20 เรื่องราว กำเนิดสิ่งแรกของประเทศไทย
กำเนิดสิ่งแรกของประเทศไทย 1
บทประพันธ์ที่ทำการขายลิขสิทธิ์ครั้งแรกในประเทศไทย ( นิราศลดอนอน ของหม่อมราโชทัย ขายให้กับหมอบรัดเลย์ )
เนื้อเรื่องย่อ
คณะราชทูตไทยอัญเชิญพระราชสาร พร้อมทั้งเครื่องราชบรรณาการไปถวายสมเด็จพระบรมราชินีนาถวิคตอเรียณ พระราชวังวินเซอร์ (พระราชวังประจำฤดูหนาว) ซึ่งทำให้ได้รับผลดีคือ มีการเปลี่ยนแปลงสัญญาใหม่ โดยที่ไทยได้ประโยชน์เพิ่มขึ้น จากนั้นคณะราชทูตไทยได้รับพระราชทานเลี้ยงอาหารค่ำและน้ำชาและได้พักค้างแรม ณ พระราชวังวินเซอร์ 1 คืน ต่อมาจึงได้ไปเยี่ยมชมสถานที่สำคัญๆ เช่น โรงพยาบาล โรงงานทำเหรียญกษาปณ์ ป้อมศาสตราวุธแห่งลอนดอน มงกุฎกษัตริย์อังกฤษซึ่งมีเพชรขนาดใหญ่เท่าไข่นกพิราบประดับอยู่และพระราชวังบัคกิงแฮม (พระราชวังประจำฤดู)
กำเนิดสิ่งแรกของประเทศไทย 2
แบบเรียนเล่มแรกของคนไทย ( หนังสือจินดามณี พระโหราธิบดีเป็นผู้แต่ง)
แบบเรียนเล่มแรกของไทย ชื่อ “ จินดามณี ” แต่งโดย พระมหาราชครู กวีในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (ครองราชย์ปี พ.ศ. 2199 – 2231)
กำเนิดสิ่งแรกของประเทศไทย 3
หนังสือไทยเล่มแรก ( หนังสือไตรภูมิพระร่วง )
ไตรภูมิพระร่วง มีหลายชื่อเรียกได้แก่ ” ไตรภูมิพระร่วง ” ” เตภูมิกถา ” ” ไตรภูมิกถา ” ” ไตรภูมิโลกวินิจฉัย ” และ ” เตภูมิโลกวินิจฉัย “
เป็น วรรณคดีพุทธศาสนา ที่แต่งในสมัยสุโขทัยประมาณ พ.ศ. 1888 โดยพระราชดำริในพระยาลิไท รวบรวมจากคัมภีร์ในพระพุทธศาสนา มีเนื้อหาเกี่ยวกับโลกสัณฐาน ที่แบ่งเป็น 3 ส่วน หรือ ไตรภูมิ ได้แก่ กามภูมิ รูปภูมิ และอรูปภูมิ
นรก สวรรค์ การเวียนว่ายตายเกิด ทวีปทั้งสี่ (เช่น ชมพูทวีป ฯลฯ) ระยะเวลากัปป์กัลป์ กลียุค การล้างโลก พระศรีอาริย์ มหาจักรพรรดิราช แก้วเจ็ดประการ ฯลฯ
กำเนิดสิ่งแรกของประเทศไทย 4
หนังสือพิมพ์ฉบับแรกของไทย ( หนังสือพิมพ์บางกอกรีคอดเดอร์ เมื่อปี พ.ศ.2387)
4 กรกฎาคม พ.ศ. 2387 ” บางกอกรีคอร์เดอร์” (Bangkok Recorder) หรือ ” หนังสือจดหมายเหตุ ” เป็นหนังสือพิมพ์ฉบับแรกของไทย ฉบับปฐมฤกษ์เริ่มออกวางแผง
หนังสือพิมพ์ฉบับนี้จัดพิมพ์โดย หมอบรัดเลย์ (Dr. Dan Beach Bradley, M.D.) มิชชันนารีอเมริกัน โดยใช้ตัวพิมพ์ที่เรียกว่า “ บรัดเลย์เหลี่ยม ” จัดพิมพ์ทั้งภาษาไทยและอังกฤษ ในระยะแรกเริ่มออกฉบับรายเดือน ต่อมาเปลี่ยนเป็นรายปักษ์หรือรายครึ่งเดือน แต่ออกได้เพียงสองปีก็ต้องเลิกกิจการ หนังสือพิมพ์บางกอกรีคอร์ดเดอร์ได้นำเอาวิธีการรายงานข่าวและการเขียนบทความแบบวิพากษ์วิจารณ์ ซึ่งเป็นของใหม่ในสมัยนั้นเข้ามาด้วยกำเนิดสิ่งแรกของประเทศไทย 5
ปฏิทินฉบับภาษาไทยของประเทศไทย จัดพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ ( ปี พ.ศ.2385 )
ในอดีตประเทศไทยใช้ปฏิทินจันทรคติตั้งแต่สมัยสุโขทัยโดยนับปีตามปีมหาศักราชและจุลศักราชตามลำดับ จนกระทั่งในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรดเกล้าฯ เปลี่ยนจากปฏิทินจันทรคติมาใช้ปฏิทินสุริยคติ ในปีจุลศักราช 1240 ซึ่งตรงกับปี พ.ศ. 2431 โดยใช้แบบสากลตาม ปฏิทินเกรกอเรียน
โดยเดือนแรกของปีคือเดือนเมษายน และเดือนสุดท้ายของปีคือมีนาคม และปรับมาใช้รัตนโกสินทรศก และพุทธศักราชตามลำดับ จนกระทั่งในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้มีการปรับเปลี่ยนปฏิทินอีกครั้งโดยปรับให้วันที่ 1 มกราคม เป็นวันขึ้นปีใหม่และเป็นวันเริ่มต้นของปีแทนที่รูปแบบเดิม โดยวันขึ้นปีใหม่ในรูปแบบนี้เริ่มใช้ในปี พ.ศ. 2484การพิมพ์ปฏิทินมีขึ้นเป็นครั้งแรกในเมืองไทย เมื่อ วันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2385 (ปลายสมัย รัชกาลที่ 3) ต่อมาในรัชกาลที่ 4 ทรงฯโปรดให้พิมพ์ปฏิทินภาษาไทย ในสมัยรัชกาลที่ 5 ปฏิทินที่พิมพ์ในเมืองไทยได้แก่ ” ประนินทิน “ แจ้งราคาขายไว้เล่มละ 4 บาท การพิมพ์ปฏิทินเล่มยังมีการจัดทำต่อมา ในหลายรูปแบบ ซึ่งมีบอกสถาพของน้ำขึ้น-น้ำลง ดิถีดวงจันทร์ และปฏิทินภาษาจีนร่วมด้วย และมีช่องว่างให้บันทึกเล็กน้อย ในรูปแบบของ ไดอารี่ หรือ ” สมุดบันทึกประจำวัน ” ก็สามารถอนุโลมให้เป็นปฏิทินได้ โดยไดอารี่ที่มีชื่อเสียงได้แก่ ไดอารี่ของรัชกาลที่ 5 ซึ่งเมื่อตีพิมพ์เผยแพร่มีชื่อเรียกว่า ” จดหมายเหตุพระราชกิจรายวัน “
กำเนิดสิ่งแรกของประเทศไทย 6
โรงเรียนหลวงสำหรับราษฎรแห่งแรก ( โรงเรียนวัดมหรรณพาราม )
พ.ศ.๒๔๑๔ (ค.ศ.1871) ที่ประเทศไทย ในรัชกาลที่ ๕ ด้วยพระบรมราชโองการ “โปรดเกล้าฯ จะให้มีอาจารย์สอนหนังสือไทยและสอนเลขทุก ๆ พระอาราม” การศึกษาแบบสมัยใหม่ในประเทศไทยก็เริ่มตั้งต้น ทั้งนี้ โดยให้พระสงฆ์รับภาระช่วยการศึกษาของชาติ ครั้นแล้วใน พ.ศ.๒๔๒๗ ก็โปรดให้ตั้งโรงเรียนหลวงสำหรับราษฎรขึ้นตามวัด เริ่มที่วัดมหรรณพาราม เป็นโรงเรียนแรก
กำเนิดสิ่งแรกของประเทศไทย 7
มหาวิทยาลัยแห่งแรกของไทย ( จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย )
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นสถาบันอุดมศึกษาแห่งแรกของประเทศไทย ถือกำเนิดจากโรงเรียนสำหรับฝึกหัดวิชาข้าราชการฝ่ายพลเรือน โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และได้รับพระบรมราชานุญาตให้เปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียนมหาดเล็ก ในครั้งนั้นมีการเปิดสอน ๘ แผนกวิชา ได้แก่ การปกครอง กฎหมาย การฑูต การคลัง การแพทย์การช่าง การเกษตร วิชาครู
จัดการศึกษาใน ๕ โรงเรียน (คณะในปัจจุบัน) คือ
โรงเรียนรัฏฐประศาสนศาสตร์ ตั้งอยู่ในพระบรมมหาราชวัง โรงเรียนฝึกหัดอาจารย์ตั้งอยู่ที่บ้านสมเด็จเจ้าพระยา โรงเรียนราชแพทยาลัยตั้งอยู่ที่โรงพยาบาลศิริราช โรงเรียนเนติศึกษาตั้งอยู่ที่เชิงสะพานผ่านพิภพลีลา โรงเรียนยันตรศึกษาตั้งที่วังใหม่หรือวังกลางทุ่ง หรือ วังวินเซอร์ (เคยเป็นวังของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ)ต่อมาพระบาทสมเด็จพระมงกูฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีพระราชดำริที่จะขยายการศึกษาในโรงเรียนข้าราชการพลเรือนฯ ให้กว้างขวางยิ่งขึ้น คือ ไม่เฉพาะสำหรับผู้ที่จะเล่าเรียนเพื่อรับราชการเท่านั้น แต่จะรับผู้ซึ่งประสงค์จะศึกษาขั้นสูงให้เข้าเรียนได้ทั่วถึงกัน จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประดิษฐานโรงเรียนข้าราชการพลเรือนฯ ขึ้นเป็น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อ ๒๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๕๙
จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัยในช่วงแรกมีการจัดการศึกษาเป็น ๔ คณะ ได้แก่ คณะรัฐประศาสนศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์และ วิทยาศาสตร์
กำเนิดสิ่งแรกของประเทศไทย 8
ธนบัตร หรือ หมาย เงินกระดาษใบแรกของไทย
ธนบัตรหรือเงินกระดาษของไทย ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ผลิตขึ้นครั้งแรก ในสมัยรัชกาลที่ 5พิมพ์ออกใช้ครั้งแรกเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ.2445 โดยก่อนหน้านั้น ในสมัยรัชกาลที่ 4ได้มีการผลิตธนบัตร หรือ เงินกระดาษออกใช้เป็นครั้งแรก ในเมืองไทยแล้ว เมื่อปี พ.ศ.2396
เรียกว่า หมาย ด้วยกระดาษปอนด์สีขาวรูปสี่เหลี่ยม พิมพ์ลวดลายด้วยหมึกทั้งสองด้าน ประทับตรา พระราชลัญจกรประจำแผ่นดิน ตราจักร และ พระราชลัญจกรประจำรัชกาลสีแดงชาด ( ลัญจกร อ่านว่า ลัน-จะ-กอน แปลว่า ตราสำหรับใช้ตีหรือประทับ ราชาศัพท์ใช้คำว่า พระราชลัญจกร )กำเนิดสิ่งแรกของประเทศไทย 9
เรือกลไฟลำแรกของประเทศไทย ( เรือสยามอรสุมพล )
เรือกลไฟ หรือ เรือกำปั่นไฟ เป็นเรือที่ใช้เครื่องจักรพลังไอน้ำในการขับเคลื่อน แทนการใช้ใบและแรงลม เรือกลไฟลำแรกที่เข้ามาแล่นอวดโฉมให้ชาวสยามในบางกอกได้ตื่นตาตื่นใจกันว่า ” เหล็กลอยน้ำได้ ” นั้น คือเรือกลไฟชื่อ ” เอ็กสเปรส ” (Express) ภายใต้การบัญชาการของกัปตันปีเตอร์ บราวน์ (Peter Brown)
กำเนิดสิ่งแรกของประเทศไทย 10
โรงพยาบาลแห่งแรกของไทย ( โรงพยาบาลศิริราช )
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เกิดอหิวาตกโรคระบาดชุกชุมเมื่อ พ.ศ. 2424 ในครั้งนั้นทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งโรงพยาบาลขึ้นชั่วคราวในที่ชุมชนรวม 48 ตำบล ครั้นโรคร้ายเสื่อมถอยลง โรงพยาบาลจึงได้ปิดทำการ หากแต่ในพระราชหฤทัยทรงตระหนักว่า โรงพยาบาลนั้นจะยังประโยชน์บำบัดทุกข์ บำรุงสุข ให้พสกนิกรและผู้อยู่ใต้ร่มพระบรมโพธิสมภาร แต่การจัดตั้งโรงพยาบาลนั้นเป็นการใหญ่ จำเป็นต้องมีคณะกรรมการเพื่อจัดการโรงพยาบาลให้สำเร็จ
กำเนิดสิ่งแรกของประเทศไทย 11
โรงเรียนอนุบาลแห่งแรกของไทย ( โรงเรียนอนุบาลที่โรงเลี้ยงเด็ก ซึ่งพระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ พระอัครชายาใน รัชกาลที่ 5 เป็นผู้ให้กำเนิด)
กำเนิดสิ่งแรกของประเทศไทย 12
ธนาคารเอกชนแห่งแรกของไทย ( แบงก์สยามกัมมาจล ปัจจุบัน คือ ธนาคารไทยพาณิชย์ )
2449 – 2475 ก่อรากฐานการธนาคารไทย
ประวัติศาสตร์หน้าแรกของธนาคารไทยพาณิชย์ ซึ่งนับเป็น สถาบันการเงินแห่งแรกของชาวสยาม นั้น เริ่มต้นขึ้นในนาม ” บุคคลัภย์ ” ( Book Club ) โดย พระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย ซึ่งขณะนั้นทรง ดำรงตำแหน่งเสนาบดี กระทรวง พระคลังมหาสมบัติในพระบาทสมเด็จพระจุลจอม เกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงตั้งพระทัยอย่างแน่วแน่ที่จะให้มีสถาบัน การเงินของสยาม เป็นฐานรองรับการเติบโตทางด้าน เศรษฐกิจการเงินของประเทศ จากการที่โลกตะวันตกได้ ขยายเส้นทางการค้าทางทะเลมาสู่ดินแดนสยามเป็นอย่างมาก ในยุคนั้น ในขั้นแรกจึงทรงริเริ่มดำเนินกิจการธนาคาร พาณิชย์เป็นการ ทดลองในนาม ” บุคคลัภย์ ” (Book Club)
ต่อมากิจการทดลองประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงมีพระบรม ราชานุญาตให้ตั้งเป็นธนาคารในนาม “บริษัท แบงก์สยาม กัมมาจล ทุนจำกัด” ( Siam Commercial Bank, Limited ) เมื่อวันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2449 ประกอบธุรกิจ ธนาคารพาณิชย์ อย่างเป็นทางการ นับตั้งแต่นั้นมาและได้ กลายมาเป็น “ต้นแบบธนาคารไทย” โดยริเริ่ม นำระบบ และ แนวคิดของการให้บริการ รับฝากเงินออมทรัพย์ และ บริการ บริการบัญชี กระแสรายวัน ( Current Account ) ถอนเงิน โดยใช้เช็คมาให้บริการ แก่ประชาชน พร้อมทั้งจัดตั้งสาขาขึ้น ทั้งในกรุงเทพฯ และภูมิภาคต่างๆ นอกจากนี้ธนาคารยังมี ส่วนร่วม ในการก่อกำเนิดและวางรากฐานสหกรณ์การเกษตร ของประเทศกำเนิดสิ่งแรกของประเทศไทย 13
โรงภาพยนตร์โรงแรกในกรุงเทพฯ ที่ฉายจอซีนีมาสโคป ( โรงภาพยนตร์ศาลาเฉลิมไทย )
ศาลาเฉลิมไทย หรือบางคนก็เรียกว่า โรงหนังเฉลิมไทย เคยตั้งอยู่บริเวณหัวมุมถนนราชดำเนินกลางกับถนนมหาชัย สร้างขึ้นเมื่อพุทธศักราช ๒๔๘๙ ในสมัยรัฐบาลจอมพลป. พิบูลสงคราม แล้วเสร็จเมื่อพุทธศักราช ๒๔๙๒
เมื่อเริ่มแรก ดำริของรัฐบาลประสงค์สร้างขึ้นเพื่อใช้เป็น โรงละครแห่งชาติ มีที่นั่งราว ๑,๒๐๐ ที่นั่งพร้อมที่นั่งชั้นบน เวทีเป็นแบบมีกรอบหน้า มีเวทีแบบเลื่อนบนราง (Wagon Stage) เพื่อความรวดเร็วในการเปลี่ยนฉาก เริ่มใช้แสดงละครเวทีอาชีพตั้งแต่เปิดใช้งาน พุทธศักราช ๒๔๙๖ จึงได้เปลี่ยนเป็นโรงภาพยนตร์ศาลาเฉลิมไทยเคยเป็นแหล่งความบันเทิงสำคัญแห่งหนึ่งของเมืองไทย ถึงแม้ไม่ใช่ โรงภาพยนตร์แห่งแรก แต่ก็สร้างความน่าตื่นตาตื่นใจได้ด้วยภาพยนตร์ทั้งจากของไทยและต่างประเทศ โปสเตอร์ขนาดยักษ์ ตั้งเด่นเชิญชวนให้เห็นได้แต่ไกล
ที่ตั้งเดิมของ ศาลาเฉลิมไทย ปัจจุบันกลายเป็น ลานพลับลามหาเจษฎาบดินทร์ โดยมีฉากหลัง เป็นวัดราชนัดดา และ โลหะปราสาท
กำเนิดสิ่งแรกของประเทศไทย 14
โลหะปราสาท องค์แรกและองค์เดียวของไทย
สถาปัตยกรรมทรงคุณค่า โลหะปราสาท องค์แรกและองค์เดียวของไทย ( http://travel.mthai.com/blog/33640.html )
กำเนิดสิ่งแรกของประเทศไทย 15
ภาพยนตร์เรื่องแรกที่ออกฉายให้ประชาชนชมครั้งแรกเรื่อง ( นางสาวสุวรรณ เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2466)
ในปี ๒๔๖๖ ครั้งรัชกาลที่ ๖ ชาวสยามพากันตื่นเต้นและยินดี เมื่อมีคณะฝรั่งนักสร้างภาพยนตร์มืออาชีพจาก ฮอลลีวู้ดสหรัฐอเมริกา เดินทางเข้ามาสยามเพื่อจัดสร้างภาพยนตร์ชนิดเรื่องบันเทิง โดยใช้เรื่องราวของชาวสยามและใช้คนไทยเป็นตัวแสดง
คณะฝรั่งจากฮอลลีวู๊ดนี้มี นายเฮนรี เอ. แมคเร (Henry A.Macrae) เป็นหัวหน้าคณะ ซึ่งทำหน้าที่เป็นทั้งผู้อำนวยการสร้าง ผู้เขียนเรื่อง และผู้กำกับการแสดง นายแมคเรได้ติดต่อขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตถ่ายภาพยนตร์ในสยาม ซึ่งได้รับพระมหากรุณาธิคุณ มีพระบรมราชานุญาต ทั้งยังโปรดเกล้าฯให้กรมรถไฟหลวง และกรมมหรสพ ร่วมงานกับนายแมคเรด้วย โดย กรมรถไฟหลวง ช่วยอำนวยความสะดวกในการหาสถานที่ถ่ายทำ การเดินทางและขนส่ง การล้างและสำเนาฟิล์มภาพยนตร์ ส่วนกรมมหรสพร่วมมือด้านผู้แสดง นายแมคเรได้แต่งเรื่องสำหรับทำภาพยนตร์ขึ้น ให้ชื่อว่า “นางสาวสุวรรณ” เป็นเรื่องอย่างนิยายความรักของหนุ่มสาวชาวสยามในสมัยนั้นกรมรถไฟหลวงได้นำออกฉายสู่สาธรณชนครั้งแรกในกรุงเทพ เมื่อวันที่ ๒๒ มิถุนายน ๒๔๖๖ ท่ามกลางความตื่นเต้นยินดีของชาวสยามที่จะได้ชม ภาพยนตร์ไทยเรื่องแรก
กำเนิดสิ่งแรกของประเทศไทย 16
โรงแรมแห่งแรกของไทย ( โรงแรมโอเรียนเต็ล ) โรงแรมที่เก่าแก่ที่สุดในเอเชีย
โรงแรมแมนดาริน โอเรียนเต็ล กรุงเทพ ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ถนนเจริญกรุง แขวงบางรัก เขตบางรัก โดยในอดีตมีชื่อว่า ” โรงแรมโอเรียนเต็ล ” โดยปัจจุบันบริหารงานโดย บริษัท OHTL จำกัด (มหาชน) (เดิมมีชื่อว่า บริษัท โรงแรมโอเรียนเต็ล (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)) เป็น โรงแรมที่เก่าแก่ที่สุดในเอเชีย และเป็นหนึ่งใน โรงแรมที่ถือว่าดีที่สุดของโลก
โรงแรมตั้งขึ้น ประมาณปี พ.ศ. 2413 โดยนาย ซี. ซาลเจ กะลาสีเรือชาวเดนมาร์ก เป็นผู้ซื้อกิจการมาดำเนินการ ต่อมานายฮันส์ นีลส์ แอนเดอร์เซน เข้ามาบริหารงานต่อนายฮันส์ นีลส์ แอนเดอร์เซน ปี 2428 ได้ปรับปรุงโรงแรมให้ทันสมัย มีการออกแบบอาคารขึ้นใหม่ เรียกว่า “ออเธอร์ส วิง” ได้เปิดโรงแรมอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2430โรงแรมโอเรียนเต็ลเปลี่ยนเจ้าของและปรับปรุงมาหลายครั้ง หลายยุคสมัย เคยต้นรับแขกผู้มีเกียรติ อาทิ มกุฎราชกุมารนิโคลัสแห่งรัสเซียในปี 2434 เจ้าชายลุยจี อาเมดิโอ เชื้อพระวงศ์อิตาลี ในปี 2438 และนักเขียนชื่อดังของอังกฤษ
ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ยังเคยเป็นกองบัญชาการกองทัพญี่ปุ่น และมีพระบรมวงศานุวงศ์เคยเสด็จมาด้วย การต้อนรับพระประมุขครั้งสำคัญครั้งหนึ่งคือในพระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ใน พ.ศ. 2549 พระประมุขและผู