ชาวมุสลิม (ผู้นับถือศาสนาอิสลาม) ถือว่าการแต่งงาน หรือเรียกกันตามภาษามุสลิมว่า “พิธีนิกาห หรือ นิกะห์ (Nikah)” เป็นความสัมพันธ์ระหว่างชายกับหญิง เป็นสิ่งที่ทำให้มนุษย์มีความสูงส่งเหนือสัตว์โลกอื่นๆ และเชื่อว่าความผูกพันระหว่างชายหญิงเป็นความผูกพันกันด้วยชีวิต เพราะต่างก็เปรียบเหมือนวงกลมที่ถูกแบ่งเป็นสองส่วนและแยกจากกัน แต่ อัลลอฮ สุบหฯ บันดาลให้มาบรรจบกันจนกลายเป็นวงกลมที่สมบูรณ์
สำหรับเรื่องของการแต่งงานหรือประกอบพิธี “นิกาห” นั้น ได้แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ
1. การแต่งงานตามบทบัญญัติของศานา
2. การแต่งงานตามประเพณีที่ปฏิบัติกัน
ที่ต้องแบ่งเพราะ 2 ประเภทมีความแตกต่างกันอย่างมาก เพราะการแต่งของชาวมุสลิมบางคนผสมผสานวัฒนธรรมชุมชนเข้าไป เช่น การแห่เจ้าสาวเข้ามัสยิดโดยมีต้นกล้วยต้นอ้อยนำหน้าขบวน หรือการมีขนมหวานอย่างการแต่งงานแบบไทยนั้น เป็นการแต่งงานแบบของมุสลิมที่ไม่ใช่อิสลาม เพราะการแต่งงานแบบอิสลามนั้นเป็นบทบัญญัติมากกว่า 1,400 ปี และห้ามเสริมเติมแต่งหลักการที่มีอยู่เป็นอย่างอื่น
สำหรับประเพณีการแต่งงานในศาสนาอิสลาม ก็ไม่ต่างอะไรกับศาสนาอื่น กล่าวคือจะมีการเริ่มต้นที่ "การสู่ขอ" เช่นเดียวกัน
แต่อย่างไรก็ตาม ในประเพณีอิสลามนั้นยังมีข้อกำหนดถึงสตรีที่บุรุษสามารถขอแต่งงานได้เอาไว้ ด้วยว่า ส...ั้นจะต้องไม่ได้อยู่ระหว่าง " อิดดะฮฺ " กล่าวคือ อยู่ในช่วง 3 เดือนแรกของการหย่าร้าง หรือสามีเสียชีวิต นั่นเอง ทั้งนี้ต้องรอจนครบ 4 เดือนแล้วจึงจะสู่ขอได้
หลักการแต่งงานของอิสลามมีเงื่อนไขหลักอยู่ 5 ข้อปฏิบัติ ซึ่งถ้าชายหญิงปฏิบัติเพียง 5 ข้อนี้ได้ ก็จะได้ชื่อว่าได้แต่งงานกันอย่างถูกต้อง เป็นสามีภรรยาตามหลักของอิสลามแล้วส่วนการจดทะเบียน สมรสนั้นเป็นเรื่องของสังคมและกฎหมายที่เข้ามาเป็นองค์ประกอบเท่านั้น
เงื่อนไขหลัก 5 ข้อปฏิบัติ คือ
1. เจ้าบ่าว
2. “วะลีย์” (ผู้ปกครองของเจ้าสาว) ซึ่งต้องเป็นผู้ปกครองทางด้านเชื้อสายและเป็นผู้ที่ไม่สามารถแต่งงานกับเจ้า สาวได้ หมายถึงคุณพ่อของเจ้าสาว พี่ชายแท้ๆ ญาติสนิทแท้ๆ
3. พยาน 2 คน ต้องเป็นผู้ชายที่มีคุณธรรม คือเป็นผู้ที่เคร่งศาสนา เช่นผู้ที่ทำละหมาดวันละ 5 ครั้ง
4. คำเสนอของ “วะลีย์”
5. คำสนองของเจ้าบ่าว
เงื่อนไขหลักในการแต่งงานที่ถูกต้อง
- เป็นการยินยอมในการอยู่กินฉันสามีภรรยา ของคู่แต่งงานเอง และญาติๆ ทั้งสองฝ่าย
- มีการมอบสินสอด เพื่อเป็นของกำนัลที่เจ้าบ่าวพึงมีต่อเจ้าสาว
- ประกอบด้วยพยานในพิธี อย่างน้อย 2 คน ชายหรือหญิงก็ได้ นิยมเป็นผู้ชายและต้องเคร่งเรื่องศาสนา เช่นผู้ที่ทำละหมาด 5 ครั้ง/วัน เป็นต้น
- มีการประกาศเพื่อเฉลิมฉลองพิธีแต่งงานอย่างเป็นทางการให้สังคมรับรู้
เมื่อฝ่ายหญิงตกลงแต่งงานและมีการกำหนด "มะฮัร" ซึ่งเป็นเงินที่ฝ่ายชายมอบให้ฝ่ายหญิง ตามที่ฝ่ายหญิงเรียกร้อง และเงินนั้นจะเป็นของฝ่ายหญิงแต่เพียงผู้เดียว จากนั้นก็หาวันแต่งงานตามสะดวก ทั้งนี้ในวันแต่งงานจะต้องมีการยกของหมั้น หรือมะฮัร ไปที่บ้านเจ้าสาว ซึ่งก็จะมีการทำ พิธีอะกัด-นิกาฮ ต่อหน้าสักขีพยาน จะเป็นชาย 2 หรือว่าหญิงสองคนก็ได้
คำสอนก่อนแต่งงาน
ก่อนทำพิธีนิกาห โต๊ะครู อาจารย์ บาบอ อุซตาซ ซึ่งเป็นชื่อเรียกผู้รู้ตามหลักศาสนาอิสลามที่แตกต่างกันไปตามพื้นที่ สถานที่ จะเป็นผู้ที่ทำพิธีนิกะหให้ ในหลักการของศาสนาอิสลามไม่ได้ระบุชัดเจนว่าต้องทำที่ไหนใครสะดวกที่ไหนก็ทำ ที่นั่น
ข้อห้าม
สิ่งที่อิสลามห้ามใครทำและเป็นโทษมหันต์ คือ การเชื่อถือโชคลาง เพราะเป็นเรื่องผิดหลักศาสนาอย่างไม่ควรให้อภัย คนอิสลามจะแต่งงานกันเมื่อไหร่ก็ได้ ยิ่งแต่งงานกันในวันที่คนอื่นไม่แต่งยิ่งดีเพราะเป็นการพิสูจน์ว่าเราไม่ เชื่อเรื่องฤกษ์ยาม อีกประการหนึ่งที่ชาวมุสลิมบางพื้นที่อาจลืมก็คือ การแต่งงานของอิสลามจะไม่มีการแห่ใดๆ ทั้งสิ้น ถ้าเห็นมุสลิมแต่งงานแล้วมีการแห่ นั่นคือการแต่งงานของมุสลิมที่ไม่ใช้อิสลาม
รักกันแต่ต่างศาสนา
อิสลามไม่อนุญาตให้คู่รักต่างศาสนาแต่งงานกัน แต่ถ้ารักกันจริงๆ ต้องเข้าไปเป็นอิสลามก่อน โดยการเรียนรู้ศาสนาให้เข้าใจถึงหลักของอิสลามโดยถ่องแท้จากผู้รู้ เพราะไม่อย่างนั้นจะไม่เข้าสู่เงื่อนไข 5 ข้อของการแต่งงานตามหลักอิสลาม และถ้าเจ้าสาวนับถือศาสนาอื่นก่อนมารับถือศาสนาอิสลาม หรือคนในครอบครัวยังคงนับถือศาสนาเดิมอยู่ ก่อนการแต่งงานจะต้องแต่งตั้งผู้อื่นให้ทำหน้าที่ผู้ปกครองแทน ผู้แทนอาจเป็นครูที่สอนศาสนาให้ก็ได้ หรือเป็นผู้รู้ที่เคารพนับถือก็ได้
รายละเอียดของการนิกาหตามหลักอิสลาม
ประเพณีการแต่งงานในศาสนาอิสลาม เริ่มจากการสู่ขอ โดยมีเงื่อนไขว่าต้องสู่ขอสตรีที่สามารถแต่งงานได้ด้วยเท่านั้น หมายถึงหญิงที่ไม่ได้อยู่ระหว่าง อิดดะฮ (อยู่ในช่วงสามเดือนแรกของการหย่าร้าง) หรือหญิงสามีตาย (ซึ่งต้องรอจนครบสี่เดือนกับสิบวันเสียก่อนจึงจะสู่ขอได้) เมื่อฝ่ายหญิงตอบตกลงและกำหนด “มะฮัร” คือเงินที่ฝ่ายชายมอบให้ฝ่ายหญิง (ตามที่ฝ่ายหญิงเรียกร้องและเงินนั้นจะเป็นสิทธิ์ของฝ่ายหญิงแต่เพียงผู้เดียว) เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ก็ต้องหาวันแต่งงานตามสะดวก วันแต่งงานเจ้าบ่าวจะต้องยกของหมั้นหรือมะฮัรมาที่บ้านเจ้าสาว หรือนัดวะลีย์และพยานทั้งสองฝ่ายไปเจอกันที่มัสยิดก็ได้
คำกล่าวที่ใช้ในพิธีนิกาห หรือ พีธีนิกะห์
คำเสนอของวะลีย์ คือ คำกล่าวของผู้ปกครองฝ่ายเจ้าสาวเพื่อให้เจ้าบ่าวยอมรับการแต่งงานครั้งนี้ มีหลักใหญ่ใจความว่า
“ฉันนิกาฮท่าน (ชื่อเจ้าบ่าว) กับลูกสาว (ชื่อเจ้าสาว) ด้วยมะฮัรที่ตกลงกันไว้”
เมื่อวะลีย์กล่าวคำเสนอจบแล้ว เจ้าบ่าวต้องกล่าวคำสนองว่า
“ผมรับการนิกาหกับนางสาว (ชื่อเจ้าสาว) ด้วยมะฮัรตามที่ตกลงไว้”
หลังจากนั้นจะมีการอ่านคัมภีร์อัลกรุอาน (บทที่ว่าด้วยการครองเรือน) ให้บ่าวสาวฟัง เพียงแค่นี้ก็เสร็จสมบูรณ์
"วลีมะฮ" การเลี้ยงฉลองการแต่งงาน
หลังแต่งงานสามารถจัดงานเลี้ยงฉลองได้ เรียกว่า “วะลีมะฮ” ซึ่งจัดเลี้ยงที่บ้าน สโมสร หรือโรงแรมก็ได้ ตามสะดวก การเลี้ยงฉลองอาจไม่ต้องทำในวันเดียวกับวันนิกาหก็ได้ แต่การเลี้ยงฉลองนั้นต้องไม่เกิน 2 วัน เพราะอิสลามเคร่งครัด ในเรื่องของงานเลี้ยงที่ฟุ่มเฟือย
โดยมีคำกล่าวไว้ว่า “งานเลี้ยงที่เลวที่สุดคืองานเลี้ยงพิธีนิกาห และเลี้ยงเฉพาะคนรวย” เพราะศาสนาอิสลามเชื่อว่าทุกคนเท่าเทียมกันไม่มีการแบ่งชั้นวรรณะ
เกร็ดเล็กๆ น้อยๆ เกี่ยวกับอิสลาม
- มุสลิมใหม่เรียกว่า มุอัลลัฟ
- เมื่อเปลี่ยนมานับถือศาสนาอิสลามแล้ว ไปงานศพได้ แต่ห้ามร่วมพิธี
- อิสลามไม่ใช่เพียงการนับถือ แต่คือการปฏิบัติทุกอย่างในชีวิต
- มุสลิมที่ดีนอกจากไม่รับประทานหมู ก็ต้องไม่ดื่มเหล้าและทำละหมาด 5 เวลา มีกิริยาวาจาเรียบร้อย ไม่ล่วงละเมิดจับมือสาว
- สตรีที่ดีที่สุดคือสตรีที่เรียกมะฮัร (จากฝ่ายชาย) น้อยที่สุด
- หลังแต่งงาน “มะฮัร” จะเป็นของผู้หญิงครึ่งหนึ่งก่อน จนกว่าจะได้อยู่ด้วยกันโดยพฤตินัยแล้วจึงเป็นของฝ่ายหญิงทั้งหมด แต่หากหลังพิธีแต่งงานแล้วคู่สาวมิได้มีความสัมพันธ์ฉันสามีภรรยากันจริงๆ มะฮัรก็จะตกเป็นของผู้หญิงเพียงครึ่งเดียว