ประวัติของหมู่บ้านบางระจัน

 

วีรกรรมของชาวบ้านบางระจัน
        เหตุการณ์และบทบาทของชาวบ้านบางระจัน เกิดขึ้นเมื่อพม่ายกทัพทั้งทัพบกและทัพเรือมาตี
  กรุงศรีอยุธยาในปี พ.ศ. 2306 ในระหว่างนั้น หัวเมืองทั้งใต้และเหนือของไทยเสียแก่พม่าไปหลายเมือง
  คนไทยที่ได้รับความเดือนร้อนต้องพาครอบครัวหลบหนีเข้าป่าไปเป็นจำนวนมาก ในขณะนั้น มีคนไทย กลุ่มหนึ่งคิดต่อสู้กับพม่า บอกข่าวชักชวนชาวบ้าน นัดแนะทำกลลวงพม่าแล้วฆ่าพม่าไปจำนวนไม่น้อย   จากนั้นกลุ่มคนไทยดังกล่าวได้พากันหลบหนีพม่าไปหาพระอาจารย์ธรรมโชติ ที่วัดเขาเดิมบาง
  นางบวช พระอาจารย์ผู้นี้มีวิชาอาคมเป็นที่ยกย่องนับถือของชาวบ้าน กลุ่มคนไทยจึงได้นิมนต์ให้ไปอยู่
  ที่วัดโพธิ์เก้าต้น ในขณะนั้นมีราษฎรชาวเมืองวิเศษไชยชาญ ชาวเมืองสิงห์และเมืองสรรค์ พากัันหลบหนี
  พม่ามาชุมนุมกันในหมู่บ้านบางระจันกันมากมาย ด้วยหมู่บ้านแห่งนี้มีชัยภูมิที่ดีี่ยากที่พม่าจะยกทัพเข้ามาตี ทั้งยังมีเสบียงอาหารอุดมสมบูรณ์ หัวหน้ากลุ่มคนไทยพากันหลบหนีมาชุมนุมกันที่นี้ โดยมีพรรคพวกที่ เป็นชาวบ้านติดตามมาอยู่ด้วย ชาวบ้านบางระจันได้ร่วมมือกันสร้างค่ายขึ้นล้อมรอบหมู่บ้าน จัดกำลังคน
  เป็นหมวดหมู่ทำหน้าที่รักษาค่าย เตรียมหาอาวุธไว้ต่อสู้กับศัตรู วางกองสอดแนมคอยสืบข่าวความ
  เคลื่อนไหวของฝ่ายพม่า
   
 

ค่ายจำลองบางระจัน....................พระอาจารย์ธรรมโชติ.....................โบสถ์พระธรรมโชติิ 
.................................เกจิอาจารย์ผู้เรืองวิชาอาคมที่เคารพบูชาิ...........ในค่ายบางระจัน
ของเหล่าผู้กล้าแห่งบ้านบางระจัน

ฝ่ายพม่าที่ตั้งอยู่ที่วิเศษไชยชาญรู้ว่าพวกคนไทยที่ฆ่าพม่าตาย พากันหลบหนีมาอยู่ที่ค่ายบางระจัน
  จึงส่งกำลังทหารตามมาจับ ชาวบ้านบางระจันรู้ข่าวว่าพม่ายกขึ้นมาที่บางระจัน จึงจัดกองกำลังขึ้นรับศึก
  พม่า เหล่านักรบชาวบ้านไทยสามารถรบเอาชัยชนะพม่าได้เป็นครั้งแรก กิตติศัพท์ของชาวบ้านบางระจัน
  จึงเป็นที่เลื่องลือไปทั่ว คนไทยที่หลบซ่อนตามแขวงหัวเมืองใกล้เคียงพากันมาสมทบกับนักรบบางระจัน
  เพิ่มขึ้น หัวหน้านักรบบางระจันจึงจัดตั้งกองกำลังเป็นหมวดหมู่ควบคุมกันเอง แบบเดียวกับกองทัพหลวง
  และต่างฝึกเพลงอาวุธและยุทธวิธีต่อสู้ เตรียมพร้อมที่จะสู้ศึกกับพม่าทุกเวลา
   
 

ฆ้อง เครื่องมือส่งสัญญาณ ........................................อาวุธโบราณต่างๆ
 
เมื่อตอนที่ชาวบ้านบางระจันใช้ ระหว่างต่อสู้ข้าศึก..................ที่ชาวบ้านบางระจันใช้ในการสู้รบ
นักรบบางระจันแม้จะมีกำลังเป็นรองฝ่ายพม่า แต่สามารถตอบโต้การโจมตีของข้าศึกจนแตกพ่าย
  ไปได้ถึง 7 ครั้ง ความเก่งกล้าสามารถของนักรบบางระจันเป็นที่เกรงกลัวและครั่นคร้ามแก่ศัตรูมากยิ่งขึ้น
  จนกระทั่งฝ่ายพม่าวางแผนและเกณฑ์กำลังพลจำนวนมาก มุ่งมาโจมตีค่ายชาวบ้านบางระจันอย่างเต็มที่ ในขณะที่ชาวบ้านบางระจันซึ่งมีกำลังคนน้อย และเสียชีวิตลงไปไม่น้อยจากการรบที่ผ่านมา ประกอบกับ
  ไม่มีอาวุธปืนที่มีอานุภาพเพียงพอที่จะรับศึกพม่า จนกระทั่งในที่สุดพม่าสามารถตีค่ายบางระจันแตก
  นักรบบางระจันต่อสู้จนเสียชีวิตล้มตายอยู่ในค่ายมากมาย รวมเวลาต่อสู้กับพม่าได้นาน 5 เดือน
   

..............................
...........................................การรบครั้งสุดท้ายของชาวบ้านบางระจัน
 

  วีรกรรมของชาวบ้านบางระจัน นับเป็นการเสียสละที่ยิ่งใหญ่ เป็นพลังของประชาชนชาวบ้าน ธรรมดาที่มีต่อประเทศชาติ สามารถสู้รบต่อต้านข้าศึกด้วยความกล้าหาญ พลังแห่งความสามัคคี
  ความรักชาติ อันเป็นแบบอย่างแห่งการเสียสละอันใหญ่หลวง
   
 

 
อนุสรณ์สถานชาวบ้านบางระจัน

 

ฟังเพลงศึกบางระจัน

 
24 ก.พ. 53 เวลา 16:32 159,629 4 60
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...