เกาะติดสถานการณ์ ไทยและกัมพูชาแถลงคดีเขาพระวิหาร ต่อศาลโลก (คลิป)

 

 

 

 

 

 

  เกาะติดสถานการณ์ ไทยและกัมพูชาแถลงคดีเขาพระวิหาร ต่อศาลโลก (คลิป)

เกาะติดสถานการณ์ ไทยและกัมพูชาแถลงคดีเขาพระวิหาร ต่อศาลโลก

 

 

รอบแรกของการให้การทางวาจา
วันจันทร์ 15 เมษายน 2556 – โดยกัมพูชา
เวลากรุงเฮก เวลากรุงเทพ
10.00 น. – 13.00 น. 15.00 น. – 18.00 น.
15.00 น. – 16.30 น. 20.00 น. – 21.30 น.

วันพุธ 17 เมษายน 2556 – โดยไทย
เวลากรุงเฮก เวลากรุงเทพ
10.00 น. – 13.00 น. 15.00 น. – 18.00 น.
15.00 น. – 16.30 น. 20.00 น. – 21.30 น.

รอบสองของการให้การทางวาจา
วันพฤหัสบดี 18 เมษายน 2556 – โดยกัมพูชา
เวลากรุงเฮก เวลากรุงเทพ
15.00 น. – 17.00 น. 20.00 น. – 22.00 น.

วันศุกร์ 19 เมษายน 2556 – โดยไทย
เวลากรุงเฮก เวลากรุงเทพ
15.00 น. – 17.00 น. 20.00 น. – 22.00 น.

รวบรวมข้อมูลโดย tlcthai

15 เมษายน 2556

(15.47 น.) ฮอร์ นัมฮง แถลงคดีปราสาทพระวิหารต่อศาลโลกว่าการพิจารณาครั้งนี้จะช่วยเกิด สันติภาพในภูมิภาคนี้-ขอขอบคุณศาลฯที่ให้กัมพูชา-ไทยได้เข้าชี้แจง ก่อนจะจบถ้อยแถลงรอบแรกในเวลาต่อมา – mthai

ฮอร์ นัมฮง รองนายกฯ และรมต.ต่างประเทศกัมพูชา

 

(15.30 น.) ฮอร์ นัมฮง รองนายกฯ และรมต.ต่างประเทศกัมพูชา เป็นผู้แทนฝ่ายกัมพูชาแถลงด้วยวาจาต่อศาลโลกในคดีปราสาทพระวิหาร โดยคำร้องของกัมพูชาต่อศาลโลกในคดีนี้คือ ขอให้ศาลตีความคำพิพากษาเมื่อปี 2505  – mthai

ตั้งแต่เวลา 15.00 น. เป็นการให้ถ้อยแถลงของฝ่ายกัมพูชา ต่อศาลโลก กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์

สามารถเลือกรับฟังเสียงการให้ถ้อยแถลงทั้งเสียงจริงที่เป็นภาษาฝรั่งเศส ที่แปลแล้วเป็นภาษาอังกฤษ และเสียงที่แปลแล้วเป็นภาษาไทยได้ที่ http://www.phraviharn.org และสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ช่อง11 สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย FM 92.5 และ AM 891

นอกจากนี้ ยังมีสถานีวิทยุสราญรมย์ที่ AM1575 และศาลโลกจะมีการถ่ายทอดสดการให้การทางวาจาอยู่แล้ว ซึ่งสามารถรับฟังเสียงที่ใช้จริงที่เป็นภาษาฝรั่งเศส และภาษาอังกฤษ ได้ที่ http://www.icj-cij.org/homepage รวมทั้ง ศาลยังจะมีการเผยแพร่คำแถลงของทั้ง 2 ฝ่ายผ่านทางเว็บไซต์ของสหประชาชาติ (ยูเอ็น) ที่ http://webtv.un.org

———————————————————————————

14 เมษายน 2556

(09.30น.) น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ในฝ่ายไทยได้ติดตามสถานการณ์ทั้งทีมที่อยู่ที่ต่างประเทศและทีมที่อยู่ในประเทศไทยได้ติดตามการถ่ายทอดสดมายังประเทศไทย ครั้งนี้เป็นการให้ถ้อยแถลงของทั้งไทยและกัมพูชา ส่วนผลตัดสินจะเป็นอย่างไรขึ้นอยุู่กับว่าศาลโลกจะตัดสินเมื่อไร ทางฝ่ายไทยทุกคนได้ให้กำลังใจกับทีมงาน ที่ทำงานอย่างเต็มที่ในการปกป้องอธิปไตยของประเทศไทย ย้ำว่าให้ทำอย่างเต็มที่ให้ครบถ้วนทุกประเด็น – มติชนออนไลน์

รายงานจากกรุงเฮก ว่า คณะผู้แทนไทยรวมถึงทีมที่ปรึกษากฎหมายชาวต่างชาติที่เดินทางมาร่วมทำงาน ระหว่างการกล่าวถ้อยแถลงด้วยวาจาของไทยและกัมพูชาระหว่างวันที่ 15-19 เมษายนนี้ มีทั้งสิ้น 48 คน นำโดย 3 รัฐมนตรีคือ นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รองนายกฯและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รองนายกฯและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และ พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม

ส่วนคณะผู้ แทนที่มากที่สุดคือ กระทรวงการต่างประเทศ เพราะนอกเหนือจากทีมที่เกี่ยวข้องกับการสู้คดีในศาลโลกแล้วยังมีการระดมนัก กฎหมายและทีมผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาที่จะช่วยสรุปประเด็น รวมถึงแปลเอกสารสำหรับการเผยแพร่ประจำวันผ่านช่องทางต่างๆ กลับมายังประเทศไทยอีกชุดหนึ่ง รองลงมาคือ กระทรวงกลาโหม อาทิ ผู้แทนจากกองบัญชาการทหารสูงสุด กรมแผนที่ทหาร นอกจากนั้นยังมีผู้แทนจากคณะกรรมการกฤษฎีกา และสำนักงานอัยการสูงสุดอีกด้วย

———————————————————————————

13 เมษายน 2556

(10.30 น.) นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รองนายกฯ และ รมว.การต่างประเทศ และ พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต รมว.กลาโหม เดินทางไปยังกรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ เพื่อร่วมสังเกตการณ์ที่ศาลโลกนัดให้ไทยและกัมพูชา แถลงด้วยวาจาคดีปราสาทพระวิหาร ที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ – มติชนออนไลน์

———————————————————————————

ประวัติความเป็นมา คดีปราสาทเขาพระวิหาร

เกาะติดสถานการณ์ ไทยและกัมพูชาแถลงคดีเขาพระวิหาร ต่อศาลโลก

ประเด็นที่กัมพูชายื่นฟ้องแบ่งเป็น 2 ส่วนด้วยกัน กล่าวคือ 1.ให้ศาลตีความคำพิพากษาเมื่อปี พ.ศ.2505 ว่าพื้นที่โดยรอบปราสาท หรือ vicinity มีขอบเขตแค่ไหน เพราะศาลโลกชี้ไว้แต่เพียงว่าปราสาทพระวิหารและพื้นที่โดยรอบเป็นของกัมพูชา แต่ไม่ได้กำหนดขอบเขตที่ชัดเจน

กับ 2.กรณีที่กัมพูชาได้ขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก ฝ่ายกัมพูชาคิดว่า vicinity คือเส้นเขตแดนที่ฝรั่งเศสขีดเอาไว้ในแผนที่ 1:200,000 จึงขอให้ศาลวินิจฉัยว่าเป็นไปตามนั้นหรือไม่

ช่วงก่อนการยื่นฟ้อง มีการปะทะกันทางทหารระหว่างไทยกับกัมพูชาหลายครั้ง ฝ่ายกัมพูชาจึงนำประเด็นดังกล่าวไปฟ้องศาลโลกเพื่อให้ศาลตีความคำพิพากษา เมื่อปี พ.ศ.2505 พร้อมทั้งขอมาตรการคุ้มครองชั่วคราวฉุกเฉินให้ไทยถอนกำลังทหารออกจากดินแดน ของกัมพูชา

ต่อมาศาลได้มีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวให้ถอนทหารทั้ง 2ฝ่าย แม้กระทั่งในตัวปราสาท โดยขีดพื้นที่เป็น“เขตปลอดทหาร” แต่ไม่ได้ระบุว่าเป็นดินแดนของฝ่ายใด

คำสั่งคุ้มครองชั่วคราวออกมาเมื่อวันที่ 18 ก.ค.2554 ซึ่งเป็นช่วงที่รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นรัฐบาลรักษาการณ์ ต่อมารัฐบาล นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้นำเรื่องเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) และเข้าสู่การพิจารณาของสภา กระทั่งมอบหมายให้ฝ่ายทหารไปดำเนินการพูดคุยเจรจาภายใต้กรอบคณะกรรมการชาย แดนทั่วไป ไทย-กัมพูชา หรือ จีบีซี (General Border Committee : GBC)

อย่างไรก็ดี การถอนทหารเป็นประเด็นละเอียดอ่อน ทั้งสองฝ่ายจึงตั้งคณะทำงานร่วมไทย-กัมพูชา หรือ Joint working group (JWG) และได้ข้อสรุปว่าให้ใช้การ “ปรับกำลัง” ในเขตปลอดทหาร โดยส่ง “ตำรวจ”เข้าไปปฏิบัติหน้าที่แทน

ส่วนเรื่อง “ผู้สังเกตการณ์” จากประเทศที่สาม ซึ่งเป็นอีกประเด็นหนึ่งในมาตรการคุ้มครองชั่วคราวของศาลนั้น ทั้งสองฝ่ายเห็นว่าไม่มีความจำเป็น

ความเคลื่อนไหวทั้งหมด ณ ปี 2555 เดินมาถึงจุดนี้ และในปี 2556 ก็ต้องมาลุ้นคำพิพากษากัน โดยเฉพาะฝ่ายไทย หากพ่ายแพ้อีกรอบจะส่งผลสะเทือนทางการเมืองอย่างรุนแรง เพราะอาจหมายถึงการสูญเสียพื้นที่พิพาท 4.6 ตารางกิโลเมตรซึ่งไทยยืนยันว่ามีอธิปไตยเหนือดินแดนดังกล่าวด้วย

ย้อนดูคำพิพากษาปี 05

ก่อนจะไปถึงแนวโน้มคำตัดสินของศาลในปี 2556 ต้องย้อนไปดูคำพิพากษาของศาลโลกเมื่อปี พ.ศ.2505 ว่าพิพากษาในประเด็นใดไว้บ้าง

ทั้งนี้ ประเด็นที่กัมพูชายื่นฟ้องและศาลมีคำพิพากษาเมื่อปี 2505 มีอยู่ 3 ประเด็น คือ
1.ปราสาทพระวิหารอยู่ในดินแดนกัมพูชา
2.ให้ไทยนำทหารออกจากบริเวณใกล้เคียงของปราสาท
และ 3.ให้ไทยนำวัตถุโบราณที่อยู่ในบริเวณปราสาทคืนให้กับกัมพูชา

คำตัดสินดังกล่าวในทางกฎหมายคือการตอบคำฟ้อง ซึ่งคำฟ้องของกัมพูชาในครั้งนั้นไม่ได้ใช้คำว่า vicinity แต่ใช้คำว่า precinct หรือ ขอบเขต อาณาเขต แต่ในการฟ้องครั้งล่าสุดเมื่อปี 2554 คำว่า precinct หายไป และเปลี่ยนเป็นคำว่า vicinity
ฝ่ายกัมพูชาได้ขอให้ศาลตี ความคำว่า vicinity ว่ามีขอบเขตแค่ไหน ถูกกำหนดโดย territory หรือเส้นเขตแดนหรือไม่ และเส้นเขตแดนให้ใช้แผนที่ 1:200,000 ของฝรั่งเศส

ปราสาทเขาพระวิหาร

ข้อต่อสู้ของไทย

สำหรับข้อต่อสู้ของฝ่ายไทย ยืนอยู่บนหลักการที่ว่าคำขอให้ตีความของกัมพูชาไม่ใช่เรื่อง vicinity หรือบริเวณโดยรอบปราสาท แต่เป็นการให้ตีความ territory ซึ่งหมายถึง “เส้นเขตแดน” ฉะนั้นหากศาลรับพิจารณาเรื่องเส้นเขตแดนของกัมพูชา ก็ต้องพิจารณาเส้นเขตแดนของไทยด้วย

แนวทางการต่อสู้ของไทยมี 3 ประเด็น คือ
1.ศาลไม่มีอำนาจพิจารณา และกัมพูชาไม่มีอำนาจฟ้อง ในทางกฎหมายเรียกว่าไม่ admissible (ไม่สามารถรับไว้พิจารณาได้) เพราะนี่เป็นการฟ้องคดีใหม่ว่าด้วยข้อพิพาทใหม่ซึ่งเกิดขึ้นไม่เกิน 5 ปีมานี้ว่าด้วยเส้นเขตแดน ซึ่งเรื่องเส้นเขตแดนต้องไปเจรจากันในคณะกรรมการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา หรือ เจบีซี

2.ไม่มีข้อพิพาทไทย-กัมพูชาในการตีความคำพิพากษาปี 2505 เพราะไทยกับกัมพูชายอมรับ vicinity ตรงกัน และสิ่งที่แสดงการยอมรับคือไทยถอนกำลังทหาร ตำรวจ ออกจาก vicinity แล้ว ตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อปี 2505 (รัฐบาล จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์) ซึ่งกัมพูชาก็ยอมรับ จึงไม่มีข้อพิพาททำให้ต้องตีความ

หลังคำพิพากษาของศาลโลกเมื่อปี 2505 ได้มีการกำหนดให้สร้างรั้วลวดหนาม ซึ่งไทยก็ได้ดำเนินการ ที่สำคัญอดีตรัฐมนตรีต่างประเทศกัมพูชาได้พูดไว้ว่าประเทศไทยปฏิบัติตามคำ พิพากษาแล้ว

ต่อมาเมื่อเดือน ม.ค.2506 เจ้านโรดมสีหนุ ได้ทรงประกาศชัยชนะบนปราสาทพระวิหาร มีการถ่ายทอดสดทางโทรทัศน์ และลงข่าวในหนังสือพิมพ์ มีภาพถ่ายยืนยันว่า เจ้านโรดมสีหนุทรงประกาศตรงบันไดปราสาทพระวิหาร พร้อมระบุถึงรั้วลวดหนามที่ทางการไทยทำไว้ จากนั้นก็ให้ทหารกัมพูชานำค้อนไปให้ตำรวจไทยตอกเสารั้ว

3.คำขอของกัมพูชาเป็นการอุทธรณ์คำพิพากษาปี 2505 ที่ซ่อนมาในรูปของการตีความ ซึ่งกัมพูชาเคยขอแล้วในการฟ้องครั้งก่อน แต่ศาลไม่ตัดสินให้ คือประเด็นเส้นเขตแดนอยู่ตรงไหน และสถานะทางกฎหมายของแผนที่ 1:200,000 คืออะไร ฉะนั้นเรื่องเส้นเขตแดนไม่อยู่ในขอบข่ายคำฟ้อง

สำหรับคำขอของฝ่ายไทยที่ยื่นต่อศาลมี 3 แนวทาง คือ
1.ให้ศาลตัดสินว่าไม่มีอำนาจพิจารณา
2.ไม่มีประเด็นต้องตีความ
3.ขอให้ศาลตัดสินว่าคำพิพากษาปี 2505 ไม่ได้ตัดสินว่าเส้นเขตแดนเป็นไปตามแผนที่ 1:200,000

แนวโน้มคำพิพากษา

สำหรับแนวโน้มคำพิพากษาของศาลโลก มีโอกาสออกได้ 3 แนวทาง กล่าวคือ
1.ศาลไม่มีอำนาจพิจารณา ซึ่งหากเป็นแนวทางนี้จะดีที่สุดสำหรับไทย และไม่ใช่ว่าเป็นไปไม่ได้เสียทีเดียว เพราะศาลโลกเคยตัดสินเช่นนี้มาแล้วในกรณีพิพาทรัสเซียกับจอร์เจีย
2.พิพากษาว่าไม่มีประเด็นต้องตีความคำพิพากษาเมื่อปี 2505 ซึ่งจะเป็นประโยชน์กับไทยเช่นกัน
และ 3.รับว่าศาลมีอำนาจพิจารณา ซึ่งจะออกได้อีก 3 แนวทาง ได้แก่
- vicinity หรือบริเวณโดยรอบปราสาทเป็นไปตามมติ ครม.ของไทยเมื่อปี พ.ศ. 2505
- vicinity เป็นไปตามความต้องการของกัมพูชา ซึ่งถ้าออกแนวทางนี้ ไทยอาจเสียพื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตร
- ออกกลางๆ คืออาจให้ขยาย vicinity แต่จะมีปัญหาตามมาหลายอย่าง เช่น การถ่ายแผนที่ 1:200,000 ลงมาเป็นแผนที่จริง หากผิดแค่มิลลิเมตรเดียวเท่ากับผิดเป็นกิโลเมตร จะถ่ายลงมาได้อย่างไร และต้องไปดูคำพิพากษาเก่า จะออกนอกคำพิพากษาเดิมไม่ได้

ข้อมูลจากวงในของคณะผู้แทนประเทศไทยที่ไปสู้คดีบนศาลโลก ระบุว่า โอกาสที่ศาลจะตัดสิน 2 แนวทางแรก คือ ไม่มีอำนาจพิจารณา หรือไม่มีประเด็นต้องตีความคำพิพากษา มีความเป็นไปได้ประมาณ 50%

ส่วนแนวทางการให้กัมพูชาถอนฟ้องนั้น มีความพยายามเจรจาอยู่เหมือนกันในช่วงต้นรัฐบาลพรรคเพื่อไทย แต่ทางกัมพูชาไม่ยอม เพราะหากถอนฟ้องก็จะกระทบกับการเมืองภายในของกัมพูชาอย่างมากเช่นกัน

ฉะนั้นถึงนาทีนี้จึงไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากสู้คดีไปให้ถึงที่สุด และก่อนที่ศาลจะมีคำวินิจฉัย องค์คณะผู้พิพากษา17 คนจะออกนั่งบัลลังก์เพื่อรับฟังการนำเสนอข้อมูลหลักฐานของทั้งสองฝ่ายอย่าง เป็นทางการในวันที่ 15-17 เม.ย.2556

เปิดตัวทีมทนาย ไทยและกัมพูชา สู้ศึก′พระวิหาร′

ชาวต่างชาติ 3 คน ที่อยู่ในทีมทนายความของไทย มีประวัติการทำงานดังนี้

ทีมทนายความของไทย คดีเขาพระวิหาร

ศ.เจมส์ ครอว์ฟอร์ด

เป็น ศาสตราจารย์ด้านกฎหมายชาวออสเตรเลียและทนายความผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย ระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล และอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศ มีประสบการณ์ว่าความในศาลกฎหมายทะเลระหว่างประเทศ ศูนย์ระหว่างประเทศเพื่อยุติข้อพิพาทด้านการลงทุน (ไอซีเอสไอดี) และศาลอาญาระหว่างประเทศ (ไอซีซี) รวมทั้งเคยเป็นอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศ

สำเร็จการศึกษานิติ ศาสตรบัณฑิตจากมหาวิทยาลัย แอดิเลด ในประเทศออสเตรเลีย เมื่อปี 1971 จบปริญญาเอกสาขาปรัชญาจากมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด เมื่อปี 1977 และจบปริญญาเอกสาขากฎหมายจากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ประเทศอังกฤษ เมื่อปี 2004 เชี่ยวชาญการว่าความในภาษาฝรั่งเศส ก่อนหน้านี้เคยเป็นคณะกรรมาธิการปฏิรูปกฎหมายออสเตรเลีย ปัจจุบันเป็นอาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์

ศ.โดนัลด์ เอ็ม. แมคเรย์

ศาสตราจารย์ ด้านกฎหมายชาวแคนาดาจากมหาวิทยาลัยออตตาวา ประเทศแคนาดา จบการศึกษานิติศาสตรบัณฑิตและปริญญาโทด้านกฎหมายจากมหาวิทยาลัยโอทาโก ประเทศนิวซีแลนด์ และเป็นสมาชิกเนติบัณฑิตยสภานิวซีแลนด์ มีความเชี่ยวชาญด้านกฎหมายระหว่างประเทศ เคยเป็นที่ปรึกษาของกระทรวงต่างประเทศแคนาดาในกรณีพิพาทด้านการประมงระหว่าง ประเทศและอนุญาโตตุลาการด้านเขตแดนหลายกรณี เมื่อปี 1998 ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นหัวหน้าคณะเจรจาของแคนาดาในการตกลงสนธิสัญญาจับปลา แซลมอนในมหาสมุทรแปซิฟิก ปัจจุบันเป็นอาจารย์สอนด้านกฎหมายระหว่างประเทศและกฎหมายการค้าระหว่าง ประเทศที่มหาวิทยาลัยออตตาวา

ศ.อแลง แปลเล่ต์

ศาสตราจารย์ อแลง แปลเล่ต์ เกิดเมื่อปี 1947 สอนวิชากฎหมาย รวมทั้งกฎหมายระหว่างประเทศและกฎหมายเกี่ยวกับเศรษฐกิจระหว่างประเทศ อยู่ที่มหาวิทยาลัยปารีส อิกซ์ (น็องแตร์) เคยเป็นผู้อำนวยการของ ซองตร์ เดอ ดรัวต์ แองแตร์นาซิยงนาล (Centre de Droit International-CEDIN) ในช่วงปี 1991-2001 เคยได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ระหว่างประเทศหลายรายการและได้รับ Knight of the Legion of Honour ในปี 1998 ในฐานะที่ทำงานให้แก่ประเทศชาติ

ศ.อแลง ยังเป็นหนึ่งในผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายระหว่างประเทศที่มีชื่อเสียงที่สุดคน หนึ่ง และไม่ได้เป็นแค่ที่ปรึกษาของรัฐบาลฝรั่งเศสมาหลายปีเท่านั้น แต่ยังได้รับการแต่งตั้งให้เป็นตัวแทนของหลายๆ ประเทศให้ว่าความที่ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศที่กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์

นอกจากนี้ ยังเป็นที่ปรึกษาขององค์กรระหว่างประเทศหลายองค์กรด้วยกัน และยังเป็นสมาชิกของคณะกรรมาธิการกฎหมายระหว่างประเทศของสหประชาชาติตั้งแต่ ปี 1990 และเคยเป็นประธานคณะกรรมาธิการดังกล่าวเมื่อปี 1997

ทีมทนายความชาวต่างชาติที่รัฐบาลกัมพูชาแต่งขึ้นมา มีประวัติการทำงานดังนี้

ทีมทนายความของรัฐบาลกัมพูชา คดีเขาพระวิหาร

ศ.ฌอง มาร์ค ซอเรล

ชาวฝรั่งเศส

สอนที่มหาวิทยาลัยปารีส ว่าความในศาลโลกในคดีข้อพิพาทดินแดน (ลิเบีย/ชาด) และคดีผลทางกฎหมายของการก่อสร้างกำแพงในเขตยึดครองปาเลสไตน์

เซอร์ แฟรงคลิน เบอร์แมน

ชาวอังกฤษ

ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย สหราชอาณาจักร ระหว่างปี 2534-2542, เป็นผู้พิพากษาเฉพาะกิจในศาลโลกในคดีทรัพย์สินบางประการ

(ลิกเตนสไตน์ กับ เยอรมนี), เป็นสมาชิกคณะกรรมาธิการกฎหมายระหว่างประเทศแห่งสหประชาชาติตั้งแต่ ปี 2553

ร็อดแมน บุนดี

ชาวอเมริกัน

หุ้น ส่วนสำนักงานกฎหมายเอเวอร์เช็ดส์ กรุงปารีส, มีประสบการณ์ว่าความระหว่างประเทศในคดีข้อพิพาทเขตแดนและเขตทางทะเลจำนวนมาก อาทิ ข้อพิพาททางทะเล (เปรู กับ ชิลี) คดีข้อพิพาทเกี่ยวกับอธิปไตยเหนือหมู่เกาะสิปาดันและลิติกัน (อินโดนีเซีย/มาเลเซีย) และคดีข้อพิพาทเกี่ยวกับอธิปไตยเหนือเกาะเปดราบลังกา (มาเลเซีย/สิงคโปร์)

องค์คณะผู้พิพากษาศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ประกอบด้วย

องค์คณะผู้พิพากษาศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ

1.ปี เตอร์ ทอมกา (สโลวาเกีย) ประธานศาลโลก ทำงานผู้พิพากษาศาลตั้งแต่วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2546, ขึ้นรองประธานศาล ระหว่างวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2552-5 กุมภาพันธ์ 2555 และเป็นประธานศาล ตั้งแต่วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2555

2.เบอร์ นาร์โด เซพูลเวดา-อะมอร์ (เม็กซิโก) รองประธานศาล เป็นผู้พิพากษาศาลตั้งแต่วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2549 และรองประธานศาลตั้งแต่วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2555

3.ฮิซาชิ โอวาดะ (ญี่ปุ่น) ผู้พิพากษา เป็นผู้พิพากษาศาลตั้งแต่วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2546 ก่อนเป็นประธานศาลระหว่างวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2552-5 กุมภาพันธ์ 2555

4.รอนนี อะบราฮัม (ฝรั่งเศส) ผู้พิพากษา เป็นผู้พิพากษาศาลตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2548

5.เคนเน็ธ คีธ (นิวซีแลนด์) ผู้พิพากษา เป็นผู้พิพากษาศาลตั้งแต่วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2549

6.โมฮาเม็ด เบนนูนา (โมร็อกโก) ผู้พิพากษา ดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาศาลตั้งแต่วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2549

7.ลีโอนิด สก็อตนิคอฟ (รัสเซีย) ผู้พิพากษา เป็นผู้พิพากษาศาลตั้งแต่วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2549

8.อันโตนิโอ เอ กันฌาโด ตรินดาเด (บราซิล) ผู้พิพากษา เป็นผู้พิพากษาศาลตั้งแต่วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2552

9.อับดุลคาวิ อะห์เม็ด ยูซูฟ (โซมาเลีย) ผู้พิพากษา เป็นผู้พิพากษาศาลตั้งแต่วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2552

10.คริสโตเฟอร์ กรีนวูด (สหราชอาณาจักร) ผู้พิพากษา เป็นผู้พิพากษาศาลตั้งแต่วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2552

Credit: http://news.tlcthai.com/news/122670.html
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...