ท้องฟ้าที่ไกลที่สุดในโลก โดย กล้องฮับเบิล สเปซ เทเลสโคป

 

 

 

 

 

ท้องฟ้าที่ไกลที่สุดในโลก โดย กล้องฮับเบิล สเปซ เทเลสโคป

 

ท้องฟ้าที่ไกลที่สุดในโลก โดย กล้องฮับเบิล สเปซ เทเลสโคป (The Hubble Space Telescope) ของนาซาสามารถจับภาพที่น่าตื่นตะลึงมากที่สุดภาพหนึ่งของจักรวาลได้ หรือที่เรียกว่า “เอ็กซ์ทรีม ดีพ ฟิลด์” (eXtreme Deep Field) หรือ เอ็กซ์ดีเอฟ เป็นภาพที่ผ่านการนำภาพที่ถ่ายชิ้นส่วนต่างๆของจักรวาลขนาดเล็ก หรือที่เรียกว่า“ฮับเบิล อัลตรา ดีพ ฟิลด์” โดย กล้องฮับเบิล สเปซ เทเลสโคป นานถึง 10 ปี มารวมเข้าไว้ด้วยกัน ซึ่งเผยให้เห็นภาพวัตถุนอกโลก รวมถึงกาแล็กซีอันไกลโพ้นอีกเป็นจำนวนมาก โดยภาพดังกล่าวได้รับการกล่าวว่าเป็นภาพถ่ายท้องฟ้าที่มีระยะทางไกลที่สุดเท่าที่เคยมีการบันทึกได้ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

ภาพที่ว่านี้มาจากการใช้เทคโนโลยีเอ็กซ์ดีเอฟ ซึ่งเป็นการรวบรวมภาพถ่ายจากจุดเดียวกันกว่า 2,000 ภาพ ที่บันทึกได้จากกล้องโทรทรรศน์ฮับเบิล และกล้องถ่ายภาพอินฟาเรดช่วงใกล้เข้าไว้ด้วยกัน

โดยเทคโนโลยีเอ็กซ์ดีเอฟ ช่วยให้ กล้องฮับเบิล สเปซ เทเลสโคป  สามารถถ่ายภาพกาแล็กซีได้เพิ่มอีก 5,500 กาแล็กซี จากเดิมที่มีอยู่แล้วเป็นจำนวนมากนับตั้งแต่องค์การนาซาส่งกล้องฮับเบิล ขึ้นไปโคจรนอกโลกตั้งแต่เมื่อประมาณ 10 ปีก่อน

ทั้งนี้ กล้องโทรทรรศน์ฮับเบิล ซึ่งโคจรมายังตำแหน่งเดิมกว่า 50 ครั้งตลอดระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา ช่วยทำให้ค่าความไวชัตเตอร์ของกล้องตัวดังกล่าวเพิ่มขึ้นอีก 2 ล้านวินาที และทำให้มันสามารถจับภาพวัตถุที่อยู่ไกลออกไปได้มากขึ้น โดยวัตถุไกลที่สุดซึ่งกล้องฮับเบิลสามารถจับภาพได้ ถือเป็นปรากฏการณ์ในห้วงอวกาศที่มีอายุราว 450 ล้านปี หลังการก่อกำเนิดของระบบสุริยจักรวาลเมื่อประมาณ 13,700 ล้านปีที่ผ่านมา

นอกจากนี้ กล้องโทรทรรศน์ฮับเบิล ยังสามารถถ่ายภาพ กาแล็กซี จำนวนมากที่ขดตัวเป็นวงกลม และมีสีสันสวยงาม รวมถึง กาแล็กซีสีแดง ที่มีอายุเก่าแก่มากกว่า ซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นถึงปรากฏการณ์บนท้องฟ้า หลังช่วงเวลาของการก่อกำเนิดดวงดาวสิ้นสุดลงอีกด้วย

นักวิทยาศาสตร์เผยว่า จักรวาลมีอายุราว 13,700 ล้านปี และ เทคโนโลยีเอ็กซ์ดีเอฟนี่เอง ที่เผยให้เห็นกาแล็กซีที่ถือกำเนิดขึ้นกว่า 13,200 ล้านปีก่อน โดยกาแล็กซีส่วนใหญ่ที่ปรากฎในภาพยังคงมีอายุน้อย กำลังเติบโต และมีขนาดเล็ก บ้างก็มีการปะทะระหว่างดาวเคราะห์ที่รุนแรง จักรวาลในช่วงต้น เป็นช่วงที่มีการเกิดกาแล็กซีอย่างมากมาย ที่ซึ่งประกอบด้วยดวงดาวสีฟ้าที่มีความสว่างเจิดจ้ายิ่งกว่าดวงอาทิตย์ และแสงจากการถือกำเนิดครั้งนั้น เพิ่งเดินทางมาถึงโลกเมื่อไม่นานมานี้ เอ็กซ์ดีเอฟ จึงเป็นเสมือนอุโมงค์ที่นำเราย้อนไปสู่อดีตอันแสนไกล

ก่อนหน้าการส่ง กล้องฮับเบิล ขึ้นไปยังอวกาศ นักดาราศาสตร์สามารถเห็น กาแล็กซี ปกติที่ย้อนกลับไปเพียง 7 พันล้านปีแสงเท่านั้น หรือเพียงครึ่งทางของจักรวาล และการสังเกตด้วยกล้องโทรทรรศน์บนพื้นโลก ไม่สามารถทำให้ทราบว่า กาแล็กซีต่างๆก่อตัวขึ้นหรือเกี่ยวข้องกับการถือกำเนิดในช่วงต้นได้อย่างไร?


กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...