สารพันน้ำมันเพื่อสุขภาพ… รู้ให้ทันก่อนกิน!

 

 

 

 

 

 

โดย Lisaguru
เคยสงสัยมั้ยคะว่าบอกให้ลดของมัน ๆ น้ำมันเป็นสิ่งไม่ดี แต่ทำมั้ย-ทำไม ถึงมีอาหารเสริมรูปแบบน้ำมันออกมาเต็มท้องตลาดไปหมด แล้วน้ำมันพวกนี้ดีเวอร์เพอร์เฟ็กต์แค่ไหนกันนะ? วันนี้ Lisa มีคำตอบ


เครดิตภาพจาก jaowka

ขึ้น ชื่อว่า ไขมันก็ไม่จำเป็นว่าสาวๆ จะต้องร้องยี้ไปซะทุกชนิด ไขมันดีๆ ก็มีอยู่นะ พญ. วิมลัก เสือดี แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ชะลอวัยจากร.พ. สมิติเวช สุขุมวิท กล่าวว่าการกินน้ำมันเป็นอาหารเสริมนั้น มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อให้ร่างกายได้รับกรดไขมันโอเมก้า -3 ซึ่งเป็นกรดไขมันที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสุขภาพหัวใจ และยังช่วยลดการอักเสบที่เกิดขึ้นภายในเซลล์ทั่วร่างกายของเราด้วย โดยไม่ทำให้น้ำหนักหรือคอเลสเตอรอลเพิ่มขึ้น แต่ข้อควรระวังในการกินก็มีอยู่ไม่น้อย

 น้ำมันปลา น้ำมัน ที่สกัดจากปลาทะเลน้ำลึกที่มีไขมันสูง เช่น แซลมอน ทูน่า นี่เป็นน้ำมันชนิดเดียวที่คุณหมอแนะนำว่าควรกิน เพราะมีกรดไขมันไม่อิ่มตัวหลายชนิด โดยเฉพาะกรดไขมันกลุ่มโอเมก้า-3 ที่สำคัญ 2 ชนิดคือ กรดไอโคซาเพนตาอีโนอิก (EPA)ที่มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ ลดพวกอาการปวดข้อและกล้ามเนื้อ และกรดโดโคซาเฮ็กซาอีโนอิก (DHA) ที่ช่วยบำรุงสมอง ซึ่งสารพวกนี้ร่างกายไม่สามารถสร้างขึ้นเองได้ จำเป็นต้องได้รับจากอาหารเท่านั้น และยังมีกรดไขมันกลุ่มโอเมก้า-6 ซึ่งเป็นกรดไขมันที่สำคัญอีกชนิดหนึ่งที่มีผลในการลดไขมันในเลือดด้วย

 น้ำมันตับปลา สกัด จากตับของปลาทะเล เช่น ปลาคอด แฮลิบัต เฮอร์ริ่ง มีปริมาณวิตามินเอที่ช่วยควบคุมเยื่อบุผิวให้เป็นปกติ และวิตามินดีที่ช่วยในการดูดซึมแคลเซียมรวมทั้งฟอสฟอรัสบริเวณลำไส้เข้าสู่ ร่างกาย ส่วนไขมันโอเมก้า-3 นั้นมีบ้าง แต่ไม่เข้มข้นเท่ากับน้ำมันปลา ซึ่งตามจริงแล้วร่างกายเราสามารถรับวิตามินเอได้จากการกินผักผลไม้สีส้ม เช่น แครอต ส่วนวิตามินดีนั้นก็รับได้จากแสงแดดอยู่แล้ว

 น้ำมันดอกอีฟนิ่งพริมโรส เป็น แหล่งของโอเมก้า-6 ช่วยในการรักษาภาวะประจำเดือนผิดปกติ เช่น อาการปวดประจำเดือน ความหงุดหงิดก่อนมีประจำเดือนอาการจากเยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis) คลายการเจ็บเต้านมช่วงก่อนมีประจำเดือน ลดอาการบวม หรือสิวขึ้นก่อนมีประจำเดือนได้

 น้ำมันเมล็ดแฟล็กซ์ ถ้า คุณเป็นมังสวิรัติแต่ไม่อยากขาดโอเมก้า-3 น้ำมันจากเมล็ดแฟล็กซ์ก็เป็นตัวเลือกที่ดี ถึงแม้จะแรงไม่เท่าน้ำมันตับปลาแต่ก็พอจะทดแทนกันได้ นอกจากนี้ กรดอัลฟ่าไลโนเลอิก (ALA) ยังมีประโยชน์ในการป้องกันโรคหัวใจและโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะได้ด้วย

 น้ำมันรำข้าว มี ฤทธิ์ในการต้านการอักเสบน้อยมากเพราะมีกรดไขมันโอเมก้า-3 อยู่แค่ประมาณ 1% เท่านั้น แต่มีกรดไขมันโอเมก้า-6 สูงถึงประมาณ 40% หากกินมากๆ โดยไม่กินโอเมก้า -3 อาจทำให้เกิดอาการปวดข้อได้ เหมาะกับการนำมาใช้ประกอบอาหารมากกว่ารับประทานเป็นอาหารเสริม

 น้ำมันมะพร้าว แตก ต่างจากน้ำมันที่กล่าวมาทั้งหมด เพราะน้ำมันมะพร้าวประกอบด้วยไขมันอิ่มตัวราว 92% แต่เป็นชนิดพิเศษที่ต่างออกไปจากไขมันอิ่มตัวในมันจากสัตว์ มีคุณสมบัติที่ต่างไปจากอาหารไขมันอิ่มตัวสูงอื่นๆ แต่พวกคุณสมบัติต้านไวรัส ต้านแบคทีเรีย ลดความเสี่ยงเบาหวานนั้นยังไม่มีการพิสูจน์และยอมรับในวงกว้าง หากจะกินก็ควรกินแต่น้อยเท่านั้น

Tip

  ข้อ ควรระวังในการกินอาหารเสริมโอเมก้า-6 สูง ๆ ก็คือ คุณจำเป็นต้องบาลานซ์ด้วยโอเมก้า-3 เพราะหากกรดไขมันสองตัวนี้ไม่สมดุลจะทำให้มีเรื่องของการอักเสบและการปวดข้อ มากขึ้น

  การเลือกน้ำมันปลาต้องดูปริมาณ EPA และ DHAในแต่ละเม็ด หากมีปริมาณสูงก็ควรกินให้น้อยเม็ดลง

  ก่อนซื้อควรหาอ่านรีวิวของแต่ละยี่ห้อก่อน รวมถึงอาจสืบค้นไปถึงแหล่งผลิตว่าเสี่ยงต่อการปนเปื้อนหรือไม่
 

Credit: http://women.postjung.com/672021.html
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...