อาชีพเก็บศพคนตาย ที่อินเดีย

 

ในโลกนี้มีอาชีพสารพัดให้ทำ แต่ที่อินเดียเกิดอาชีพเก็บศพคนตายจากการถูกรถไฟชน ราวีเด็กน้อยวัย 7 ขวบ ที่หนีออกจากบ้าน กระโดดขึ้นรถไฟจากทางเหนือของประเทศ เพื่อมาตายเอาดาบหน้าที่นครมุมไบ อีก 25 ปีต่อมาจากเด็กน้อยกลายเป็นชายหนุ่มที่ยังคงใช้ชีวิตอยู่ตามชานชาลารถไฟ ชีวิตของราวีห่างไกลจากสิ่งที่เขาใฝ่ฝันอย่างมาก เมื่อตอนเดินทางมาถึงนครมุมไบเขาต้องจัดการกับศพคน ตาย เพื่อความอยู่รอด

 

 

 

การเก็บศพบนทางรถไฟเป็นภารกิจที่น่าสะอิดสะเอียนแต่เขาจำเป็นต้องทำ คนส่วนใหญ่ที่ตาย
เพราะข้ามทางรถไฟ รายงานของรัฐบาลท้องถิ่นระบุว่า ที่นครมุมไบมีคนตายเพราะถูกรถไฟชน
ปีละ 6,000 ศพ มีเพียงส่วนน้อยที่เจตนาฆ่าตัวตายด้วยการ กระโดดให้รถไฟทับ และแต่ละศพ
มีสภาพแขนขาขาด
 
ราวีบอกว่า ก่อนเก็บศพพวกเขาต้องสูดดมสารระเหย มิเช่นนั้นจะไม่สามารถทำงานได้ และต้องสูด
ดมทุกวัน วัน ละ 3 ขวดเล็ก ซึ่งมีราคาขวดละ 3 เซนต์สหรัฐ ในแต่ละวัน พวกเขามีรายได้จากการทำ
งานเป็นเด็กหิ้วกระเป๋า ซึ่งบางครั้งผู้โดยสารให้ค่าทิปเล็ก ๆ น้อย ๆ แต่เมื่อใดที่มีศพคนตายหรือผู้
บาดเจ็บบนรางรถไฟใกล้ศูนย์ช่วยเหลือซีเอสที เจ้าหน้าที่ประจำสถานีรถไฟจะแจ้งให้พวกเขาไป
เก็บศพหรือนำผู้บาดเจ็บส่งโรงพยาบาล ซึ่งจะทำให้รายได้อันน้อยนิดในแต่ละวันเพิ่มขึ้นเท่าตัว


 
 
ทีมเก็บศพเล่าให้ฟังอีกว่า พวกเขาใช้เปลหามเคลื่อนย้ายผู้เสียชีวิตหรือคนเจ็บออกจากทาง
รถไฟ และบางครั้งต้องแบกเหยื่อไปส่งโรงพยาบาล ในกรณีที่เสียชีวิตก็นำไปไว้ที่ห้องดับจิต รา
วีบอกว่า เมื่อก่อนเขาก็กลัวเหมือนกัน แต่ตอนนี้คุ้นเคยแล้ว ในทางกลับกันอาชีพกุลีเปลหาม ได้
เงินครั้งละประมาณ 100 ถึง 150 รูปี คิดเป็นเงินไทยก็ราว 60-90 บาท
 
ทุกปีมีคนตายเกือบ 15,000 รายจากการฝ่าฝืนเดินข้ามทางรถไฟ ซึ่งไม่มีรั้วกั้นและไม่มีมาตรการรัก
ษาความปลอดภัยที่ได้มาตรฐาน ถึงขนาดที่รัฐบาลอินเดียเปรยว่า การที่ผู้คนถูกรถไฟทับหรือชน
ตายเป็นการฆาตกรรมหมู่ โดยเฉพาะแถบชานนครมุมไบเพียงแห่งเดียว มีคนตายเพราะรถไฟประ
มาณ 6,000 ราย ส่วนในปีนี้ ตำรวจรถไฟประจำนครมุมไบบอกว่า ตั้งแต่ต้นปีจนถึงตอนนี้ มีผู้เสียชี
วิตจากรถไฟชนไปแล้วกว่า 2,310 ราย จากสถิติดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า พนักงานเก็บศพยังคงเป็น
สิ่งสำคัญสำหรับนครมุมไบ และช่วยลดความอุจาดตาจากสภาพศพที่แขนขาขาด


 
 
วี.เอ.มาเลกาออนการ์ หัวหน้าโฆษกการรถไฟกล่าวว่า พนักงานเก็บศพคอยช่วยเคลื่อนย้ายเหยื่อ
จากรางรถไฟไปยังรถพยาบาลฉุกเฉิน เราไม่ได้สนับสนุนให้คนเร่ร่อนมากินนอนอยู่ตามชานชาลา
ไม่ว่าในนครมุมไบหรือในอินเดียทั้งหมด แต่สถานีรถไฟมักถูกมองว่าเป็นสถานที่ปลอดภัยที่สุด
 
ชีวิตเช่นนี้ไม่ใช่สิ่งที่ราวีต้องการเมื่อเขาเดินทางมาถึงนครมุมไบ เมืองที่ได้ชื่อว่าเป็นศูนย์กลางทาง
การเงินและที่ตั้งของบอลลีวู้ด อุตสาหกรรมบันเทิงของอินเดีย แต่เขาก็เหมือนเด็กหนุ่มทั่วไปที่มี
ความฝันอันยิ่งใหญ่.
 


 

 
Credit: http://variety.teenee.com/foodforbrain/47810.html
9 พ.ค. 56 เวลา 03:56 10,821 8 170
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...