สายพันธุ์ปลาน้ำเค็ม 5 END

 


ภาพที่ 1
ชื่อไทย
หางเหลือง
ชื่อสามัญ
YELLOWTAIL FUSILIER
ชื่อวิทยาศาสตร์
Caesio erythrogaster Cuvier & Valenciennes
ถิ่นอาศัย
พบบริเวณหน้าดินที่เป็นโคลนเลน พบห่างฝั่งตั้งแต่ 40-100 ม. พบทั้งในอ่าวไทยและทะเลอันดามัน
อาหาร
สัตว์น้ำวัยอ่อน
ขนาด
ความยาวประมาณ 25-40 เซนติเมตร
ประโยชน์
ใช้เป็นอาหาร

 


ภาพที่ 2
ชื่อไทย
อินทรีจุด ,อินทรีลายข้าวตอก
ชื่อสามัญ
INDO-PACIFIC SPANISH MACKEREL
ชื่อวิทยาศาสตร์
Scomberomorus guttatus (Bloch & Schneider)
ถิ่นอาศัย
พบอยู่ทั่วไปในอ่าวไทยฝั่งตะวันออกตั้งแต่ชลบุรี ระยอง จันทบุรีและตราด ทางฝั่งตะวันตกตั้งแต่ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร ปัตตานี นอกจากนี้ยังพบทางด้านทะเลอันดามันอีกด้วย
อาหาร
กินปลาผิวน้ำและสัตว์น้ำที่มีขนาดเล็กกว่า
ขนาด
ยาวตั้งแต่ 40-55 เซนติเมตร
ประโยชน์
เนื้อใช้ปรุงอาหารและทำปลาเค็ม

 


ภาพที่ 3
ชื่อไทย
อีคุดบั้ง
ชื่อสามัญ
GREY LARGE-EYE BREAM
ชื่อวิทยาศาสตร์
Gymnocranius griseus (Schlegel)
ถิ่นอาศัย
พบแพร่กระจายทั่วไปในอ่าวไทย อาศัยอยู่ตามพื้นทะเลที่เป็นเกาะแก่ง
อาหาร
กินปลาและสัตว์น้ำขนาดเล็ก
ขนาด
ความยาวประมาณ 10-30 เซนติเมตร
ประโยชน์
เนื้อปลาใช้ปรุงเป็นอาหาร

 


ภาพที่ 4
ชื่อไทย
อีปุดตาโต
ชื่อสามัญ
BIGEYE ILISHA
ชื่อวิทยาศาสตร์
Ilisha megaloptera (Swinson)
ถิ่นอาศัย
พบแพร่กระจายอยู่ในบริเวณชายฝั่งทะเลอันดามันและอ่าวไทย
อาหาร
กินปลาและสัตว์น้ำที่อาศัยอยู่ตามผิวน้ำเป็นอาหาร
ขนาด
ความยาวประมาณ 20-30 เซนติเมตร
ประโยชน์
เนื้อใช้ปรุงอาหารได้

 


ภาพที่ 5
ชื่อไทย
อีปุดยาว
ชื่อสามัญ
ELONGATED ILISHA
ชื่อวิทยาศาสตร์
Ilisha elaongata
ถิ่นอาศัย
พบแพร่กระจายทั่วไปทั้งในอ่าวไทยและทะเลอันดามัน
อาหาร
กินปลาและสัตว์น้ำขนาดเล็กที่อาศัยอยู่ตามผิวน้ำ
ขนาด
ความยาวประมาณ 30-40 เซนติเมตร
ประโยชน์
เนื้อปลาใช้ปรุงเป็นอาหารได้

 


ภาพที่ 6
ชื่อไทย
โอขาว
ชื่อสามัญ
FRIGATE MACKEREL
ชื่อวิทยาศาสตร์
Auxis thazard (Lacepede)
ถิ่นอาศัย
พบอยู่ทั่วไปบริเวณนอกฝั่งทะเลจากจังหวัดปัตตานีลงไปทางใต้และด้านทะเลอันดามัน
อาหาร
ปลาขนาดเล็กและปลาหมึก
ขนาด
ที่พบทั่วไปมีความยาว 25-40 เซนติเมตร
ประโยชน์
เนื้อปลาใช้ปรุงเป็นอาหาร

 


ภาพที่ 7
ชื่อไทย
โอดำ, โอหม้อ
ชื่อสามัญ
LONGTAIL-TUNA
ชื่อวิทยาศาสตร์
Thunnus tonggol (Bleeker)
ถิ่นอาศัย
มีแพร่กระจายอยู่ทั่วไป ทั้งอ่าวไทย ตั้งแต่ชลบุรี สัตตหีบ ลงไปจนถึงสงขลา และปัตตานี และทะเลอันดามัน
อาหาร
กินปลาผิวน้ำ กุ้งและหมึก
ขนาด
เป็นปลาโอขนาดเล็ก มีความยาวประมาณ 40-70 เซนติเมตร
ประโยชน์
เนื้อใช้ปรุงอาหาร

 


ภาพที่ 8
ชื่อไทย
โอแถบ
ชื่อสามัญ
SKIPJACK TUNA
ชื่อวิทยาศาสตร์
Euthynnus pelamis (Linnaeus)
ถิ่นอาศัย
ส่วนมากพบอยู่ในทะเลอันดามัน แถบจังหวัดระนอง พังงา ภูเก็ต และสตูล
อาหาร
กินปลาผิวน้ำขนาดเล็ก กุ้งและหมึก
ขนาด
ความยาวประมาณ 40-80 เซนติเมตร
ประโยชน์
เนื้อปลาใช้ปรุงเป็นอาหาร

 


ภาพที่ 9
ชื่อไทย
โอลาย
ชื่อสามัญ
EASTERN LITTLE TUNA
ชื่อวิทยาศาสตร์
Euthynnus affinis (Cantor)
ถิ่นอาศัย
พบในอ่าวไทยทั้งฝั่งทะเลตะวันออก และตะวันตก และบริเวณทะเลอันดามัน
อาหาร
กินปลาผิวน้ำซึ่งมีขนาดเล็กกว่า
ขนาด
ความยาวประมาณ 25-50 เซนติเมตร
ประโยชน์
เนื้อใช้ปรุงอาหารได้

 


ภาพที่ 10
ชื่อไทย
ปลาการ์ตูน
ชื่อสามัญ
Anemonefish


          ปลาการ์ตูนกับดอกไม้ทะเลเป็นเสมือนสิ่งที่ควบคู่กันปลาการ์ตูนและดอกไม้ทะเลเป็นส่วนหนึ่งในการเติม
สีสรรให้กับท้องทะเลปลาการ์ตูนเป็นปลาที่มีเอกลักษณ์ของมันเองโดยทั่วไปจะประกอบด้วยสีส้ม แดง ดำ เหลือง
และจะมีสีขาวพาดกลางลำตัว1-3  แถบ   อย่างไรก็ตามแม้จะเป็นชนิดเดียวกันมีสีแตกต่างกันเล็กน้อยเสมอซึ่งความ
แตกต่างนี้ทำให้ มันจำคู่ของมันได้ นอกจากนั้น แหล่งที่อาศัยที่แตกต่างกันทำให้เกิดการแปรผันของสีได้

 


ภาพที่ 11
1

 


ภาพที่ 12
2

 


ภาพที่ 13
3

 

ขอบคุณทุกท่านที่ตามชม ข้อมูลที่หาได้มีเท่านี้ครับ 
Credit: Dominic
19 เม.ย. 56 เวลา 11:37 3,691 2 50
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...