10 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ "โจนออฟอาร์ก"

แหล่งที่มา : wikipedia

10. ครอบครัว

ฌานเป็นบุตรีของฌาคส์ ดาร์กและอิสซาเบลลา โรเม ในหมู่บ้านโดมเรมี (Domrémy) ที่ขณะนั้นเป็นส่วนหนึ่งของดัชชีบาร์ ที่ดินทำการเกษตรกรรมราว 50 เอเคอร์ (0.2 ตารางกิโลเมตร) บิดามีรายได้เพิ่มจากการมีหน้าที่เก็บภาษีและเป็นยามในหมู่บ้าน ที่ตั้งของที่ดินของครอบครัวดาร์กอยู่ในบริเวณทางด้านตะวันออกเฉียงเหนือที่ล้อมรอบโดยดินแดนเบอร์กันดีแต่เป็นหมู่บ้านที่มีความจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ฝรั่งเศส หมู่บ้านที่โจนเติบโตขึ้นมาก็ถูกรุกรานหลายครั้งและครั้งหนึ่งถึงกับถูกเผา

9. ถูกจับ

หลังจากการล้อมเมืองชาริเต-เซอร์-ลัวร์ (Siège de La Charité) ในเดือนพฤศจิกายนและเดือนธันวาคมแล้ว ฌานก็เดินทัพต่อไปยังคองเพียญน์ (Compiègne) ในเดือนเมษายนต่อมาเพื่อป้องกันจากการถูกล้อมเมือง (Siège de Compiègne) โดยฝ่ายอังกฤษและเบอร์กันดี แต่การต่อสู้อย่างประปรายเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม ค.ศ. 1430 นำไปสู่การจับกุมของฌาน เมื่อมีคำสั่งให้ถอยฌานก็ปฏิบัติตัวอย่างผู้นำโดยเป็นบุคคลสุดท้ายที่ทิ้งสนามรบ ฝ่ายเบอร์กันดีเข้าล้อมกองหลัง ฌานต้องลงจากหลังเพราะถูกโจมตีโดยกองขมังธนูและตอนแรกก็มิได้ยอมจำนนทันที ตามธรรมเนียมของสมัยกลางการจับกุมเชลยสงคราม (prisonnier de guerre) เป็นการจับกุมแบบเรียกค่าไถ่ แต่ครอบครัวของฌานเป็นครอบครัวที่ยากจนจึงไม่สามารถหาเงินมาไถ่ตัวฌานจากที่คุมขังได้ นักประวัติหลายคนประณามพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 7 ที่ไม่ทรงเข้ายุ่งเกี่ยวกับการช่วยเหลือฌานในกรณีนี้ ฌานเองพยายามหลบหนีหลายครั้งๆ หนึ่งโดยการกระโดดจากหอที่สูงจากพื้นดินราว 21 ที่แวร์ม็องดัว (Vermandois) ลงไปบนดินที่หยุ่นของคูเมืองแต่ไม่สำเร็จ หลังจากนั้นก็ถูกย้ายตัวไปเมืองอาร์ราส (Arras) ในเบอร์กันดี และในที่สุดรัฐบาลอังกฤษก็ขอซื้อตัวโจนจากฟิลลิปเดอะกูด โดยมีปีแยร์ โคชง (Pierre Cauchon) บิชอปแห่งโบเวส์ (Beauvais) ผู้เป็นผู้ฝักฝ่ายฝ่ายอังกฤษตั้งตนเป็นผู้มีบทบาทในการเจรจาต่อรองซื้อตัวและต่อมาในการพิจารณาคดีของโจน

8. เครื่องแต่งกาย

ฌาน ดาร์กแต่งกายอย่างบุรุษตั้งแต่ออกจาก Vaucouleurs ไปจนถึงการพิจารณาคดีที่รูอ็อง ซึ่งเป็นการทำให้เกิดการตั้งข้อสงสัยในทางคริสต์ศาสนวิทยาในสมัยของฌานเองและต่อมาอีกในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ซึ่งเหตุผลหนึ่งของการถูกประหารชีวิตอ้างว่ามาจากการขัดกับกฎการแต่งกายจากพระคัมภีร์ ในการประกาศว่า “การพิจารณาคดีกล่าวหา” เป็นโมฆะ ส่วนหนึ่งก็เป็นเพราะคดีแรกไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าข้อกล่าวหานี้ค้านกับพระคัมภีร์ ถ้ากล่าวกันตามกฎหมายศาสนจักรแล้ว การแต่งตัวเป็นชายผู้รับใช้ (page) ของโจนระหว่างการเดินทางฝ่าดินแดนของศัตรูเป็นการกระทำเพื่อสร้างความปลอดภัยให้แก่ตนเอง รวมทั้งการสวมเกราะในระหว่างการยุทธการก็เช่นกัน “บันทึกของปูเซลล์” (Chronique de la Pucelle) กล่าวว่าเป็นการกระทำเพื่อการป้องกันการถูกกระทำมิดีมิร้ายขณะที่ต้องหลับนอนกลางสนามรบ นักบวชผู้ให้การในการพิจารณาคดีครั้งที่สองสนับสนุนว่าฌานยังคงแต่งกายอย่างบุรุษในขณะที่ถูกจำขังเพื่อป้องกันตัวจากการถูกกระทำมิดีมิร้ายหรือจากการถูกข่มขืน ส่วนการรักษาพรหมจรรย์ก็เป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่สนับสนุนการแต่งกายสลับเพศ (crossdressing) การแต่งกายเช่นนั้นเป็นการกันการถูกทำร้ายในฐานะที่เป็นสตรีและในสายตาของผู้ชายก็ทำให้ไม่เห็นว่าฌานเป็นเหยื่อในทางเพศ (sex object) ระหว่างการพิจารณาคดีครั้งแรกโจนให้การเกี่ยวกับประเด็นนี้โดยอ้างถึงการสืบสวนที่ปัวตีเย บันทึกการสืบสวนที่ปัวตี...ูญหายไปแล้วแต่จากหลักฐานแวดล้อมบ่งว่านักบวชปัวติเยร์ยอมรับการปฏิบัติเช่นนั้นของฌาน หรือถ้าจะตีความหมายก็อาจจะกล่าวได้ว่าโจนมีหน้าที่ที่จะดำเนินงานที่เป็นของบุรุษฉะนั้นจึงเป็นการสมควรที่จะแต่งตัวให้เหมาะสมกับสถานะการณ์ นอกจากการแต่งตัวเป็นบุรุษแล้วโจนก็ยังตัดผมสั้นระหว่างการรณรงค์และขณะที่ถูกจำขัง ผู้สนับสนุนโจนเช่นนักคริสต์ศาสนวิทยาฌอง เชร์ซอง (Jean Gerson) และผู้ไต่สวนเบรฮาลในการพิจารณาคดีครั้งหลังสนับสนุนการกระทำเช่นที่ว่าว่าเป็นสิ่งที่สมควรทำ

7. ประหาร

ความผิดในการนอกรีตเป็นความผิดที่มีโทษถึงตายสำหรับผู้ปฏิบัติซ้ำสอง ฌานยอมแต่งตัวอย่างสตรีเมื่อถูกจับแต่สองสามวันต่อมาก็ถูกข่มขืนในที่จำขัง ฌานจึงกลับไปแต่งตัวเป็นผู้ชายอีกซึ่งอาจจะเป็นการทำเพื่อเลี่ยงการถูกทำร้ายในฐานะที่เป็นสตรีหรือตามคำให้การของฌอง มาส์เซอที่กล่าวว่าเสื้อผ้าของโจนถูกขโมยและไม่เหลืออะไรไว้ให้สวม พยานผู้เห็นเหตุการณ์บรรยายการประหารชีวิตโดยการเผาทั้งเป็นเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม ค.ศ. 1431 ว่าฌานถูกมัดกับเสาสูงหน้าตลาดเก่าในรูอ็อง ฌานขอให้บาทหลวงมาร์แต็ง ลาด์เวนู และบาทหลวงอิแซงบาร์ต เด ลา ปิแยร์ถือกางเขนไว้ตรงหน้า หลังจากที่ฌานเสียชีวิตไปแล้วฝ่ายอังกฤษกวาดถ่านหินออกจนเห็นร่างที่ถูกเผาไหม้เพื่อให้เป็นที่ทราบกันว่าฌานเสียชีวิตจริงและมิได้หลบหนี เสร็จแล้วก็เผาร่างที่เหลืออีกสองครั้งเพื่อไม่ให้เหลือสิ่งใดที่สามารถเก็บไปเป็นเรลิกได้ หลังจากนั้นก็โยนสิ่งที่เหลือลงไปในแม่น้ำแซน เพชฌฆาตเจฟฟรัว เตราช (Geoffroy Therage) กล่าวต่อมาว่ามีความหวาดกลัวว่าจะถูกแช่ง

6. บทบาทสำคัญ

ฌาน ดาร์กเป็นผู้มีบทบาทสำคัญทางวัฒนธรรมตะวันตกมาโดยตลอด ตั้งแต่จักรพรรดินโปเลียนที่ 1 มาจนถึงปัจจุบันนักการเมืองฝรั่งเศสก็มักจะปลุกเร้าความเป็นชาตินิยมโดยการอ้างถึงโจน นักเขียนสำคัญๆ และคีตกวีที่สร้างงานเกี่ยวกับโจนออฟอาร์คก็ได้แก่วิลเลียม เชกสเปียร์ (“เฮนรีที่ 6, ตอนที่ 1”) วอลแตร์ (“La Pucelle d'Orléans” (โคลง)) ฟรีดริช ชิลเลอร์ (Friedrich Schiller) (“Die Jungfrau von Orléans”) จูเซปเป แวร์ดี (“Giovanna d'Arco”) ปีเตอร์ อิลิช ไชคอฟสกี (“Орлеанская дева” (The Maid of Orleans) - อุปรากร) มาร์ค ทเวน (“Personal Recollections of Joan of Arc” (ความทรงจำเกี่ยวกับโจนออฟอาร์ค) - อุปรากร) ฌอง อานุยห์ (“L'Alouette” (นกลาร์ค)) , เบอร์โทลท์ เบร็คท์ (Bertolt Brecht) (“Die heilige Johanna der Schlachthöfe” (นักบุญโจนผู้ศักดิ์สิทธิ์แห่งสต็อคยาร์ด)) และจอร์จ เบอร์นาร์ด ชอว์ (“นักบุญโจน” - บทละคร) นอกจากนี้วัฒนธรรมก็สืบเนื่องในการสร้างภาพยนตร์, โทรทัศน์, วิดีโอเกม, เพลง และนาฏศิลป์และการเต้นรำต่อมา

5. กู้บ้านเมือง

ฌานอ้างว่าได้รับนิมิตจากพระเจ้าผู้ทรงบอกให้ไปช่วยกู้บ้านเมืองคืนจากการครอบครองของฝ่ายอังกฤษในปลายสงครามร้อยปี มกุฎราชกุมารชาร์ลส์ซึ่งขณะนั้นยังไม่ได้ขึ้นครองราชย์ทรงส่งโจนไปช่วยผู้ถูกล้อมอยู่ในเมืองออร์เลอองส์ ฌานสามารถเอาชนะทัศนคติของนายทัพผู้มีประสบการณ์ได้และสามารถยุติการล้อมเมืองได้ภายใน 9 วัน หลังจากนั้นการได้รับชัยชนะอย่างเด็ดขาดหลายครั้งก็นำไปสู่การราชาภิเษกของพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 7 ที่แรงส์ (Reims) ซึ่งเป็นวิธีการพยายามยุติข้อขัดแย้งของสิทธิในการครองราชบัลลังก์ฝรั่งเศส

4. ถูกจับ

โจนถูกจับโดยฝ่ายเบอร์กันดีและถูกขายให้แก่ฝ่ายอังกฤษ ถูกพิจารณาคดี และถูกเผาทั้งเป็นในข้อหาว่าเป็นพวกนอกรีตเมื่ออายุ 19 ปี

3. สงครามร้อยปี

เป็นผู้นำกองทัพฝรั่งเศสในสงครามร้อยปีหลายครั้งที่ได้รับชัยชนะต่อฝ่ายอังกฤษโดยอ้างว่ามีพระเจ้าเป็นผู้ชี้ทาง

2. แต่งตั้ง

พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 7 ไม่ทรงสามารถที่จะแสดงพระองค์ว่าทรงได้รับอำนาจมาจากผู้ที่ถูกประณามว่าเป็นผู้นอกรีต สมเด็จพระสันตะปาปาคาลิกซ์ตุสที่ 3 จึงทรงมีคำสั่งให้มีตั้งศาลใหม่ในการพิจารณาการดำเนินการการพิจารณาคดีและการตัดสินของศาลแรก ศาลสรุปว่าโจนเป็นผู้บริสุทธิ์ และทางวาติกันประกาศให้โจนเป็น “มรณสักขี” ในปี ค.ศ. 1909 โจนก็ได้รับแต่งตั้งให้เป็นบุญราศี และในที่สุดก็ได้รับแต่งตั้งให้เป็นนักบุญในปี ค.ศ. 1920 ฌาน ดาร์กเป็นหนึ่งในสามนักบุญองค์อุปถัมภ์ประเทศฝรั่งเศส

1. เธอเป็นใคร ?

ฌาน ดาร์ก หรือโจนออฟอาร์ก เป็นชาวคาทอลิกเรียกว่านักบุญโยนออฟอาร์ค เป็นวีรสตรีของฝรั่งเศสและเป็นนักบุญในนิกายโรมันคาทอลิก เป็นผู้มีส่วนทางอ้อมในการขึ้นครองราชบัลลังก์ฝรั่งเศสของพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 7

ที่มา: http://www.toptenthailand.com/3554-top.html
Credit: http://women.postjung.com/676560.html
13 พ.ค. 56 เวลา 11:13 2,822 1 30
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...