นิตยสารไทม์ ฉบับวันที่ 22 เม.ย. 56 ได้รวบรวมกฎหมายยาเสพติดและบทลงโทษที่รุนแรงของแต่ละประเทศซึ่งได้ชื่อว่ารุนแรงที่สุดในโลก ซึ่งเมื่อไม่นานมานี้ ประเทศอินโดนีเซีย ได้พิพากษาประหารชีวิต ลินด์เซย์ แซนลิฟอร์ด หญิงชรา รุ่นคุณยายวัย 87 ปี ฐานลอบขนโคเคนน้ำหนัก 4.8 กิโลกรัม ซึ่งนี่ถือเป็นบทลงโทษที่ค่อนข้างรุนแรง แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า จะมีแค่อินโดนีเซียประเทศเดียวที่กำหนดโทษรุนแรง
โทษประหารชีวิต
จาก พ.ร.บ.การใช้สารเสพติด ปี ค.ศ.1973 ของสิงคโปร์ ได้ระบุบทลงโทษสำหรับฐานความผิดที่ลักลอบขนโคเคนน้ำหนัก 30 กรัมขึ้นไป อาจถูกพิพากษาประหารชีวิตได้
ขังคุก
ฐานความผิดนี้ ขึ้นอยู่กับปริมาณของสารเสพติด โดยกฎหมายอาญาของจีนระบุว่า กำหนดโทษจำคุกตั้งแต่ 15 ปี ไปจนถึงประหารชีวิต
แขวนคอ
พ.ร.บ.สารเสพติดชนิดรุนแรง ปี ค.ศ.1952 ของมาเลเซีย กำหนดว่าหากลักลอบขนยาเสพติดมากกว่า 50 กรัมขึ้นไป สามารถลงโทษประหารชีวิต ซึ่งอาจทำด้วยวิธีการแขวนคอ
ประหารชีวิต ด้วยการตัดศีรษะ
นับตั้งแต่ ระบบยุติธรรมในของซาอุดิอาระเบียได้ยึดแนวทางกฎหมายชารีอะฮ์ ตามหลักศาสนาอิสลาม ซึ่งมีการกำหนดบทลงโทษที่ค่อนข้างรุนแรง โดยโทษสำหรับการค้ายาเสพติด คือ การประหารชีวิต ซึ่งอาจทำด้วยการตัดศีรษะ
ส่วนในประเทศไทย ได้กำหนดโทษระดับต่างๆ ตามประเภทของยาเสพติด และกำหนดโทษสูงสุด คือ จำคุกตลอดชีวิต แต่ในช่วงหลัง มีความพยายามผลักดันเพิ่มบทลงโทษเป็น ประหารชีวิต จาก ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี