นนี้รู้กันดีอยู่แล้วว่า โลกสังคมออนไลน์ นั้นมันรวดเร็วซะเหลือเกิน ไม่ว่าจะเม้น จะแชร์ต่างๆ นาๆ มีทั้งเรื่องการทำความดี-ความชั่ว มีให้เห็นกันรวดเร็วมากๆ อย่างเช่น กรณีสดๆ ร้อนๆ ที่มีหญิงสาวให้เด็กชายซึ่งอายุเพียงไม่กี่ขวบ ได้สอนให้ทดลองสารเสพติดชนิดหนึ่ง! คลิปนี้ทำให้คนไทยแชร์คลิปกันอย่างรวดเร็ว และ รุมว่าหญิงสาวคนนี้อย่างรุนแรง! ว่าเป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้ เพื่อนๆบางคนอาจจะยังไม่รู้ว่า สารเสพติด นั้นมีโทษอย่างไร มีกี่ประเภทteen.mthai ก็เลย ยกตัวอย่างให้เพื่อนๆได้อ่าน เป็นเกร็ดความรู้ กันคะ ^^
ทางที่ดีอย่าไปอยากรู้ อยากลอง ในสิ่งที่เรารู้ดีอยู่แล้วว่ามัน “อันตราย” ลองง่ายแต่เลิกยากนะจ๊ะ!!
10 สารยาเสพติดอันตราย 1. สารยาเสพติดอันตราย เฮโรอีน (Heroin) เฮโรอีนเป็นยาเสพติดที่ได้จากการสังเคราะห์ทางเคมี จากปฏิกิริยาระหว่างมอร์ฟีนกับสารเคมีบางชนิด เช่น อาเซ-ติคแอนไฮไดรด์ (Aceticanhydride) หรือ อาเซติลคลอไรด์ (Acetylchloride) หรือเอทิลิดีนไดอาเซเตท (Ethylidinediacetate) เฮโรอีนออกฤทธิ์แรงกว่ามอร์ฟีนประมาณ 4-8 เท่า และออกฤทธิ์แรงกว่าฝิ่น ประมาณ 30-90 เท่า โดยทั่วไปเฮโรอีนจะมีลักษณะเป็นผงสีขาว สีนวล หรือสีครีม มีรสขม ไม่มีกลิ่น เฮโรอีนที่แพร่ระบาดในประเทศไทย แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ
1. เฮโรอีนผสม หรือเรียกว่าเฮโรอีนเบอร์ 3 หรือไอระเหย เป็นเฮโรอีนที่มีความบริสุทธิ์ต่ำ เนื่องจากมีการผสมสารอื่น
เข้าไปด้วย เช่น ผสมสารหนู สตริกนิน ยานอนหลับ กาเฟอีน แป้ง น้ำตาลและอาจผสมสี เช่น สีม่วงอ่อน สีชมพูอ่อน
สีน้ำตาล อาจพบในลักษณะเป็นผง เป็นเกล็ด หรืออัดเป็นก้อนเล็ก ๆ มีวิธีการเสพโดยการสูดเอาไอสารเข้าร่างกาย
จึงเรียกว่า “ไอระเหย” หรือ “แคป”
2. เฮโรอีนเบอร์ 4 เป็นเฮโรอีนไฮโดรคลอไรด์ที่มีความบริสุทธิ์สูง มีลักษณะเป็นผงละเอียด หรือเป็นเม็ดคล้ายไข่ปลา
หรือพบในลักษณะอัดเป็นก้อนสี่เหลี่ยมผืนผ้า มักมีสีขาวหรือสีครีม ไม่มีกลิ่น มีรสขม เป็นที่รู้จัดทั่วไปว่า “ผงขาว”
มักเสพโดยนำมาละลายน้ำและฉีดเข้าร่างกาย หรือผสมบุหรี่สูบ
ฤทธิ์ในทางเสพติด
เฮโรอีนออกฤทธิ์กดระบบประสาท มีอาการเสพติดทั้งทางร่างกายและจิตใจ มีอาการขาดยาทางร่างกายอย่างรุนแรง มีอาการปวดกล้ามเนื้อ ปวดกระดูก ปวดตามข้อ ปวดสันหลัง ปวดบั้นเอว ปวดหัวรุนแรง มีอาการจุกแน่นในอกคล้ายใจจะขาด อ่อนเพลียอย่างหนัก หมดเรี่ยวแรงมีอาการหนาว ๆ ร้อน ๆ อึดอัดทุรุนทุราย นอนไม่หลับ กระสับกระส่าย บางรายมีอาการชักตาตั้ง น้ำลายฟูมปาก ม่านตาดำหดเล็กลง ใจคอหงุดหงิดฟุ้งซ่าน มึนงง หายใจไม่ออก ประสาทเสื่อม ความจำเสื่อม ผู้เสพติดเฮโรอีนที่ติดเชื้อ HIV ก็จะเป็นผู้แพร่ระบาด HIV เนื่องจากการจับกลุ่มใช้เข็มฉีดยาร่วมกันหรือ ในบางครั้งก็มีเพศสัมพันธ์ร่วมกัน โดยไม่ได้ป้องกันโทษทางกฎหมาย
จัดเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 1 ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 2. สารยาเสพติดอันตราย ยาบ้า (Amphetamine) ยาบ้า เป็นชื่อที่ใช้เรียกยาเสพติดที่มีส่วนผสมของสารเคมี ประเภทแอมเฟตามีน (Amphetamine) ยาบ้า จัดอยู่ในกลุ่มยาเสพติดที่ออกฤทธิ์กระตุ้นประสาท มีลักษณะเป็นยาเม็ดกลมแบนขนาดเล็ก มีสีต่างๆ กัน เช่น สีส้ม สีน้ำตาล มีสัญลักษณ์ที่ปรากฏบนเม็ดยา เช่น ฬ, M, PG, WY สัญลักษณ์รูปดาว เป็นต้นฤทธิ์ในทางเสพติด :
ออกฤทธิ์กระตุ้นประสาท มีอาการเสพติดทั้งทางร่างกายและจิตใจ ไม่มีอาการขาดยาทางร่างกาย เมื่อเสพเข้าสู่ร่างกายในระยะแรกจะออกฤทธิ์ทำให้ร่างกายตื่นตัว หัวใจเต้นเร็ว ความดันโลหิตสูง ใจสั่น ประสาทตึงเครียด แต่เมื่อหมดฤทธิ์ยา จะรู้สึกอ่อนเพลียมากกว่าปกติ ประสาทล้าทำให้การตัดสินใจช้า และผิดพลาด เป็นเหตุให้เกิดอุบัติเหตุร้ายแรงได้ ถ้าใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน จะทำให้สมองเสื่อม เกิดอาการประสาทหลอน เห็นภาพลวงตา หวาดระแวง คลุ้มคลั่ง เสียสติ เป็นบ้าอาจทำร้ายตนเองและผู้อื่นได้ หรือในกรณีที่ได้รับยาในปริมาณมาก (Overdose) จะไปกดประสาท และระบบการหายใจทำให้หมดสติ และถึงแก่ความตายได้โทษทางกฎหมาย
จัดเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 1 ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 3. สารยาเสพติดอันตราย ยาอี ยาเลิฟ เอ็คซ์ตาซี (Ecstasy) ยาอี ยาเลิฟ เอ็คซ์ตาซี (Ecstasy) เป็นยาเสพติดกลุ่มเดียวกัน จะแตกต่างกันบ้างในด้านโครงสร้างทางเคมี ลักษณะ ของยาอี มีทั้งที่เป็นแคปซูลและเป็นเม็ดยาสีต่าง ๆ แต่ที่พบในประเทศไทย ส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นเม็ดกลมแบน ผิวเรียบ และปรากฏสัญลักษณ์บนเม็ดยาเป็นรูปต่าง ๆ เช่น กระต่าย ฯลฯฤทธิ์ในทางเสพติด
จะออกฤทธิ์ภายในเวลา 45 นาที และฤทธิ์ยา จะอยู่ในร่างกายได้นานประมาณ 6-8 ซม. แพร่ระบาดในกลุ่มวัยรุ่นที่ชอบเที่ยวกลางคืน ออกฤทธิ์กระตุ้นประสาทในระยะสั้น ๆ จากนั้นจะออกฤทธิ์หลอนประสาท มีอาการติดยาทางจิตใจ ไม่มีอาการขาดยา ทางร่างกาย เหงื่อออกมาก หัวใจเต้นเร็ว ความดันโลหิตสูง ระบบประสาทการรับรู้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งหมด (Psychedelic) ทำให้การได้ยินเสียงและการมองเห็นแสงสีต่าง ๆ ผิดไปจากความเป็นจริง เคลิบเคลิ้ม ควบคุมอารมณ์ไม่ได้โทษทางกฎหมาย
จัดเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 1 ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 4. สารยาเสพติดอันตราย โคเคน (Cocaine) : โคเคน หรือ โคคาอีนเป็นยาเสพติด ที่สกัดได้จากใบของต้นโคคา ซึ่งเป็นต้นไม้ที่ลักลอบปลูกมากในประเทศแถบอเมริกาใต้ เช่น เปรู โบลิเวีย และโคลัมเบีย เป็นต้น โคเคนมีชื่อเรียกในกลุ่ม ผู้เสพว่า COKE, Snow, Speed Ball, Crack โคเคนที่พบในประเทศไทย มี 2 ชนิด ได้แก่ 1. โคเคนชนิดผง มีลักษณะเป็นผงละเอียดสีขาว รสขม ไม่มีกลิ่น 2. โคเคนรูปผลึกเป็นก้อน (Free base, Crack)ฤทธิ์ในทางเสพติด
โคเคนออกฤทธิ์กระตุ้นประสาท มีอาการเสพติดทางร่างกายเล็กน้อย ขึ้นอยู่กับวิธีการและปริมาณที่เสพ มีอาการทาง จิตใจ อาจมีอาการขาดยาทางร่างกายแต่ไม่รุนแรง หัวใจเต้นแรง ความดันโลหิตสูง กระวนกระวาย ตัวร้อนมีไข้ นอนไม่หลับ มีอาการซึมเศร้า ผนังจมูกขาดเลือด ทำให้เยื่อบุโพรงจมูกฝ่อ ขาดหรือทะลุ สมองถูกกระตุ้นอย่างรุนแรง ทำให้เกิดอาการชักมีเลือดออกในสมอง เนื้อสมองตายเป็นบางส่วน หัวใจถูกกระตุ้นอยู่เสมอ กล้ามเนื้อหัวใจเสื่อมลง ทีละน้อยจนหัวใจบีบตัวไม่ไหวทำให้หัวใจล้มเหลว ผลจากการเสพเป็นระยะเวลานาน ทำให้เกิดอาการโรคจิตซึมเศร้าโทษทางกฎหมาย
จัดเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 2 ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 25225. สารยาเสพติดอันตราย ฝิ่น (Opium)
ฝิ่นเป็นสารประกอบชนิดหนึ่ง ซึ่งได้จากยางของผลฝิ่น ในเนื้อฝิ่นมีสารเคมีผสมอยู่มากมาย ซึ่งประกอบด้วย โปรตีน เกลือแร่ ยางและกรดอินทรีย์เป็นแอลคะลอยด์ (Alkaloid) ซึ่งเป็นตัวการสำคัญ ที่ทำให้ฝิ่นกลายเป็นสารเสพติดให้โทษ ที่ร้ายแรง และเป็นยาเสพติดที่เป็นต้นตอของยาเสพติดร้ายแรง เช่น มอร์ฟีน เฮโรอีน และโคเคอีน มีการลักลอบปลูกฝิ่น มากทางภาคเหนือของประเทศไทยบริเวณแนวพรมแดน ที่เรียกว่า“สามเหลี่ยมทองคำ”ฤทธิ์ในทางเสพ
ฝิ่นออกฤทธิ์กดระบบประสาท มีอาการเสพติดทั้งทางร่างกายและจิตใจ มีอาการขาดยาทางร่างกาย หากเสพเกินขนาด จะทำให้กดระบบหายใจทำให้เสียชีวิต จิตใจเลื่อนลอย ง่วง ซึม แก้วตาหรี่ พูดจาวกวน ความคิดเชื่องช้า ไม่รู้สึกหิวชีพจรเต้นช้าโทษทางกฎหมาย
จัดเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 2 ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 6. สารยาเสพติดอันตราย มอร์ฟีน (Morphine) มอร์ฟีนเป็นแอลคะลอยด์ (Alkaloid) ของฝิ่นที่สำคัญที่สุด ซึ่งเป็นตัวการที่ออกฤทธิ์กดประสาท มอร์ฟีนเป็นผงสีขาว หรือเทาเกือบขาว ไม่มีกลิ่น มีรสขม มีฤทธิ์สูงกว่าฝิ่น เสพติดได้ง่าย มีลักษณะเป็นเม็ด เป็นผง และเป็นก้อน หรือละลายหดตีบ และหายใจลำบาก
ฤทธิ์ทางเสพติด
มอร์ฟีนออกฤทธิ์กดระบบประสาท มีอาการเสพติดทั้งร่างกายและจิตใจ มีอาการขาดยาทางร่างกาย คลื่นเ...ยนอาเจียน ท้องผูก เกิดอาการคันหน้า ตาแดง ซึม ง่วงนอน ไม่สนใจสิ่งแวดล้อม ร่างการทรุดโทรม สมองมึนชา สติปัญญาเสื่อมโทรมโทษทางกฎหมาย
จัดเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 2 ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 7. สารยาเสพติดอันตราย กัญชา (Cannabis) : กัญชา มีลักษณะใบจะแยกออกเป็นแฉกประมาณ 5-8 แฉกคล้ายใบมันสำปะหลังที่ขอบใบทุกใบจะมีรอยหยัก ออกดอกเป็นช่อเล็กๆ ตามง่ามของกิ่งและก้าน ส่วนที่คนนำมาเสพได้แก่ส่วนของกิ่ง ก้าน ใบ และยอดช่อดอกกัญชา โดยนำมาตากหรืออบแห้ง แล้วบดหรือหั่นให้เป็นผงหยาบๆ จากนั้นจึงนำมายัดไส้บุหรี่สูบ ยังอาจพบในรูปของ “น้ำมันกัญชา” (Hashish Oil) ซึ่งมีลักษณะเป็นของเหลวสีน้ำตาลเข้มหรือสีดำฤทธิ์ทางเสพติด
กัญชาเป็นยาเสพติดให้โทษ ที่ออกฤทธิ์หลายอย่างต่อระบบประสาทส่วนกลาง คือ ทั้งกระตุ้นประสาทกดและหลอนประสาท สารออกฤทธิ์ที่อยู่ในกัญชามีหลายชนิด แต่สารที่สำคัญที่สุดที่มีฤทธิ์ต่อสมองและทำให้ร่างกาย อารมณ์ และจิตใจเปลี่ยนแปลงไป ในเบื้องต้นจะออกฤทธิ์กระตุ้นประสาท ทำให้ผู้เสพตื่นเต้น ช่างพูด และหัวเราะตลอดเวลา ต่อมาจะกดประสาท ทำให้ผู้เสพมีอาการคล้ายเมาเหล้าอย่างอ่อนๆ เซื่องซึม และง่วงนอน หากเสพเข้าไปในปริมาณมากๆ จะหลอนประสาททำให้เห็นภาพลวงตา หูแว่ว ความคิด สับสน ควบคุมตนเองไม่ได้ ทำลายโทษทางกฎหมาย
จัดเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 5 ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 8. สารยาเสพติดอันตราย กระท่อม (Kratom) กระท่อม เป็นพืชเสพติดชนิดหนึ่ง ส่วนมากพบในทวีปเอเชีย โดยเฉพาะในประเทศอินเดียและในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศมาเลเซีย อินโดนีเซีย ประเทศไทย ลักษณะเป็นต้นไม้ยืนต้นขนาดกลางมีแก่นเป็นเนื้อไม้แข็ง ใช้ส่วนของใบเป็นสิ่งเสพติด ลักษณะใบคล้ายกระดังงาหรือใบฝรั่งต้นหนาทึบ ต้นกระท่อมมี 2 ชนิด คือ ก้านเขียวและก้านแดงฤทธิ์ในทางเสพ
ในใบกระท่อมมีสารไมตราจัยนินที่ออกฤทธิ์กระตุ้นประสาท มีอาการเสพติดทางร่างกายเล็กน้อย มีอาการเสพติด ทางจิตใจ อาจมีอาการขาดยาทางร่างกายแต่ไม่รุนแรง ทำงานไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย ทนแดดไม่รู้สึกร้อน ทำให้ ผิวหนังไหม้เกรียมมีอาการมีนงง ปากแห้ง นอนไม่หลับ ท้องผูก แต่จะรู้สึกหนาวสั่น เมื่อมีอากาศชื้น หรือเมื่อฝนฟ้า คะนอง ร่างการทรุดโทรม มีอาการประสาทหลอน จิตใจสับสนโทษทางกฎหมาย
กระท่อมเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 5 ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 9. สารยาเสพติดอันตราย เห็ดขี้ควาย (Magic Mushroom) : เห็ดขี้ควายเป็นเห็ดพิษซึ่งขึ้นอยู่ตามกองมูลควายแห้ง สีของเห็ดจะมีสีเหลืองซีด คล้ายสีฟางแห้ง บนหัวของร่ม จะมีสีน้ำตาลเข้มจนถึงสีดำบริเวณก้าน (Stalk) บริเวณใกล้ตัวร่มจะมีแผ่นเนื้อเยื่อบางๆ สีขาว แผ่ขยายออก รอบก้าน แผ่นนี้มีลักษณะคล้ายวงแหวนฤทธิ์ในทางเสพติด
ในเห็ดขี้ควายมีสารออกฤทธิ์ทำลายประสาทอย่างรุนแรงคือ ไซโลซีน และ ไซโลไซบีน ผสมอยู่ ซึ่งออกฤทธิ์ หลอนประสาท เมื่อบริโภคเข้าไปจะทำให้มีอาการเมา เคลิบเคลิ้มและบ้าคลั่งในที่สุด หากบริโภคเข้าไปมากๆ หรือผู้ที่บริโภคเข้าไปมีภูมิต้านทานน้อย อาจทำให้เกิดอันตรายถึงแก่ชีวิตได้โทษทางกฎหมาย
เห็ดขี้ควายจัดเป็นยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 5 ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 10. สารยาเสพติดอันตราย ยาเค (ketamine) ยาเค มาจากคำว่า เคตามีน (ketamine) หรือชื่อทางการค้าว่า เคตาวา (Ketava) หรือเคตาลา (Ketalar) หรือคาสิบโชล ซึ่งตามพระราชบัญญัติวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 เป็นวัตถุออกฤทธิ์ใน ประเภท 2 หมายถึง ยาที่มีอันตรายสูงที่แพทย์จะจ่ายให้กับผู้ป่วย เฉพาะเมื่อมีความจำเป็นจริง ๆ เท่านั้น สาเหตุที่ทำให้ยาเคกลายเป็นปัญหา เพราะวัยรุ่นบางกลุ่มได้นำยาเคมาใช้เป็นสิ่งมึนเมา โดยนำมาทำให้เป็นผง นำมาสูดดมเพื่อให้เกิดอาการมึนเมา และมักพบว่ามีการนำยาเค มาใช้ร่วมกับยาเสพติดร้ายแรงชนิดอื่น เช่น ยาอี และโคเคนฤทธิ์ในทางเสพติด
ยาเค เป็นยาที่ออกฤทธิ์หลอนประสานอย่างรุนแรง เมื่อเสพ เข้าไปจะรู้สึกเคลิบเคลิ้ม (Euphoria) รู้สึกว่าตนเองมีอำนาจพิเศษ (Mystical) มีอาการสูญเสียกระบวนการ ทางความคิด ความคิดสับสน การรับรู้และตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมทั้งภาพ แสง สี เสียงจะเปลี่ยนแปลงไป ตาลาย ร่างกายเคลื่อนไหวไม่สัมพันธ์กัน หากใช้ปริมาณมากจะเกิดการติดขัดในการหายใจ หากใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน จะปรากฏอาการเช่นนี้อยู่บ่อย ๆ เรียกว่า Flashback ซึ่งท้ายที่สุดแล้ว จะทำให้ผู้เสพประสพกับสภาวะโรคจิต และกลายเป็นคนวิกลจริตได้ ความคิดสับสน ตาลาย หูแว่ว การรับรู้และ การตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมจะเปลี่ยนแปลงไป การเคลื่อนไหวของร่างกายไม่สัมพันธ์กันกฎหมายยาเสพติด ที่วัยรุ่นควรรู้!!