5 โครงการทางวิทยาศาสตร์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก

 

 

 

 

 

 
 
 

 
 
1. เครื่องชนอนุภาคขนาดใหญ่ (Large Hadron Collider; LHC) เป็นเครื่องเร่งความเร็วอนุภาค ของศูนย์วิจัย CERN ในสวิตเซอร์แลนด์ มีลักษณะเป็นท่อใต้ดินวนเป็นวงกลมยาว 27 กิโลเมตร เป้าหมายของ LHC คือใช้ทดลองเร่งความเร็วอนุภาคแล้วเอามาวิ่งชนกัน เพื่อตรวจสอบทฤษฎีทางฟิสิกส์อนุภาคว่าเป็นไปได้จริงหรือไม่ โดยเฉพาะ Higgs Boson ซึ่งถ้าสร้างขึ้นมาได้จริงตามทฤษฎี วงการฟิสิกส์จะก้าวหน้าขึ้นไปอีกมาก 
 
เครื่อง LHC นี้ถือว่าเป็นเครื่องเร่งอนุภาคที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและใช้พลังงานสูงที่สุดของโลก สร้างขึ้นจากเงินทุนและการสนับสนุนรวมทั้งความร่วมมือจากนักฟิสิกส์มากกว่า 8,000 คน จาก 85 ประเทศ ในมหาวิทยาลัยและห้องทดลองทั่วโลกนับร้อยแห่ง 
 
อย่างไรก็ตาม มีกลุ่มนักวิทยาศาสตร์ที่คาใจเรื่องความปลอดภัยของ LHC ในหลายประเด็น เช่นว่า การใช้งาน LHC อาจก่อให้เกิดแบล็คโฮลขนาดเล็กขึ้นมาทำลายล้างโลก หรือเปลี่ยนขั้วแม่เหล็กโลกให้เหลือข้างเดียวได้ ล่าสุดได้มีคนยื่นฟ้องต่อศาลสหรัฐ ให้กระทรวงพลังงานสหรัฐและห้องทดลอง Fermilab ซึ่งเป็นภาคีสมาชิกของ LHC ชะลอการใช้งานไปอีก 4 เดือนเพื่อตรวจสอบความปลอดภัย ซึ่งทางฝ่ายสนับสนุน LHC เองก็ออกมาโต้แย้งว่าไม่มีหลักฐานใดๆ ว่าจะเกิดอันตรายขึ้นแต่อย่างใด ส่วนศาลจะรับฟ้องหรือไม่นั้นอยู่ระหว่างกระบวนการด้านเอกสาร 
 

 
 
 

 
 
2. สถานีอวกาศนานาชาติ (International Space Station; ISS) เป็นสถานีอวกาศที่ใช้คนควบคุม ถูกประกอบขึ้นในวงโคจรของโลก ลอยอยู่ในวงโคจรต่ำของโลก สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าจากพื้นโลก ลอยอยู่ที่ความสูงระดับ 350-460 กิโลเมตรเหนือพื้นโลก เคลื่อนที่ด้วยอัตราเร็วเฉลี่ย 27,700 กิโลเมตรต่อชั่วโมง โคจรรอบโลก 15.77 รอบต่อวัน เป็นโครงการร่วมกันระหว่างหน่วยงานด้านอวกาศ 5 หน่วยจากชาติต่างๆ ได้แก่ องค์การนาซา (สหรัฐอเมริกา), Russian Federal Space Agency (RKA, รัสเซีย), Japan Aerospace Exploration Agency (JAXA, ญี่ปุ่น), Canadian Space Agency (CSA, แคนาดา) และ European Space Agency (ESA, สหภาพยุโรป) 
 
สถานีอวกาศนานาชาติ เป็นโครงการที่เกิดขึ้นแทนโครงการสถานีอวกาศของแต่ละชาติ เช่น สถานีอวกาศมีร์ 2 ของรัสเซีย, สถานีอวกาศฟรีดอมของสหรัฐ, โครงการโคลัมบัสของสหภาพยุโรป 
 
สถานีอวกาศนานาชาติยังก่อสร้างไม่เสร็จสมบูรณ์ดี และมีเป้าหมายแล้วเสร็จในปี 2010 และจะถูกใช้งานจนถึงปี 2016 
 

 
 

 
 
3. ลิฟต์อวกาศ (space elevator) เป็นสิ่งก่อสร้างขนาดใหญ่ ที่มีการเสนอให้สร้าง เพื่อใช้ในการขนส่งวัสดุจากพิ้นผิวโลกขึ้นไปในอวกาศ รูปแบบที่มีการนำเสนอมักเป็นโครงสร้าง สร้างต่อเนื่องจากผิวโลก ขึ้นไปยังวงโคจรค้างฟ้า และสร้างต่อเนื่องออกไป โดยมีตุ้มน้ำหนักถ่วงที่ปลายอีกด้านหนึ่ง วัสดุที่มีการเสนอให้ใช้ มีลักษณะเป็นเคเบิล หรือแถบรับน้ำหนัก ที่สามารถรับกำลังได้สูง โดยทำเลที่ตั้งโครงสร้างจะอยู่บริเวณแถบเส้นศูนย์สูตร 
 
      แนวคิดเรื่องลิฟต์อวกาศมีเค้าลางแห่งความเป็นจริงมากขึ้นเมื่อ นาซ่า ได้ให้ความสนใจโครงการดังกล่าวอย่างจริงจังและได้นำแนวคิดดังกล่าวเข้าร่วมพิจารณาในปี ค.ศ.1999 ทั้งได้มีการทดลองเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานของ "ลิฟต์อวกาศ" หรือชื่อในภาษาอังกฤษว่า Geostationary Orbiting Tether "Space Elevator" โดยได้ซึ่งจัดขึ้น ณ ศูนย์การบินอวกาศมาร์แชล  เมืองฮันสวิลล์ รัฐอลาบามา ประเทศสหรัฐอเมริกา รวมทั้งนาซ่าจัดให้มีการวิจัยในประเด็นต่างๆที่เกี่ยวข้อง เช่น การศึกษาวิจัยความเป็นไปได้จริงของลิฟต์อวกาศมีมากน้อยเพียงใด  การวิจัยและพัฒนาหาวัสดุเหมาะสมสำหรับใช้เป็นสายเคเบิลของลิฟต์อวกาศ การทดลองขั้นต้นเกี่ยวกับลิฟต์อวกาศโดยยานขนส่งอวกาศโดยได้ทดลองปล่อยสายเคเบิ้ลหลายกิโลเมตรเป็นจำนวนหลายครั้ง โครงสร้างของลิฟต์อวกาศ ระบบขับเคลื่อน รวมทั้งเรื่องผลตอบแทนทางด้านเศรษฐศาสตร์ 
           ในทางทฤษฎีแล้วลิฟต์อวกาศ จะมีสายเคเบิ่ลที่ติดตั้งในชั่นวงโคจรระยะต่ำ (Low Earth Orbit) แล้วโยงไปยังระดับวงโคจรดาวค้างฟ้า(Geosynchronous Orbits) ที่อยู่สูงจากพื้นโลกประมาณ  22,000 ไมล์หรือราวๆ36,000 กิโลเมตร การที่กำหนดให้สถานีในอวกาศโคจรอยู่ในวงโคจรค้างฟ้าเพราะจะทำให้สามารถเคลื่อนตัวไปพร้อมๆกันได้กับสถานีลิฟต์อวกาศบนพื้นโลก โดยอีกข้างของสถานีอวกาศจะถ่วงด้วยมวลในอวกาศไว้ด้วยเพื่อตึงในลิฟต์อวกาสสามารถอยู่ในสภาพไร้น้ำหนักเมื่อมีการหมุนของโลกเรา 
 

 
 

 
 
      The Svalbard International Seed Vault เริ่มสร้างที่หุบเขาแถบขั้วโลกเหนือในเดือนมีนาคมและเปิดใช้ในปี 2008 สถานที่ก่อสร้างคือบนเกาะ Spitsbergen ซึ่งเป็นหนึ่งในเกาะทั้ง 4 ของ Svalbard และอยู่ในแถบขั้วโลกเหนือ ค่าก่อสร้างอยู่ที่ประมาณ 5 ล้านเหรียญยูเอส เก็บตัวอย่างเมล็ดพืชได้ประมาณสามล้านชนิด 
 
      นอกจากสงครามแล้วยังมีปัจจัยอื่นๆ หลายอย่างที่อาจทำให้อาหารขาดแคลนหรือพืชชนิดต่างๆ สูญพันธุ์ไปไม่ว่าจะเป็นสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไปมากการขาดน้ำ สารเคมี ฯลฯ 
 

 
 
5. ITER (International Thermonuclear Experiment Reactor) ซึ่งเป็นชื่อของเตาปฏิกรณ์ที่จะสร้างปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชั่นจากการ หลอมพลาสมาของธาตุดิวเทอร์เรียมและตริเตรียมที่ถูกกักไว้ในบ่อเก็บรูปโดนัท ให้มีความร้อนกว่า 100 ล้านดีกรี ที่ความร้อนขนาดนี้ นิวเคลียสของดิวเทอร์เรียมและตริเตรียมจะสามารถเอาชนะแรงผลักมหาศาลของประจุบวกที่เหมือนกัน และเข้าสู่กระบวนการ "นิวเคลียร์ฟิวชั่น" เกิดการปลดปล่อยพลังงานมหาศาลในที่สุด ตามที่ได้ถูกออกแบบไว้ ตัว ITER นี้ถูกคาดว่าจะสามารถผลิตพลังงานได้กว่า 500 เมกกะวัตต์  
 
   เมืองคาดาราช (เมืองท่าทางตอนใต้ของฝรั่งเศส) ได้เป็นสถานที่ก่อสร้าง ITER นั่นก็เพราะว่า เมืองนี้เป็นเมืองที่ตั้งของศูนย์ทดลองนิวเคลียรฟิวชัน โดยมีเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ฟิวชั่น ชื่อ Tore Supra ซึ่งมีขนาดใหญ่ที่สุดของโลกอยู่ก่อนแล้ว ซึ่งนั่นก็หมายความว่า นักวิทยาศาสตร์ วิศวกรและช่าง ที่มีความชำนาญการด้านนิวเคลียร์ฟิวชั่นกว่า 500 คน บวกกับพนักงานที่เพียบพร้อมในสาขาอื่นๆ อีกกว่า 4000 คนของโรงงานเดิม พร้อมที่จะเริ่มปฏิบัติการได้ทันที อีกทั้งเมืองคาดาราชมีสภาพภูมิอากาศดีและภูมิประเทศสวยงาม การคมนาคมสะดวกสบาย เป็นที่ตั้งของสถาบันทางด้านการศึกษาที่สามารถรองรับงานด้านการศึกษาวิจัย ทำให้เป็นที่ที่สามารถดึงดูด นักวิทยาศาสตร์และวิศวกรจากทั่วโลกให้มาทำงานได้เป็นอย่างดี 
 
ตามแผนการ ITER จะเริ่มทำการก่อสร้างขึ้นในปลายปี 2548 และคาดว่าจะเสร็จสมบูรณ์ในปี 2558 
 
เหนื่อย เหอๆ 

กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...