ประวัติชุดครุยรับปริญญา กำเนิดชุดครุยรับปริญญา

 

 

 

 

 

 

ขอแสดงความยินดีกับ บัณฑิตใหม่ป้ายแดง ที่กำลัง หรือ จะเข้ารับปริญญา สำเร็จการศึกษาในปีนี้ และแน่นอนว่า ความใฝ่ฝันของนักศึกษาและครอบครัว ทุกคนที่อยากจะเห็นลูกหลานตัวเอง สวมชุดครุยรับปริญญา เพื่อเอารูปภาพไปแปะฝาผนังบ้าน (ประกาศให้โลกได้รู้ว่าลูกฉันเรียนจบนะจ้ะ) แต่เพื่อนๆหลายคนยังคงสงสัยอยู่ใช่ไหมละว่าต้น กำเนิดชุดครุยรับปริญญา มาจากไหน? มี ประวัติชุดครุยรับปริญญา อย่างไร? แล้ว ทำไมต้องใส ชุดครุยรับปริญญา ? ที่เป็นธรรมเนียมสืบต่อกันมาช้านานแล้ว ผู้สำเร็จการศึกษาทุกสถาบันจะต้องสวมเสื้อครุยในวันพิธีรับปริญญา แม้กระทั่งเดี๋ยวนี้เด็กอนุบาลยังมีการใส่ชุดครุยรับประกาศนียบัตรกันเลย teen.mthai.comมี ประวัติชุดครุยรับปริญญา คำตอบให้หายสงสังกันคะ

ข้อมูล :: teen.mthai.com อ้างอิง :: หอประวัติจุฬา /  thaieditorial.com / reurnthai.com 

ประวัติชุดครุยรับปริญญา ต้นแบบชุดครุยบัณฑิต

ชุดครุยรับปริญญา เป็นเสื้อคลุมทับด้านนอก ใช้สวมเพื่อเป็นเครื่องประกอบเกียรติยศ แสดงถึงหน้าที่ในพิธีการ หรือแสดง วิทยฐานะ ธรรมเนียม การสวมเสื้อครุยของไทยเรานั้นไม่มีหลักฐานที่แน่ชัดว่าได้รับแบบมาจากที่ใด แต่การคาดคะเนกันว่า การสวมเสื้อครุย น่าจะเริ่มขึ้นในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ตอนที่พระวิสูตรสุนทร (โกษาปาน) เป็นราชทูต ไปเจริญพระราชไมตรีกับพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ของฝรั่งเศส ขณะนั้นท่านราชทูตแต่งกายด้วยการสวมเสื้อเยียรบับ มีกลีบทอง ดอกไม้ทอง และสวมเสื้อครุย

ต่อมาใน สมัยรัชกาลที่6 มี พระราชกำหนดเสื้อครุย เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม ร.ศ. 130 กำหนดเสื้อครุยข้าราชการไว้ 3ชั้น เรียกว่า ครุยเสนามาตย์ แบ่งเป็นชั้น

ปริญญาเอก เรียกว่า ” ดุษฎีบัณฑิต “ ปริญญาโท เรียกว่า “ มหาบัณฑิต “ ปริญญาตรี เรียกว่า “ บัณฑิต “

และนอกจากนี้ยังมี ครุยวิทยฐานะ สำหรับผู้สำเร็จวิชาการจาก มหาวิทยาลับ หรือ วิทยาลัยชั้นสูง เสื้อครุยวิทยฐานะ มีขึ้นครั้งแรกใน ประเทศไทยประมาณ ร.ศ. 116 ในสมัยที่พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์พระเจ้าลูกยาเธอ ในรัชกาลที่ 5 ขณะดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงยุติธรรม โดยให้ผู้ที่สอบไล่วิชากฎหมายได้เป็น เนติบัณฑิตมีสิทธิสวมเสื้อครุย โดยเรียกว่า เสื้อเนติบัณฑิต

กำเนิดชุดครุยรับปริญญา ประวัติชุดครุยรับปริญญา 

ต่อมาในสมัย พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้ประกาศ พระราชกำหนด เสื้อครุยบัณฑิต ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปี พ.ศ. 2473 แก่นิสิตที่สำเร็จการศึกษาจา กมหาวิทยาลัย แล้วหลังจากนั้นต่อมา บัณฑิตจากสถาบันการศึกษาต่างๆ จึงได้มีการสวมครุยในวันเข้ารับพระราชทานปริญญาบัตร และถือเป็นธรรมเนียมปฏิบัติสืบต่อกันมากระทั่งทุกวันนี้

รวมภาพ ชุดครุยสมัยก่อน ชุดครุยในอดีต

ประวัติชุดครุยรับปริญญา พระยาบุณยธรรมธาดา ( บุญ บุณยประสพ ) เมื่อครั้งเป็นหลวงประธานคดีศาสตร์ สวม เสื้อครุยเนติบัณฑิตไทย ทับเสื้อราชปะแตน

วันที่ ๒๕ ตุลาคม ๒๔๗๓ เมื่อ ๘๒ ปีที่แล้ว พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จฯมา พระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตผู้สำเร็จการศึกษาจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นครั้งแรก ( พระราชทานปริญญาบัตรครั้งแรกในประเทศไทย ) และนับเป็นต้นเค้าของ ประเพณีที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จะเสด็จฯไปใน พิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษา จาก มหาวิทยาลัย ต่างๆในทุกวันนี้

ประวัติชุดครุยรับปริญญา กำเนิดชุดครุยรับปริญญา ชุดครุยสมัยก่อน ชุดครุยในอดีต
แพทยศาสตรบัณฑิตหญิงรุ่นแรก แห่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  

ประวัติชุดครุยรับปริญญาฉลองพระองค์ครุยปริญญา อักษรศาสตรบัณฑิต
ซึ่งคณะอักษรศาสตร์ได้ทูลเกล้าถวายสมเด็จพระเทพฯ ซึ่งพระองค์ได้คะแนนสูงที่สุดของรุ่น

ชุดนักศึกษาจุฬาสมัยก่อน ถ่ายประมาณ พ.ศ.2481
ซึ่งคนกลางของภาพคือ คุณสมศรี สุกุมลนันทน์ สกุลเดิม เสฐียรโกเศศ ท่านเป็นบุตรีของพระยาอนุมานราชธน

การแต่งกาย ชุดนักศึกษาจุฬาสมัยก่อน นุ่งผ้าซิ่นยาวกรอมเท้า ภาพนี้ถ่ายเมื่อ ปี พ.ศ. 2478

รัฐศาสตร์รุ่นแพแตก เริ่มมาจากในปีพุทธศักราช 2476 ได้มีการประกาศใช้ พระราชบัญญัติ มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์ และการเมือง พุทธศักราช ๒๔๗๖ ซึ่งมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติว่า “ให้โอนนคณะนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ ใน จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย ตลอดจนทรัพย์สินและงบประมาณของคณะเหล่านั้นมาขึ้นต่อมหาวิทยาลัยนี้ก่อน และในวันที่ 1 เมษายน พุทธศักราช 2477 คณะรัฐศาสตร์ แห่งจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัยได้สิ้นสภาพความเป็นคณะลง ในขณะนั้นนิสิตคณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ ซึ่งกำลังศึกษาอยู่ปีที่ 2 จึงต้องไปเรียนต่อที่คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง ดังที่คุณชะลอ วนะภูติ ได้บันทึกไว้ว่า “การที่เราเรียนๆ อยู่ดีๆ แล้วมีประกาศทางราชการให้ยุบคณะที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทั้งๆที่เรียนค้างอยู่และไปยุบเอารุ่นพี่ปีสองแล้วเข้าด้วยกันเช่นนี้ ต่อมาพวกเราทั้งหมดถูกลอยแพจึงมีผู้ขนานนามว่านักเรียน รัฐศาสตร์รุ่นแพแตก คือแตกเหมือนแพ แตกแล้วลอยเปะปะไปทั่วแผ่นดิน”

นิสิตคณะรัฐศาสตร์ รุ่นนี้ได้แก่ หม่อมเจ้าทองคำเปลวง ทองใหญ่ คุณจรูญพันธ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา คุณชะลอ วนะภูติ คุณพัฒน์ คุณพินทุโยธิน ไปปัตตานี คุณพ่วง สุวรรณรัฐ คุณชำนาญ ยุวบูรณ์ไป คุณชูสง่า สิทธิประศาสน์ คุณสนิท วิไลจิตต์ คุณอรรถ วิสูตรโยธาภิบาล ฯลฯ

แถมบรรยากาศการ รับน้องจุฬาฯ ให้อีก 1 ภาพ แต่เป็นน้องใหม่สมัย พ.ศ.2506 นะคะ สังเกตว่าการรับน้องและแสดงความยินดีด้วยการนำใบจามจุรีมาคล้องคอยังเป็นประเพณีที่สืบทอดมาถึงปัจจุบัน

ประวัติชุดครุยรับปริญญา กำเนิดชุดครุยรับปริญญา รวม ตุ๊กตาชุดครุยรับปริญญา หลายสถาบัน ต้อนรับ วันรับปริญญา   ( คลิกแรงๆที่นี้  )

ชุดครุยรับปริญญา จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย

ชุดครุยรับปริญญา ม.ธรรมศาสตร์

ประวัติชุดครุยรับปริญญา กำเนิดชุดครุยรับปริญญา

Credit: http://board.postjung.com/675355.html#
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...