ความหมายของสัญลักษณ์ “เท่ากับสีแดง” ใน ′เฟซบุ๊ค′

 

 

 

 

ความหมายของสัญลักษณ์ “เท่ากับสีแดง” ใน ′เฟซบุ๊ค′

 

 

หากเปิดเฟซบุ๊คช่วงนี้ หลายคนอาจแปลกใจที่ รูปโพรไฟล์ของเพื่อนๆ หลายคน กลายเป็น “เครื่องหมายเท่ากับสีชมพู บนพื้นหลังสีแดง” เหมือนกัน ซึ่ง ความเหมือนกันนี้ ไม่ใช่เรื่อง ‘บังเอิญ’

เพราะนี่เป็นหนึ่งในแคมเปญ เพื่อรณรงค์สิทธิในการแต่งงานคนที่รักเพศเดียวกัน ซึ่งทำคู่ขนานไปกับ ช่วงที่ศาลฎีกาของสหรัฐอเมริกา เริ่มพิจารณาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับการห้ามผู้ที่รักเพศเดียวกันแต่งงาน 2 ฉบับ ได้แก่ข้อกฎหมายที่ 8 หรือ Proposition 8 ของมลรัฐแคลิฟอร์เนีย และกฎหมายสิทธิการแต่งงานปี 2539 หรือ DOMA ที่ระบุว่า คู่สมรสชายหญิงเท่านั้น ที่สามารถจดทะเบียนสมรสได้ถูกต้องตามกฎหมาย

ซึ่งกลุ่มเคลื่อนไหว เพื่อสิทธิของชาวรักร่วมเพศในสหรัฐฯ มีความเห็นตรงกันว่า กฎหมายทั้งสองฉบับ อาจเข้าข่ายขัดต่อรัฐธรรมนูญ เนื่องจากรัฐธรรมนูญของสหรัฐฯ ระบุชัดเจนว่า ชาวอเมริกันทุกคนมีสิทธิในการแต่งงาน ขณะที่กลุ่มอนุรักษ์นิยม ซึ่งเป็นกลุ่มที่สนับสนุนกฎหมายดังกล่าวบอกว่า การแต่งงานเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเฉพาะชายกับหญิงเท่านั้น เนื่องจากคู่สมรสชายหญิง สามารถให้กำเนิดบุตร และสร้างครอบครัวที่มีองค์ประกอบครบถ้วน ตามวัฒนธรรม และทำเนียมที่ปฏิบัติสืบทอดกันมา

ปรากฎการณ์ “รูปเครื่องหมายเท่ากับบนพื้นสีแดง” เป็นแคมเปญที่ริเริ่มโดย กลุ่มเพื่อสิทธิเพื่อมนุษยชน หรือ Human Rights Campaign ที่มีแนวทางสนับสนุนการแต่งงานของชาวรักเพศเดียวมาโดยตลอด โดยมี “จอร์จ ทาเคอิ” เป็นหนึ่งในคณะทำงานผลักดันแคมเปญนี้

 

ทาเคอิ

ทาเคอิ เป็น นักแสดงและนักเขียนชาวอเมริกัน ซึ่งโด่งดัง จากบท “ฮิคารุ ซูลู” ในซีรี่ย์ “สตาร์เทรค” นอกจากนี้ ทาเคอิ ยังเป็นหนึ่งในผู้ที่ออกมาเคลื่อนไหวรณรงค์เรื่อง “สิทธิของคนรักเพศเดียวกัน” และในปี 2005 เขาก็ได้ออกมายอมรับว่าเขาเป็นเกย์ และอยู่ร่วมกับคู่ชีวิตมากว่า 18 ปีแล้ว โดย ทาเคอิ ได้รณรงค์ด้วยการโพสรูปภาพและข้อความในหน้าเพจเฟซบุ๊คของเขา ซึ่งระบุว่า

“สำหรับคนที่สงสัยว่า ‘เครื่องหมายเท่ากับสีแดง’ คืออะไร เครื่องหมายนี้เป็นสัญลักษณ์ที่แสดงถึงสิทธิในการแต่งงานที่เท่าเทียมกัน ต้องขอบคุณ ‘ฮิวแมนไร้ท์เคมเปญ’ ที่ข่วยสนับสนุนการรณรงค์นี้ และทุกคนตรงนี้ก็สามารถช่วยรณรงค์อีกทางได้ โดยใช้รูปนี้เป็นรูปโพรไฟล์ โดยเฉพาะหากคุณเป็นเพื่อน/ญาติ ที่เข้าใจคนรักเพศเดียวกัน”

ซึ่งล่าสุดนี้ มีผู้ใช้เฟซบุ๊คทั่วโลก เข้าไปกด Like ในเพจของ Human Rights Campaign แล้วกว่า 1 ล้าน 3 แสนคน ขณะที่รูปเครื่องหมายเท่ากับสีแดงเอง ก็ถูกนำไปแชร์ต่อกันอย่างแพร่หลาย โดยล่าสุด เซเลบชื่อดังอย่าง บียอนเซ ซาร่า บาเรลเรส เบน แอฟเฟลค และนักร้องนักแสดงชื่อดังหลายสิบคน ได้นำเครื่องหมายดังกล่าวไปแชร์ในเฟซบุ๊กของพวกเขา พร้อมเรียกร้องให้แฟนคลับออกมาสนับสนุนการเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิการแต่งงานของทุกคนในสังคมอเมริกัน

อีกทั้ง ‘เครื่องหมายเท่ากับสีแดง’ยังกลายเป็น“มีม” (meme) สุดฮิตบนโลกออนไลน์อีกด้วย ชาวเน็ตสุดครีเอทได้นำเครื่องหมายเท่ากับสีแดง ไปเปลี่ยนแปลง หรือ ตัดต่อ และล้อเลียน ซึ่งในเว็บไซต์ “know your meme” และ เพจเฟซบุ๊คของ Human Rights Campaign ได้รวบรวมเอาไว้ ดังนี้

 

กราฟแสดง สถิติการเปลี่ยนรูปโพรไฟล์เฟซบุ๊คเป็น ‘เท่ากับบนพื้นแดง’ ระหว่างวันที่ 21-26 มี.ค

นอกจากนั้น ในช่วงวันที่ 21 -26 มี.ค. ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นการเริ่มรณรงค์ให้ใช้สัญลักษณ์ดังกล่าว เฟซบุ๊คได้เผยแพร่ข้อมูลเชิงสถิติที่ระบุว่า ในช่วงสัปดาห์ดังกล่าว มีผู้ใช้เฟซบุ๊คเปลี่ยนรูปตัวเองเป็นเครื่องหมายเท่ากับบนพื้นสีแดง กว่า 2.7 ล้านคน

เฟซบุ๊คยังรายงานต่อไปว่า ส่วนใหญ่คนที่เปลี่ยนรูปโพรไฟล์ตนเป็นเครื่องหมายเท่ากับสีแดง ส่วนใหญ่เป็นคนอายุประมาณ 30 ปี และคนที่อาศัยในพื้นที่เขตมหาวิทยาลัย ซึ่งอาจคาดได้ว่า ด้วยเงื่อนไขของสถานที่และช่วงอายุอาจทำให้คนกลุ่มนี้รู้สึกสบายใจที่จะแสดงออกซึ่งการสนับสนุนของตนต่อสาธารณะ

แต่การเปลี่ยนรูปโพรไฟล์นั้นจะสร้างความแตกต่าง และนำมาสู่การเปลี่ยนแปลง ได้จริงหรือ

′เมลานี เทนเนนบาอัม′ จากสถาบันวิทยาศาสตร์ของสหรัฐอเมริกา ระบุว่า การที่เปลี่ยนรูปโพรไฟล์เฟซบุ๊คนั้น เป็นการแสดงการสนับสนุนอย่างหนึ่ง แต่ก็ต้องยอมรับว่ามันไม่อาจจะสร้างผลกระทบในทางกฎหมายให้เกิดได้โดยตรงได้

แต่สิ่งปรากฎการณ์นี้ทำคือ แสดงพลังของคนรักเพศเดียวและคนที่สนับสนุน สะท้อนให้สังคมได้เห็นถึง “การมีอยู่” และ “ตัวตน” ของคนกลุ่มนี้ ซึ่งนี่อาจเป็นก้าวที่สำคัญ เพื่อสร้างความเข้าใจให้กับสังคมก็เป็นได้

หากคิดให้ง่าย ปรากฎการณ์ “รูปโพรไฟล์สีแดง” ก็อาจเป็นโอกาสที่สำคัญ โอกาสที่ “คุณ” จะได้ทำความรู้จัก ′เพื่อน′ ของคุณมากกว่าเดิมก็เป็นได้

 

รูปโพรไฟล์สีแดง

Credit: http://news.tlcthai.com/category/news-clips
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...