พวกเราคงจะเคยอ่านเรื่องเกี่ยวสะพานที่ยาวที่สุดหรือสูงที่สุดในโลกอยู่บ่อย ๆ แต่ที่นำมาฝากพวกเราวันนี้นำมาจาก เว็บไซต์ brainz.org เป็นเรื่องเกี่ยวกับสะพานที่อันตรายหรือน่าหวาดเสียวที่สุด สะพานเหล่านี้เป็นสะพานที่ผู้คนในละแวกนั้นใช้ข้ามไปมาเป็นประจำ อ่านเรื่องและชมภาพสะพานทั้งหมดกันครับ
1. สะพานข้ามแม่น้ำ Hunza River, ในประเทศปากีสถาน สะพานนี้อยู่บริเวณหมู่บ้าน Hussaini ทางตอนเหนือของปากีสถาน เมื่อปี 2010 สะพานแห่งนี้ถูกทำลายจากน้ำท่วมใหญ่ในปากีสถานเมื่อปี 2010 และมีการสร้างสะพานใหม่ๆ ไว้ข้างสะพานที่ถูกทำลายไป แต่สะพานที่สร้างขึ้นมาใหม่ก็ชวนขนหัวลุกเหมือนเดิมครับ
2. สะพานข้ามแม่น้ำ Braldu River ทางตอนเหนือของปากีสถาน สะพานแห่งนี้สร้างจากเถาวัลย์ถัก ข้ามแม่น้ำ Braldu ที่เชี่ยวกราก ตอนนี้สะพานแห่งนี้ถูกทดแทนด้วยสะพานใหม่ที่ปลอดภัยกว่าเดิม เพื่อให้เด็กๆ สามารถข้ามไปเรียนที่โรงเรียนแห่งใหม่ได้
3. สะพานข้ามหุบเขา Lantang ในประเทศเนปาล สะพานนี้สร้างเพื่อข้ามหุบเขา Lantang ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาหิมาลัย ในประเทศเนปาล ดูเผินๆ สะพานนี้ค่อนข้างปลอดภัย แต่เนื่องจากลมที่แรงจ้ดและความลึกของหุบเขา ทำให้ผู้ใช้สะพานมีโอกาสเกิดอุบัติเหตุได้ง่ายๆ
4. สะพานข้ามแม่น้ำ Sarawak ในบอร์เนียว สะพานแห่งนี้ทำจากต้นไผ่มัดเชื่อมต่อกันด้วยเชือกและลวด เนื่องจากทำจากต้นไผ่ทำให้สะพานนี้ค่อนข้างลื่นและสั่นไหวอยู่ตลอดเวลา สามารถข้ามได้เพียงครั้งละ 2 คนเท่านั้น
5. สะพานข้ามทะเลสาบ Trift ในสวิสเซอร์แลนด์ สะพานแห่งนี้อยู่ตอนกลางของประเทศสวิสเซอร์แลนด์ มีความยาว 550 ฟุต อยู่สูงจากทะเลสาบ 300 ฟุต เป็นสะพานคนเดินที่ยาวที่สุดบนเทือกเขา Alps
6. สะพานข้ามแม่น้ำ Kotmale Oya ในประเ้ทศศรีลังกา สะพานทำด้วยไม้ที่ผุพังไปตามกาลเวลา ข้ามแม่น้ำ Kotmale Oya ที่เชี่ยวกราก
7. สะพานแขวน Capilano ในแคนาดา สะพานแห่งนี้สร้างเมื่อปี 1889 สะพานแห่งนี้สูง 230 ฟุต ยาว 450 ฟุต ข้ามแม่น้ำ Capilano สะพานแห่งนี้มีคนใช้สัญจรเป็นประจำเพราะอยู่ในเขตสวนสาธารณะ แต่ก็เกิดอุบัติเหตุหลายครั้ง เช่นต้น Douglas fir ขนาด 46 ตันหักโค่นลงบนสะพาน และยังมีเหตุวัยรุ่นพลัดตกจากสะพานจนเสียชีวิต
8. สะพาน Rope Bridge ในประเทศเปรู สะพานแห่งนี้เป็นสะพานที่ถักด้วยเชือกล้วนๆ ไม่มีแผ่นกระดานรองรับ
9. Living Root Bridge ในประเทศอินเดีย สะพานแห่งนี้มีอายุนานกว่า 100 ปี ยาว 53 ฟุต เป็นสะพานที่สานจากรากของต้นไทร ด้วยฝีมือมนุษย์โดยใช้เวลาถึง 20 ปี