สำหรับกรณีที่กระทรวงอุตสาหกรรม ออกพระราชกฤษฎีกา กำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่องสุขภัณฑ์เซรามิก-โถส้วมนั่งราบต้องเป็น ไปตามมาตรฐานนั้นหรือเปลี่ยนเป็นแบบชักโครก เพื่อให้มีความสะอาด ปลอดภัยรวมถึงควบคุมป้องกันไม่ให้เชื้อโรคแพร่ระบาดได้ดีขึ้นนั้น ถือว่าเป็นเรื่องดีเพราะปัจจุบันใช้ส้วมสาธารณะ ยังคงเป็นอีกปัจจัยที่ทำให้เกิดการปนเปื้อนของเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกายได้ จากการที่ผู้ใช้ไม่ล้างมือให้สะอาดแล้วไปจับกลอนประตู, ก๊อกน้ำ และสุขภัณฑ์ต่างๆ แล้วไปจับอาหารกินทำให้เกิดอาการท้องร่วงได้
ขณะ เดียวกันตอนนี้หลายคนใช้ห้องน้ำสาธารณะแบบมีชักโครกผิดวิธี โดยใส่รองเท้าที่เปื้อนดินขึ้นไปนั่งบนฝารองนั่งทำให้ผู้ที่มาใช้ต่อไม่ สามารถใช้ต่อได้ ซึ่งอาจทำให้ผู้ที่มาใช้ต่อเกิดโรคติดเชื้อราในดินได้ เนื่องจากในดินมีเชื้อราต่างๆ ทำให้ผู้ที่มาใช้ชักโครกที่เปื้อนอาจเกิดอาการติดเชื้อได้หากมีรอยบาดแผล
ซึ่งกรมอนามัยเผย 3 จุดอันตรายในห้องส้วมสาธารณะปนเปื้อนเชื้อโคลิฟอร์ม ต้นเหตุโรคอุจจาระร่วง
อันดับ 1 คือ บริเวณที่จับสายฉีดชำระ
จุดที่ 2 คือ บริเวณพื้นห้องส้วม
จุดที่ 3 คือ ที่รองนั่งชักโครก
นอกจากนี้ยังมีจุดเสี่ยงต่อการปนเปื้อนเชื้อโรคอีก 4 จุด คือ ที่กดน้ำทำความสะอาดในห้องส้วม ก๊อกน้ำ ลูกบิดประตู และอ่างล้างมือ
แนว ทางป้องกันเชื้อโรคที่แฝงอยู่ในห้องน้ำสาธารณะ ควรตรวจดูฝารองนั่งชักโครกก่อนทุกครั้งว่ามีความสะอาดหรือไม่ ขณะเดียวกันหลังเข้าห้องน้ำเสร็จควรล้างมือให้สะอาดทั้งหน้ามือ หลังมือ และตามซอกนิ้ว
เรียบเรียงข้อมูล : Chalida Rita
อ้างอิงจาก : กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข