เมืองพาโร เมืองที่สวยที่สุด แห่ง ภูฏาน

 

 เมืองพาโร เมืองประวัติศาสตร์อันยาวนาน แห่ง ภูฏาน ดินแดนซึ่งโอบล้อมด้วยหุบเขา และแม่น้ำสายสำคัญไหลผ่าน ผสานเป็นทัศนียภาพอันงดงาม กลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงที่สุดแห่งหนึ่ง

เมืองพาโร แห่ง ภูฏาน

เมืองพาโร (Paro) อยู่ทางตะวันตกของ ภูฏาน ห่างจากเมืองหลวงทิมพู ประมาณ 53 กิโลเมตร มีแม่น้ำ 3 สายไหลผ่าน คือ แม่น้ำตอสา แม่น้ำวัง และแม่น้ำพูนาซอง ด้วยลักษณะทางภูมิศาสตร์และกาลเวลา พาโร ถือเป็นเมืองที่เก่าแก่ที่สุดและสวยที่สุดในภูฏาน

รินปุง ซอง เมือง พาโร  

จุดหมายแรก เมื่อมาเยือน เมืองพาโร คือ รินปุง ซอง (Rinpung Dzong) หรือรู้จักกันดีในชื่อว พาโรซอง (Paro Dzong) แปลว่า ป้อมปราการแห่งอัญมณี ถูกสร้างขึ้นโดย Shabdrung Ngawang Namgyal ในปี ค.ศ. 1644 หลังจากนั้น พาโรซอง ถูกยกให้เป็นศูนย์กลางการบริหาร และเคยถูกใช้เป็นสถานที่ถ่ายทำภาพยนตร์สารคดีชื่อดัง Little Buddha

………………………………………..

 

พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติภูฏาน

อีกสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจของ เมืองพาโร คือ พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติภูฏาน (National Museum of Bhutan) ซึ่งอดีตเคยเป็นป้อมปราการ หรือ ตาซอง (Ta Dzong) แต่ถูกปรับเปลี่ยนมาเป็นพิพิธภัณฑ์ในปี ค.ศ.1968 มีทั้งหมด 6 ชั้น เป็นที่เก็บรวบรวมดวงตราไปรษณีย์ เหรียญกษาปณ์ เครื่องแต่งกาย อาวุธและเครื่องมือต่างๆ รวมถึงสัตว์ป่าแถบเทือกเขาหิมาลัย

………………………………………..

วัดคยิจุ เมืองพาโร

ต่อกันด้วย หนึ่งในวัดที่เก่าแก่ที่สุดในภูฏาน วัดคยิจุ (Kyichu Lhakhang) สร้างขึ้นในช่วงปี ค.ศ. 659 โดยพระเจ้า Songsten Gampo กษัตริย์แห่งทิเบต ภายในวัดประกอบไปด้วยอาคาร 2 หลัง และเป็นที่ประดิษฐานของ รูปปั้นของคุรุรินโปเช

………………………………………..

วัดทักซัง เมืองพาโร

สุดท้ายกับ วัดทักซัง (Taktshang) หรือเรียกกันว่า วัดถ้ำเสือ หรือ วัดรังเสือ (Tiger’s Nest) เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงที่สุดของ เมืองพาโร และเป็นไฮไลท์ที่ไม่ควรพลาด เพราะนอกจากจะสวยงามแล้ว ยังอัศจรรย์ด้วยฐานที่ตั้ง บนหน้าผาสูงจากพื้นดิน ประมาณ 900 เมตร ในอดีต วัดทักซัง เคยถูกไฟไหม้จนเสียหายหลายครั้ง แต่ก็ได้รับการบูรณะซ่อมแซมใหม่ จนกลายเป็นวัดที่ศักดิ์สิทธิ์และได้รับความศรัทธามากที่สุดจากนักแสวงบุญแดนหิมาลัย

ข้อมูล : travel.thaiza.com

Credit: http://travel.mthai.com/world-travel/38412.html
20 เม.ย. 56 เวลา 11:28 1,492 1 30
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...