ภาพที่ 1
ชื่อไทย
ปากคมปีกสั้น, ตุ๊กแก
ชื่อสามัญ
SHORTFIN LIZARDFISH
ชื่อวิทยาศาสตร์
Saurida micropectoralis
ถิ่นอาศัย
มีอยู่ทั่วไปในบริเวณอ่าวไทยนับตั้งแต่จังหวัดระยอง ชลบุรี ชุมพร สงขลา ภูเก็ต ระนอง และในทะเลอันดามัน ชอบหากินอยู่ตามพื้นทะเล ซึ่งมีลักษณะเป็นโคลน หรือทรายปนโคลน โดยปกติเป็นปลาที่ชอบทรงตัวนิ่งอยู่กับที่ เวลาเคลื่อนตัวไปบนพื้นทะ
อาหาร
กินพวกสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังและลูกปลาตัวเล็ก ๆ
ขนาด
ความยาวประมาณ 17-50 ซม.
ประโยชน์
เป็นปลาที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจชนิดหนึ่ง
ภาพที่ 2
ชื่อไทย
ทรายขาวหูแดง
ชื่อสามัญ
LATTICE MONOCLE BREAM
ชื่อวิทยาศาสตร์
Scolopsis taeniopterus (Cuvier & Valenciennes)
ถิ่นอาศัย
หากินอยู่ตามพื้นดินที่เป็นโคลน และโคลนปนทราย บริเวณอ่าวไทย และทะเลอันดามัน
อาหาร
กินลูกปลาและลูกกุ้งขนาดเล็ก
ขนาด
ความยาวประมาณ 20-50 เซนติเมตร
ประโยชน์
ใช้บริโภค
ภาพที่ 3
ชื่อไทย
ทรายแดงกระโดง
ชื่อสามัญ
NOTCHED THREADFIN BREAM
ชื่อวิทยาศาสตร์
Nemipterus tolu (Cuvier & Valenciennes)
ถิ่นอาศัย
หากินอยู่ตามพื้นดินที่เป็นโคลน และโคลนปนทราย พบทั่วไปในอ่าวไทยและทะเลอันดามัน
อาหาร
กินลูกปลาลูกกุ้งและสัตว์น้ำขนาดเล็ก
ขนาด
ความยาวประมาณ 14-29 เซนติเมตร
ประโยชน์
เนื้อปลาใช้ปรุงอาหารได้ดี
ภาพที่ 4
ชื่อไทย
ทรายแดงญี่ปุ่น
ชื่อสามัญ
JAPANESE THREADFIN BREAM
ชื่อวิทยาศาสตร์
Nemipterus japonicus (Bloch)
ถิ่นอาศัย
พื้นท้องทะเลที่เป็นโคลน หรือโคลนปนทรายบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามัน
อาหาร
กินลูกปลา ลูกกุ้ง และสัตว์น้ำขนาดเล็ก
ขนาด
ความยาวประมาณ 12-32 เซนติเมตร
ประโยชน์
ใช้ในการบริโภค
ภาพที่ 5
ชื่อไทย
ทรายแดงโม่ง, อั้งโกลี้
ชื่อสามัญ
ORNATE THREADFIN BREAM
ชื่อวิทยาศาสตร์
Nemipterus hexodon (Ouoy & Gaimard)
ถิ่นอาศัย
อยู่รวมกันเป็นฝูง หากินบริเวณพื้นท้องทะเลที่เป็นโคลนหรือโคลนปนทราย พบทั่วไปในบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามัน
อาหาร
กินสัตว์น้ำที่มีขนาดเล็กกว่าซึ่งอาศัยอยู่บริเวณหน้าดิน
ขนาด
ความยาวประมาณ 20-30 เซนติเมตร
ประโยชน์
เนื้อปลาใช้ปรุงอาหารได้
ภาพที่ 6
ชื่อไทย
ทู
ชื่อสามัญ
SHORT-BODIED MACKEREL
ชื่อวิทยาศาสตร์
Rastrelliger brachysoma (Bleeker)
ถิ่นอาศัย
ผิวน้ำและกลางน้ำในทะเล พบแพร่กระจายทั่วไปทั้งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน
อาหาร
กินลูกปลา สัตว์ไม่มีกระดูกและแพลงค์ตอน
ขนาด
ความยาวประมาณ 15-20 เซนติเมตร
ประโยชน์
เป็นปลาเศรษฐกิจที่สำคัญมากชนิดหนึ่ง ประชาชนนิยมบริโภค โดยนำมานึ่ง ตากแห้งทำเค็ม ในอดีตเป็นสินค้าส่งออก ไปยังประเทศข้างเคียงได้เงินปีละมาก ๆ
ภาพที่ 7
ชื่อไทย
ทูแขกหางเหลือง
ชื่อสามัญ
YELLOW-TAIL ROUND SCAD
ชื่อวิทยาศาสตร์
Decapterus maruadsi (Schlegel)
ถิ่นอาศัย
อาศัยในทะเลระดับกลางน้ำ อ่าวไทยและทะเลอันดามัน เช่น ที่จังหวัดจันทบุรี ชลบุรี ประจวบคีรีขันธ์ สงขลา ภูเก็ต ระนอง
อาหาร
ลูกปลา และสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง แพลงค์ตอน
ขนาด
ความยาวประมาณ 15-20 เซนติเมตร
ประโยชน์
นำมาแปรรูปเป็นปลากระป๋อง เนื้อใช้ปรุงเป็นอาหาร
ภาพที่ 8
ชื่อไทย
โอครีบเหลือง, ทูน่าครีบเหลือง
ชื่อสามัญ
YELLOWFIN TUNA
ชื่อวิทยาศาสตร์
Thunnus albacores
ถิ่นอาศัย
ชายฝั่งทะเลอันดามัน ในระดับผิวน้ำและกลางน้ำ ชอบอพยพย้ายถิ่น
อาหาร
ลูกปลาตัวเล็ก ๆ กุ้งและปลาหมึก
ขนาด
ความยาวประมาณ 80-120 เซนติเมตร
ประโยชน์
ใช้บริโภคโดยตรงและแปรรูปเป็นปลากระป๋อง
ภาพที่ 9
ชื่อไทย
ลัง, ทูโม่ง, โม่ง, โม่งลัง
ชื่อสามัญ
INDIAN MACKERREL
ชื่อวิทยาศาสตร์
Rastrelliger kanagurta Ruppell
ถิ่นอาศัย
พบแพร่กระจายทั่วไปทั้งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน
อาหาร
กินแพลงค์ตอน
ขนาด
ความยาวประมาณ 20-25 เซนติเมตร
ประโยชน์
เนื้อใช้ปรุงเป็นอาหาร
ภาพที่ 10
ชื่อไทย
นกขุนทอง
ชื่อสามัญ
WRASSE
ชื่อวิทยาศาสตร์
Halichoeres kallochroma (Bleeker)
ถิ่นอาศัย
หากินอยู่ตามโขดหินและแนวปะการังใต้น้ำ พบในอ่าวไทยและฝั่งทะเลอันดามัน
อาหาร
กินกุ้ง ปูและหอยขนาดเล็ก
ขนาด
ความยาวประมาณ 10-12 เซนติเมตร
ประโยชน์
นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม
ภาพที่ 11
ชื่อไทย
นวลจันทร์ทะเล
ชื่อสามัญ
MILKFISH
ชื่อวิทยาศาสตร์
Chanos chanos (Forskal)
ถิ่นอาศัย
อยู่ตามชายฝั่งทะเลทั่วไปในอ่าวจะพบมากในแถบจันทบุรี ระยอง ประจวบฯ สุราษฏร์ธานี ขณะยังมีวัยอ่อนจะชอบอยู่ในบริเวณน้ำกร่อย เมื่อโตขึ้นจึงจะออกไปอาศัยอยู่ในทะเล เป็นปลาที่ว่ายน้ำเร็วและกระโดดสูง
อาหาร
กินเนื้อปลาและแมลงน้ำรวมทั้งจุลินทรีย์ขนาดเล็ก
ขนาด
ยาวที่สุดจะมีขนาดประมาณ 150 เซนติเมตร น้ำหนักมากกว่า 2 กก.
ประโยชน์
เนื้อมีรสดี แต่มีก้างมาก
ภาพที่ 12
ชื่อไทย
สากเหลือง, น้ำดอกไม้
ชื่อสามัญ
OBTUSE BARRACUDA
ชื่อวิทยาศาสตร์
Sphyraena obstsata (Cuvier & Valenciennes)
ถิ่นอาศัย
แพร่กระจายอยู่ทั่วอ่าวไทยและทะเลอันดามัน
อาหาร
พืชและสัตว์ทั่วไปขนาดเล็ก ๆ
ขนาด
ความยาว 20-30 เซนติเมตร
ประโยชน์
ใช้เป็นอาหาร
ภาพที่ 13
ชื่อไทย
อินทรีบั้ง , เบกา
ชื่อสามัญ
SPANISH MACKEREL
ชื่อวิทยาศาสตร์
Scomberomorus commerson (Lacepede)
ถิ่นอาศัย
พบทั่วไปในอ่าวไทยฝั่งตะวันออกและตะวันตก และทางฝั่งทะเลอันดามัน
อาหาร
กินปลาและสัตว์น้ำที่อาศัยอยู่ตามผิวน้ำเป็นอาหาร เช่น ปลากะตัก หลังเขียว และหมึก
ขนาด
ที่พบทั่วไปมักมีความยาว 30-70 เซนติเมตร ขนาดใหญ่ที่สุดยาวถึง 1 เมตร
ประโยชน์
เป็นปลาที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ นิยมใช้ทำปลาเค็ม ชาวจีนเรียกปลาเค็มที่ทำจากปลาชนิดนี้ว่า "เบกา"
ภาพที่ 14
ชื่อไทย
ลิ้นควายเกล็ดลื่น, ใบขนุน, ลิ้นเสือ
ชื่อสามัญ
LARGETOOTH FLOUNDER
ชื่อวิทยาศาสตร์
Pseudorhombus arsius (Hamilton-Buchanan)
ถิ่นอาศัย
พบแพร่กระจายตามบริเวณชายฝั่งทะเลทั่วไปในอ่าวไทย
อาหาร
กินลูกกุ้ง ลูกปลา และสัตว์น้ำที่อาศัยอยู่บริเวณหน้าดิน
ขนาด
ความยาวประมาณ 20-30 เซนติเมตร
ประโยชน์
เนื้อใช้ปรุงอาหาร
ภาพที่ 15
ชื่อไทย
ใบโพธิ์, ใบปอ
ชื่อสามัญ
SPOTTED SICKLEFISH
ชื่อวิทยาศาสตร์
Drepane punctata (Linnaeus)
ถิ่นอาศัย
หากินอยู่ตามหน้าดินบริเวณน้ำตื้น ๆ ชายฝั่งทะเลของอ่าวไทยและฝั่งทะเลอันดามัน
อาหาร
กินสัตว์น้ำขนาดเล็ก
ขนาด
ความยาวประมาณ 20-25 เซนติเมตร
ประโยชน์
เนื้อปลาใช้ปรุงอาหารและใช้ทำอาหารสัตว์
ภาพที่ 16
ชื่อไทย
ปากคมจุด
ชื่อสามัญ
BRUSHTOOTH LIZARDFISH
ชื่อวิทยาศาสตร์
Saurida undosquamis (Richardson)
ภาพที่ 17
ชื่อไทย
แป้นเขี้ยว
ชื่อสามัญ
TOOTHED PONYFISH
ชื่อวิทยาศาสตร์
Gazza minuta (Bloch)
ถิ่นอาศัย
พบทั่วไปทั้งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน เช่น ที่บางปะกง ชลบุรี สมุทรปราการ ภูเก็ต ระนอง พังงา
อาหาร
กินแมลงวและหนอนรวมทั้งแพลงค์ตอน
ขนาด
ความยาวประมาณ 6-12 เซนติเมตร
ประโยชน์
ส่วนมากจะนำไปทำปลาเป็ด
ภาพที่ 18
ชื่อไทย
แป้นยักษ์
ชื่อสามัญ
COMMON PONYFISH
ชื่อวิทยาศาสตร์
Leiognathus equulus (Forskal)
ถิ่นอาศัย
ตามบริเวณพื้นท้องทะเล พบทั่วไปในบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามัน สุราษฏร์ธานี สงขลา ภูเก็ต กระบี่ ระนอง ตรัง
อาหาร
กินแพลงค์ตอน ลูกหนอนและสัตว์น้ำวัยอ่อนทุกชนิด
ขนาด
13-25 เซนติเมตร
ประโยชน์
ใช้ปรุงเป็นอาหาร
ภาพที่ 19
ชื่อไทย
ผีเสื้อข้างลาย, ผีเสื้อ
ชื่อสามัญ
LINEATED BUTTERFLY-FISH
ชื่อวิทยาศาสตร์
Chaetodon trifasciatus Mungo Park
ถิ่นอาศัย
พบตามแนวหินปะการังและโขดหินใต้น้ำบริเวณอ่าวมะขาม ฝั่งทะเลอันดามัน
อาหาร
กินสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังขนาดเล็ก
ขนาด
ความยาวประมาณ 10-15 เซนติเมตร
ประโยชน์
เป็นปลาสวยงามที่นิยมเลี้ยงกันโดยทั่วไป
ภาพที่ 20
ชื่อไทย
แพะทองเหลือง, หนวดฤาษี
ชื่อสามัญ
SPOTTED GOLDEN GOATFISH
ชื่อวิทยาศาสตร์
Parupeneus heptacanthus
ถิ่นอาศัย
หากินอยู่ตามกองหินและบริเวณหน้าดินที่มีพื้นเป็นทราย พบทั่วไปในอ่าวไทยและฝั่งทะเลอันดามัน
อาหาร
กินปลาและสัตว์น้ำขนาดเล็ก
ขนาด
ความยาวประมาณ 12-15 เซนติเมตร
ประโยชน์
เนื้อปลาใช้ปรุงอาหาร
Credit:
Dominic