เชิญธงลงจากเขาพระวิหาร ใครบัญชาการ ?

 

ยาวหน่อยนะค๊ะอย่าเบื่อกันเสียก่อน

 

แล้วคุณคิดว่าใครเป็นคนเชิญธงชาติไทยลง?

 

๑๕ กรกฎาคม ๒๕๐๕ หลังคำพิพากษาศาลโลก พลโท ประภาส จารุเสถียร รมว.มหาดไทย (ยืนซ้ายสุด) คุมตำรวจตระเวนชายแดนเชิญเสาธงชาติไทยจากยอดผาเป้ยตาดีมาทั้งเสา โดยไม่มีการเชิญธงชาติลงจากยอดเสา แล้วนำมาตั้งไว้ที่ผามออีแดง

 

 

พอดีมีหนังสือระลึกงานพระราชทานเพลิงศพ นายพ่วง สุวรรณรัฐ อดีตปลัดกระทรวงมหาดไทยในพ.ศ.นั้น (ภายหลังท่านได้เป็นปลัดกระทรวงและร.ม.ช.กระทรวงมหาดไทยตามลำดับ) ลูกชายท่านมอบให้มาหลายปีแล้ว เปิดอ่านดูพบบทความหนึ่งเขียนโดยนายโชดก วีรธรรม พูลสวัสดิ์ อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดหลายจังหวัด กล่าวถึงเหตุการณ์ครั้งที่เชิญธงชาติไทยออกจากเขตที่จะส่งคืนเขมรตามคำพิพากษาของศาลโลก

 

 

นายโชดก วีรธรรม พูลสวัสดิ์ ผู้เขียน

 

 

 

 

 

ที่ประดิษฐานธงชาติไทยครั้งอดีต

 

 

ความแตกต่าง

โปรดใช้วิจารณญาณในการชมค่ะ

 

 

สองภาพนี้ดูเหมือนต่างสถานที่ ต่างเหตุการณ์

 

 

 

 

 

แล้วก้อนหินโหนกๆที่พลโทประภาสยืนอยู่ข้างๆมันอยู่ตรงไหน

 

 

ทางซ้ายของภาพนี้คล้ายนักๆ

 

 

อื้อ....แต่ยังไม่ค่อยจะเนียนเท่าไหร่นะ

หินที่พลโทประภาสยืนอยู่จะเห็นไลเคนหรือลายดอกหิน

ที่เกิดจากราหรือสาหร่ายเป็นดวงๆ แต่ภาพสีหน้าหินเปิงๆชอบกล

 

 

ยังสงสัยอยู่ว่ารถจิ๊ปขึ้นไปบนเขาพระวิหารได้อย่างไร?

 

--------------------------------------------------------------------------

 

เจอร่องรอยคำตอบ

 

http://it-programmer.doh.go.th:8080/Highways_Journal/index.php?option=com_content&task=view&id=193&Itemid=93


จาก "ย้อนรอยขึ้นเขาพระวิหาร" ที่โยงไว้ให้แล้วข้างล่าง จะเห็นว่าสมัยที่ยังไม่เปิดเป็นแหล่งท่องเที่ยว ใครมีกิจจะขึ้นไปก็จะใช้รถ เช่นจิ๊ปที่มีเกียร์สโลว์ ที่เดินขึ้นก็คงได้แต่มันไม่วีไอพี...

 

ถ้าท่านออกเดินทางจากศรีสะเกษในตอนเช้า (ประมาณ 7.30 น.) ก็จะทันอาหารกลางวันที่อำเภอกันทรลักษณ์พอดี เมื่อท่านถึงกันทรลักษณ์แล้ว ขอแนะนำให้ท่านเตรียมน้ำบริโภคและสิ่งจำเป็นอื่น ๆ ในการบริโภคไว้ให้พร้อม เพราะบนเขาพระวิหารท่านจะหาน้ำรับประทานได้โดยยาก เมื่อท่านได้เตรียมน้ำและสิ่งอื่น ๆ อันจำเป็นเกี่ยวกับการเดินทางเรียบร้อยแล้ว ควรต้องรีบเดินทางต่อไปทันที เพราะว่าทางจากอำเภอกันทรลักษณ์ไปยังเขาพระวิหารนั้นเป็นทางซึ่งผ่านเข้าไปในดงทึบและแคบมาก ถ้าฝนตกหนักรถก็จะไปได้โดยยากหรืออาจจะไปไม่ได้ ระหว่างทางที่ไปนี้ต้องข้ามห้วย 2 ห้วย ห้วยที่ 3 ห่างจากกันทรลักษณ์ประมาณ 7 กิโลเมตร เรียกว่าห้วยขะยุง ท้องห้วยเป็นทราย ก่อนจะนำรถข้ามห้วยนี้ ขอแนะนำให้ท่านกวาดทรายตามร่องลอยล้อออกให้ถึงพื้นทรายแข็งหรือจะตัดใบไม้กิ่งไม้ทับลงตามรอยล้อให้หนาพอสมควรเพื่อกันรถติดทราย ทั้งนี้ เพื่อป้องกันไม่ให้ท่านเสียเวลา หากท่านเสียเวลาเมื่อรถติดทรายแล้ว ท่านจะขึ้นเขาพระวิหารในเวลาค่ำคืนไม่ได้ เพราะเป็นทางชันและมีก้อนหินโผล่ขึ้นมาเกะกะตามทางรถอันจะเป็นเหตุให้เกิดอันตรายได้ ต่อจากห้วยขะยุงไปอีกประมาณ 12 กม. ก็จะต้องข้ามห้วยอีกหนึ่งห้วย เรียกว่าห้วยตาเงิด ห้วยนี้ลึก มีสะพานไม้ชั่วคราวข้าม ตามระยะทางที่รถแล่นมานี้จะผ่านหมู่บ้านเล็ก ๆ น้อย ๆ หลายแห่ง หมู่บ้านเหล่าเราจะต้องอาศัยข้าวปลาอาหารได้ยาก เพราะว่าชาวบ้านราษฎรแถวนี้ค่อนข้างจะอัตคัดขาดแคลนในเรื่องข้าวปลาอาหารโดยทั่วไป 


จนกระทั่งถึงหมู่บ้านหมู่หนึ่งซึ่งอยู่เชิงเขา เรียกว่าบ้านปงซอน (ปัจจุบันนี้คือหมู่บ้านภูมิสรอล) หมู่บ้านนี้มีประมาณ 10 หลังคาเรือน และทางอำเภอได้ส่งเจ้าหน้าที่ตำรวจคอยเฝ้าดูแลรักษาอยู่เป็นประจำ 4 นาย ผลัดเปลี่ยนกันอยู่เป็นกะ ๆ ทั้งนี้ เนื่องจากว่า หมู่บ้านนี้มีทางติดต่อกับราษฎรเขมรต่ำ (ประเทศเขมร) โดยมีด่านตาเฒ่าเป็นทางขึ้นลงติดต่อกับซึ่งกันและกัน จากบ้านปงซอนนี้ไปประมาณ 9 กม. ก็จะถึงเขาพระวิหาร ทางตอนนี้รู้สึกว่าค่อนข้างจะแคบมาก และบางแห่งรถจะแล่นไปบนทางซึ่งมีหินโผล่ขึ้นมาระเกะระกะ และบางตอนทางขึ้นก็ชันมาก (ขอแนะนำให้ท่านพยายามหารถซึ่งมีกำลังดีและแข็งแรงเป็นพาหนะ เพราะทางขึ้นเขาในระยะนี้อยู่ในเกณฑ์ลำบาก) เมื่อท่านขึ้นไปบนเขาแล้วจะพบบ้านพักอยู่ 2 หลัง หลังหนึ่งเป็นบ้านซึ่งสร้างมานานแล้ว แต่อยู่ในสภาพที่แข็งแรงกันลมและฝนได้ดี และอีกหลังหนึ่งสร้างเมื่อคราวกรมหมื่นนครสวรรค์ศักดิ์พินิจเสด็จวันที่ 22 มี.ค.2498 นี้ ถ้าท่านออกจากอำเภอกันทรลักษณ์เวลาประมาณ 12 น. และไม่มีอุปสรรคในระหว่างเดินทาง ท่านก็จะถึงเขาพระวิหารเวลาประมาณ 16 น. เป็นอย่างช้า ซึ่งมีเวลาพักผ่อนและเตรียมเสบียงอาหารเพื่อรับประทานในเย็นวันนั้นได้ทัน

 

--------------------------------------------------------------
 

จากเว็บนี้

 

http://www.siamdara.com/column/00005062.html#abc

 

แสดงว่าผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์ยืนยันว่าพลโทประภาส (สมัยนี้ท่านมีตำแหน่งจอมพลซึ่งเป็นรุ่นสุดท้ายของตำแหน่งนี้) ได้มาที่เขาพระวิหารจริง แต่ภาพที่ถ่ายลงมาตามที่เราดูกันนั้น คนละเหตุการณ์กับของรองปลัดพ่วงแน่

 

 

----------------------------------------------------------------------

 

 

ประมวลจากทุกหลักฐาน (หากถูกต้อง) ลำดับเหตุการณ์อาจเป็นดังนี้

 

คุณพ่วง สุวรรณรัฐ รองปลัดกระทรวงมหาดไทยในสมัยนั้นสั่งการให้นำธงชาติไทยพร้อมเสาธงลงจากเขาพระวิหาร โดยบรรทุกลงมาโดยรถจิ๊ปของ ตชด. (ไม่มีภาพประกอบ เพราะไม่มีการถ่ายภาพ)

 

เมื่อนำลงมาข้างล่างแล้วจึงแบกเสาธงที่มีธงชาติไทยติดอยู่ตรงปลายเสาลงจากรถ และแบกมาตั้งไว้หน้าฐาน ตชด. เบื้องล่าง (คือภาพที่เห็นพลโทประภาส รมต.มหาดไทยในขณะนั้น ยืนบัญชาการอยู่)

 

แผนผังปราสาทเขาพระวิหารและชะง่อนผาเป้ยตาดี พ.ศ. ๒๕๐๓

 

ยังมีต่อค่ะถ้าหากอยากทราบเรื่องราวต่อชมได้ที่ลิ้งค์นี้นะค๊ะ

ยาวมากเกินไปเดี๋ยวคุณๆจะเบื่อเสียก่อน

 

http://www.reurnthai.com/index.php?topic=5566.30

 

...ก็ต้องค้นหาความจริงกันต่อไป...

Credit: http://www.reurnthai.com/index.php?topic=5566.0
2 เม.ย. 56 เวลา 23:03 3,361 2 90
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...