่ลิ้นชักโต๊ะสารกัมมันตรังสีเหล่านี้ก็ส่งแสงเรืองสีเขียวแกมน้ำเงินในความมืด มีการตรวจวัดปริมาณรังสีในรายงานการทดลองของมาดามกูรีที่ทำในช่วงทศวรรษ  1890 พบว่า รายงานเหล่านั้นปนเปื้อนรังสีในระดับอันตราย  แม้แต่ตำราอาหารก็ปนเปื้อนกัมมันตรังสี จึงต้องเก็บเอกสารเหล่านี้ไว้ในกล่องตะกั่ว ใคร ที่อยากจะศึกษาผลงานต่างๆ ของเธอก็ต้องใส่ชุดป้องกันรังสีอย่างดี
 
 
Abakovsky เป็นนักประดิษฐ์ชาวรัสเซียที่เสียชีวิตจากสิ่งประดิษฐ์ของเขา เมื่อสิ่งประดิษฐ์ความเร็วสูงเครื่องยนต์รถไฟ Aerowagon ของเขาตกรางในขณะที่วิ่งทดสอบได้เกิดข้อผิดพลาดและพรากชีวิตของ Abakovsky และคนอื่นๆอีกห้าคน รถไฟ Aerowagon มีเครื่องมือสำหรับเครื่องบินและใบพัดและถูกออกแบบมาเพื่อดำเนินการขนส่งเจ้าหน้าที่โซเวียตไปและกลับจากกรุงมอสโก รถไฟ Aerowagon ของ Abakovsky ทำงานได้ดีในขาออก แต่เกิดอุบัตติเหตุชนระหว่างมันกลับไปเมืองหลวง โดยในขณะนั้น Abakovsky มีอายุแค่เพียง 26 ปี
Credit: http://board.postjung.com/675090.html
14 พ.ค. 56 เวลา 15:01 2,102 80
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...