ท้าทายจังหวัดออกแบบ 12 สถานีรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ –เชียงใหม่

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ใกล้ความจริงเข้ามาทุกทีสำหรับโครงการรถไฟความเร็วสูงที่ได้รับการยืนยันว่าจะประกวดราคาตัวรถและระบบภายในไตรมาสที่สาม 2556 นี้ และมีแนวคิดจากนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม  โครงการรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) ว่ามีแนวคิดจะให้แต่ละจังหวัดที่รถไฟความเร็วสูงผ่านออกแบบสถานีเอง เพื่อให้เป็นเอกลักษณ์ของแต่ละจังหวัด โดยสามารถนำสินค้าโอท็อปของแต่ละจังหวัดเข้าไปจำหน่ายได้ ซึ่งผมคิดว่าเป็นเรื่องท้าทายและเชื่อว่าแต่ละจังหวัดที่อยู่ในเส้นทาง 12 สถานีก็อาจจะไม่ได้เตรียมเรื่องนี้ ยกเว้นบางซื่อที่ได้แบบมาแล้วเบื้องต้น

 

 

 

ด้านนายจุฬา สุขมานพ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยว่า  รถไฟความเร็วสูง หรือไฮสปีดเทรน สายกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ระยะทาง 680 กิโลเมตร จะใช้เงินลงทุน 387,821 ล้านบาท แยกเป็นช่วง กรุงเทพฯ-พิษณุโลก 382 กิโลเมตร เงินลงทุน 204,221 ล้านบาท และพิษณุโลก-เชียงใหม่ 363 กิโลเมตร เงินลงทุน 183,600 ล้านบาท ซึ่งจะได้ข้อสรุปในอีก 3 เดือน ราวเดือนเมษายน-พฤษภาคม ก่อนเสนอให้กระทรวงคมนาคมพิจารณา เปิดประมูลในเดือนกันยายน

 

สำหรับจุดที่ตั้งสถานีใน เบื้องต้น ประกอบด้วย

สถานีบางซื่อ อยู่บริเวณย่านบางซื่อ ที่จะเป็นศูนย์การคมนาคมขนส่ง ทั้งรถไฟฟ้า รถไฟความเร็วสูง และรถไฟชานเมือง พระนครศรีอยุธยา มี 2 ทางเลือก ตั้งอยู่ที่เดิม และเลี่ยงออกมานอกเมือง เพื่อเลี่ยงพื้นที่วัด บ้านภาชี คาดว่าจะอยู่จุดเดิม ลพบุรี มี 2 ทางเลือก คือสร้างที่เดิม หรือขยับออกนอกเมือง เนื่องสถานีเดิมจะผ่านพื้นที่วัดพระปรางสามยอด นครสวรรค์ มี 2 ทางเลือก คือจุดเดิม หรือขยับเข้าใกล้ตัวเมืองมาทางด้านใต้ของตัวเมืองนครสวรรค์ เลาะไปตามบึงบอระเพ็ด สถานีพิจิตร จะย้ายไปสร้างบนพื้นที่ใหม่นอกเมืองมาทางด้านตะวันออกของแม่น้ำน่าน สถานี พิษณุโลก จะอยู่ห่างไปจากสถานีรถไฟเดิม ไปทางถนนวงแหวนรอบนอก อุตรดิตถ์ จะเลื่อนไปที่สถานีรถไฟศิลาอาสน์แทน สถานีเด่นชัย ยังอยู่จุดเดิม สถานีลำปาง ยังอยู่จุดเดิม สถานีลำพูน กำลังหาที่สร้างใหม่ และ สถานีเชียงใหม่ จะขยับตำแหน่งลงมาจากสถานีเดิมเล็กน้อย เนื่องจากจุดเดิมถนนเข้า-ออกแคบ

 

(สำหรับเชียงใหม่มีการเก็งว่าจะเป็นพื้นที่ใกล้ ๆ โรงเรียนมงฟอร์ตมัธยมเพราะเป็นแปลงใหญ่ทีเดียว)

โดยในส่วนการก่อสร้างทางรถไฟช่วงกรุงเทพฯ-พิษณุโลกจะประมูลและก่อสร้างก่อน ช่วงต้นปี 2557 ใช้เวลา 4 ปี พร้อมเปิดให้บริการในปี 2561 ส่วนพิษณุโลก-เชียงใหม่ต้องทำรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม เพราะตัดผ่านพื้นที่ภูเขาจำนวนมาก ตั้งแต่อุตรดิตถ์-เชียงใหม่ ต้องเจาะอุโมงค์ยาวรวมกันถึง 50 กิโลเมตร แต่จะช้ากว่ากันไม่มากประมาณ 1 ปี

 

ล่าสุดบริษัทที่ปรึกษาอยู่ ระหว่างกำหนดจุดที่ตั้งสถานีให้ชัดเจน เนื่องจากบางสถานีอาจต้องขยับตำแหน่งใหม่เพื่อหลีกเลี่ยงโบราณสถาน เช่น พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี หรือเลือกจุดที่ตั้งที่มีศักยภาพเพียงพอที่จะพัฒนาเชิงพาณิชย์ได้ ขณะเดียวกันต้องแก้ไขปัญหาจุดตัดรถไฟกับถนนทับซ้อนอีก 336 แห่ง โดยจะก่อสร้างในหลายรูปแบบ แล้วแต่พื้นที่ เช่น ทางลอด ทางยกระดับ เป็นต้น เพื่อให้การเดินทางรวดเร็วในเวลา 3 ชั่วโมงเศษ

 

สำหรับรูปแบบสถานีเห็นว่าสถานียิ่งใหญ่ยิ่งดี จะพัฒนาได้มากขึ้น เมื่อโครงการเสร็จจะเปิดพื้นที่การพัฒนาใหม่ ๆ ตลอดเส้นทาง และโดยรอบสถานีทั้ง 12 แห่ง เช่น ร้านค้า ที่อยู่อาศัย ศูนย์การค้า เป็นต้น สอดคล้องนโยบายรัฐบาลที่ต้องการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แนวเส้นทาง เหมือนญี่ปุ่น


นายสาธิต มาลัยธรรม รองผู้จัดการโครงการกลุ่มบริษัทที่ปรึกษา เปิดเผยว่า การก่อสร้างส่วนใหญ่ประมาณ 90% จะสร้างรางใหม่บนเขตทางรถไฟเดิมมีอยู่ฝังละ 40 เมตร และจะเวนคืนเฉพาะช่วงทางโค้ง เนื่องจากใช้ความเร็วสูง รวมถึงจุดที่ตั้งสถานีจะต้องเวนคืนเพื่อให้พอจะวางรางรถไฟขนาด 1.435 เมตร และพัฒนาเชิงพาณิชย์โดยรอบแต่บอกไม่ได้ แต่จะมีขนาดใหญ่แค่ไหน อาจเป็น 100 ไร่ก็ได้

ส่วนรูปแบบก่อสร้างมีทั้งยกระดับและอยู่บนระดับพื้นดิน โดยช่วงกรุงเทพฯ-พิษณุโลก จะสร้างบนเขตทางด้านขวามือ (มุ่งหน้าจากกรุงเทพฯไป) มีสถานีเดิมอยู่ด้านซ้าย และโครงสร้างจะยกระดับตั้งแต่กรุงเทพฯ-พระนครศรีอยุธยา จากนั้นจะลดระดับลงพื้นที่ดิน ยกเว้นผ่านตัวเมืองจะยกระดับในบางจุด เช่น พิษณุโลก สำหรับช่วงพิษณุโลก-เชียงใหม่ จะสร้างบนเขตทางด้านซ้ายและขวาของสถานี ขึ้นอยู่กับสภาพพื้นที่ ส่วนโครงสร้างส่วนใหญ่จะเป็นระดับพื้นดิน

นายสาธิตกล่าวว่า จุดที่ตั้งของทั้ง 12 สถานี ยังอยู่ระหว่างสำรวจ เนื่องจาก สนข.ต้องการให้พัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์โดยรอบและสร้างเป็นเมืองใหม่ในแนว เส้นทาง จึงต้องเลือกจุดที่ตั้งที่เข้า-ออกสะดวก มีศักยภาพในการพัฒนาไม่หนาแน่นมากเกินไป และเชื่อมต่อกับจังหวัดอื่น ๆ โดยรอบได้ อีก 1 เดือนจะได้ข้อสรุปชัดเจน

 

 

ความเคลื่อนไหวอีกด้านหนึ่งตอนนี้คือวงการที่ดินและพัฒนาอสังหาริมทรัพย์วิ่งกันขาขวิดแย่งทำเลทอง 12 สถานีเป้าหมายซึ่งจะเป็นย่านธุรกิจ และพาณิชย์ ที่ครบวงจรแห่งใหม่ในอนาคตก็อยากให้แต่ละจังหวัดออกแบบสถานีที่เป็นเอกลักษณ์แบบที่ไม่เชย หวังว่าเชียงใหม่คงมีการประยุกต์แบบล้านนาโมเดิรน์มาใช้นะครับ

Credit: http://board.postjung.com/674007.html
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...