ภาพที่ 1
ชื่อไทย
กระทุงเหวควาย, กระทุงเหว
ชื่อสามัญ
BLACK-SPOT LONG TOM
ชื่อวิทยาศาสตร์
Strongylurus strongylura (Van Hasselt)
ถิ่นอาศัย
เป็นปลาทะเลซึ่งอาศัยอยู่ตามผิวน้ำ อยู่กระจัดกระจายกันเป็นหมวดหมู่ตามชายฝั่ง และสามารถอาศัยอยู่ตามบริเวณปากแม่น้ำซึ่งเป็นน้ำกร่อยได้
ขนาด
ความยาวประมาณ 30-45 เซนติเมตร
อาหาร
แมลงน้ำและปลาซึ่งมีขนาดเล็กกว่า
ประโยชน์
ปรุงเป็นอาหารได้
ภาพที่ 2
ชื่อไทย
กระทุงเหวแม่หม้าย ตับเต่า
ชื่อสามัญ
SPOTTED HALFBEAK
ชื่อวิทยาศาสตร์
Hemirhamphus far (Forskal)
ถิ่นอาศัย
พบเห็นอยู่ทั่วไปตามชายฝั่งทะเลของอ่าวไทย
อาหาร
กินแมลงน้ำและปลาผิวน้ำซึ่งมีขนาดเล็กกว่า
ขนาด
ความยาวประมาณ 25-40 เซนติเมตร
ประโยชน์
ปรุงเป็นอาหารได้
ภาพที่ 3
ชื่อไทย
กระทุงเหวบั้ง, กระทุงเหวข้างแบน
ชื่อสามัญ
BARRED LONG TOM
ชื่อวิทยาศาสตร์
Ablennes hians (Valenciennes)
ถิ่นอาศัย
พบแพร่กระจายไปทั่วอ่าวไทย ทั้งฝั่งตะวันออกและภาคใต้
อาหาร
ชอบกินปลาผิวน้ำ เช่น ปลาหัวแข็ง หัวตะกั่ว
ขนาด
ความยาวประมาณ 55-120 เซนติเมตร
ประโยชน์
ปรุงเป็นอาหารได้
ภาพที่ 4
ชื่อไทย
สลิดหินส้ม, การ์ตูนสีส้ม
ชื่อสามัญ
BLACK-BACKED ANEMONE
ชื่อวิทยาศาสตร์
Amphiprion ephippium (Bloch)
ถิ่นอาศัย
เป็นปลาที่ใช้ชีวิตร่วมกับดอกไม้หรือเรียกทับศัพท์ว่า "ซีแอนิโมน" ปลาชนิดนี้จะขับสารที่เป็นเมือกเคลือบอยู่ตามตัว เพื่อป้องกันพิษจากดอกไม้ทะเล เพราะเมื่อสลิดหินตกใจหรือพบศัตรู จะซุกซ่อนตัวในระหว่างหนวดของดอกไม้ทะเล อาศัยอยู่ทั้ง
อาหาร
กินลูกปลา ลูกกุ้ง และสัตว์น้ำขนาดเล็กเศษเหลือของอาหารปลา
ขนาด
ความยาวประมาณ 10-12 เซนติเมตร
ประโยชน์
เป็นปลาสวยงาม นิยมเลี้ยงกันในตู้กระจก
ภาพที่ 5
ชื่อไทย
กระทุงเหวหูดำ
ชื่อสามัญ
SQUARE-TALLLONGTOM
ชื่อวิทยาศาสตร์
Strongylurus leiura (Bleeker)
ถิ่นอาศัย
อยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ ๆ ตามชายฝั่งทะเลเป็นส่วนใหญ่ แต่ก็มีบางส่วนเข้ามาหากิน ในบริเวณปากแม่น้ำและในน้ำจืด
อาหาร
กินปลา และสัตว์น้ำที่อาศัยอยู่ตามผิวน้ำ
ขนาด
ความยาวประมาณ 40-110 เซนติเมตร
ประโยชน์
เนื้อปลาใช้ทำอาหารสัตว์และปุ๋ย
ภาพที่ 6
ชื่อไทย
กระบอกท่อนใต้
ชื่อสามัญ
DIAMOND-SCALED GREY MULLET
ชื่อวิทยาศาสตร์
Mugil vaigiensis Qnoy & Gaimand
ถิ่นอาศัย
ชอบอาศัยอยู่ตามผิวน้ำ และอาหารตามชายฝั่งทะเลตื้น ๆ และในบริเวณปากแม่น้ำ นครศรีธรรมราช สงขลา สุราษฏร์ธานี ศรีราชา ระยอง จันทบุรี
อาหาร
กินจุลินทรีย์ขนาดเล็กรวมทั้งแมลงน้ำและสัตว์อื่น ๆ ที่มีขนาดเล็กกว่า
ขนาด
ความยาวประมาณ 19-40 เซนติเมตร
ประโยชน์
เนื้อมีรสอร่อย จัดเป็นปลาที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจชนิดหนึ่ง
ภาพที่ 7
ชื่อไทย
กระบอกปีกเหลือง
ชื่อสามัญ
BLUESPOT GREY MULLET
ชื่อวิทยาศาสตร์
Valamugil siheli (Forskal)
ถิ่นอาศัย
พบทั่วไปทั้งระดับน้ำลึกทั่วอ่าวไทยและบริเวณปากแม่น้ำจนถึงนากุ้ง
อาหาร
กินสาหร่าย และพืชน้ำชั้นต่ำ
ขนาด
ความยาวตั้งแต่ 30-50 เซนติเมตร
ประโยชน์
เป็นปลาที่มีเนื้ออร่อยรสชาติดี มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ
ภาพที่ 8
ชื่อไทย
กระเบนจมูกแหลม, กระบาง, กระเบนตุ๊กแก, กระเบนตุ๊กตา
ชื่อสามัญ
IMBRICATED STINGRAY
ชื่อวิทยาศาสตร์
Dasyatis imbricatus (Bloch & Schneider)
ถิ่นอาศัย
อยู่ตามหน้าดินในบริเวณชายฝั่งทะเลและบางครั้งเข้ามาหากินในแหล่งน้ำกร่อย
อาหาร
กินปลา ลูกกุ้ง ลูกปู และสัตว์น้ำขนาดเล็ก
ขนาด
ความยาวประมาณ 20-80 เซนติเมตร
ประโยชน์
เนื้อใช้ปรุงอาหาร
ภาพที่ 9
ชื่อไทย
กะตักใหญ่, กะตักควาย, กล้วย, มะลิ, ไส้ต้น
ชื่อสามัญ
INDIAN ANCHOVY
ชื่อวิทยาศาสตร์
Stolephorus indicus (Van Hasselt)
ถิ่นอาศัย
แพร่กระจายอยู่ทั่วบริเวณอ่าวไทย และบริเวณห่างฝั่งประมาณ 10-20 ไมล์
อาหาร
กินพวกแพลงค์ตอน ลูกกุ้งและเคย
ขนาด
ความยาวประมาณ 3-10 เซนติเมตร
ประโยชน์
ใช้ทำน้ำปลาและปลาแห้ง
ภาพที่ 10
ชื่อไทย
กระเบนแมลงวัน, กระเบนจุดขาว
ชื่อสามัญ
BANDED WHIP-TAIL STINGRAY
ชื่อวิทยาศาสตร์
Dasyatis gerrardi (Gray)
ถิ่นอาศัย
พบตามหินใต้ท้องทะเลที่มีโคลนปนทราย มักจะเดินทางเข้าไปหากินบริเวณปากแม่น้ำ
อาหาร
กินสัตว์น้ำขนาดเล็ก
ขนาด
ความยาวประมาณ 25-120 เซนติเมตร
ประโยชน์
เนื้อส่วนปีกนิยมนำมาทำเป็นปลาตากแห้งใช้เป็นอาหารได้
ภาพที่ 11
ชื่อไทย
กระเบนนกกระเบนเนื้อดำ, กระเบนค้างคาว, กระเบนนกจุดขาว
ชื่อสามัญ
SPOTTED EABLE RAY
ชื่อวิทยาศาสตร์
Aetobatus narinari (Euphrasen)
ถิ่นอาศัย
ชอบอยู่ตามพื้นหน้าดินที่เป็นโคลนและเข้าตามปากแม่น้ำเพื่อหาอาหาร
อาหาร
กินพวกลูกกุ้ง หอยและเคย
ขนาด
ความยาวประมาณ 80-150 เซนติเมตร
ประโยชน์
เนื้อใช้ปรุงเป็นอาหาร
ภาพที่ 12
ชื่อไทย
กระโทงแทงกล้วย, กระโทงแทงดาบ
ชื่อสามัญ
BANANA SAILFISH
ชื่อวิทยาศาสตร์
Histiophorus gladius (Broussonet)
ถิ่นอาศัย
พบตามทะเลเปิดและตามมหาสมุทรทั่วไป
อาหาร
กินปลาและสัตว์น้ำ
ขนาด
ความยาวตั้งแต่ 80-240 เซนติเมตร
ประโยชน์
เนื้อใช้ปรุงเป็นอาหาร เป็นปลาที่นักกีฬาตกปลารู้กันอย่างแพร่หลาย
ภาพที่ 13
ชื่อไทย
เหลืองโพรง, กล้วยเกาะ, กล้วยจรวด
ชื่อสามัญ
RAINBOW RUNNER
ชื่อวิทยาศาสตร์
Elagatis bipinnulatue (Quoy & Gaimard)
ถิ่นอาศัย
พบตามผิวพื้นทะเลบริเวณข้างเกาะและทะเลเปิดทั่วไป
อาหาร
กินสัตว์น้ำขนาดเล็ก
ขนาด
ความยาวประมาณ 40-60 เซนติเมตร
ประโยชน์
นิยมในหมู่นักกีฬาตกปลา เนื้อใช้ปรุงอาหารได้ดี
ภาพที่ 14
ชื่อไทย
วัวไก่ตอน, กวาง, วัว
ชื่อสามัญ
STARRY TRIGGERFISH
ชื่อวิทยาศาสตร์
Abalistes stellaris
ถิ่นอาศัย
ปลาหน้าดินอาศัยตามกองหินปะการัง
อาหาร
กินปลาและสัตว์น้ำขนาดเล็กที่อาศัยอยู่ตามหน้าดิน
ขนาด
ความยาวประมาณ 40-55 เซนติเมตร
ประโยชน์
เนื้อปลารสชาติดี และมีลักษณะคล้ายเนื้อไก่ ใช้ปรุงอาหารได้ดี
ภาพที่ 15
ชื่อไทย
กะพงข้างเหลือง
ชื่อสามัญ
BIGEYE SNAPPER
ชื่อวิทยาศาสตร์
Lutjanus lineolatus (Ruppell)
ถิ่นอาศัย
ตามชายฝั่งทะเลบริเวณที่ไม่ลึกมากนัก พบทั่วไปในอ่าวไทย
อาหาร
กินปลาและสัตว์น้ำขนาดเล็ก
ขนาด
ความยาวประมาณ 15-25 เซนติเมตร
ประโยชน์
เนื้อมีรสอร่อย สามารถนำมาปรุงเป็นอาหารได้หลายประเภท
ภาพที่ 16
ชื่อไทย
กะพงขาว, กะพงน้ำจืด
ชื่อสามัญ
GIANT SEAPERCH
ชื่อวิทยาศาสตร์
Lates calcarifer (Bloch)
ถิ่นอาศัย
ชายฝั่งทะเลปากแม่น้ำซึ่งเป็นแหล่งน้ำกร่อย อพยพย้ายถิ่นเข้ามาหาอาหาร และอาศัยในแม่น้ำ เป็นระยะทางนับร้อยกิโลเมตร
อาหาร
ปลา กุ้งและสัตว์น้ำที่มีขนาดเล็กกว่า
ขนาด
ความยาวประมาณ 20-40 เซนติเมตร
ประโยชน์
เป็นปลาเศรษฐกิจที่กรมประมงส่งเสริมให้เลี้ยง เกษตรกรนิยมผลิตลูกปลาชนิดนี้ ส่งไปจำหน่ายยังประเทศมาเลเซียและไต้หวัน
ภาพที่ 17
ชื่อไทย
กะพงเขียว
ชื่อสามัญ
GREEN JOBFISH
ชื่อวิทยาศาสตร์
Aprion virescens Cuvier & Valenciennes
ถิ่นอาศัย
เป็นปลาอาศัยอยู่ตามหน้าดิน บริเวณเกาะแก่ง ปะการัง ในระดับน้ำลึกไม่เกิน 100 ม. พบแพร่กระจายในอ่าวไทยและฝั่งทะเลอันดามัน
อาหาร
กินปลาและสัตว์น้ำที่มีขนาดเล็ก
ขนาด
ความยาวประมาณ 60-80 เซนติเมตร
ประโยชน์
เนื้อปลาใช้ปรุงอาหารได้ดี
ภาพที่ 18
ชื่อไทย
กะพงแดงเกล็ดห่าง
ชื่อสามัญ
JOHN'S SNAPPER
ชื่อวิทยาศาสตร์
Lutjanus johni (Bloch)
ถิ่นอาศัย
ป่าไม้ชายเลนและชายฝั่งทะเล
อาหาร
สัตว์น้ำหน้าดิน
ขนาด
ความยาวประมาณ 30-60 เซนติเมตร
ประโยชน์
ใช้ในการบริโภค
ภาพที่ 19
ชื่อไทย
กะพงแดงข้างแถว
ชื่อสามัญ
BROWNSTRIPE RED SNAPPER
ชื่อวิทยาศาสตร์
Lutjanus vitta (Quoy & Gaimard)
ถิ่นอาศัย
ชายฝั่งทะเล
อาหาร
ปลาหน้าดินขนาดเล็ก
ขนาด
ความยาวประมาณ 17-40 เซนติเมตร
ประโยชน์
ใช้ในการบริโภค
ภาพที่ 20
ชื่อไทย
กะพงแดงหน้าตั้ง
ชื่อสามัญ
EMPEROR RED SNAPPER
ชื่อวิทยาศาสตร์
Lutjanus sebae (Cuvier & Valenciennes)
ถิ่นอาศัย
หากินอยู่ในบริเวณแนวปะการังและชายฝั่งของอ่าวไทยและฝั่งทะเลอันดามัน
อาหาร
กินปลาและสัตว์น้ำขนาดเล็กบริเวณหน้าดิน
ขนาด
ขนาดที่พบทั่วไปความยาวประมาณ 30-60 เซนติเมตร
ประโยชน์
เนื้อปลาใช้ปรุงเป็นอาหารได้
Credit:
Dominic