มือชา นิ้วล็อกโรคฮิตคนทำงาน



 

มือชานิ้วล็อกโรคฮิตคนทำงาน  





 

 

 

เป็นที่น่าสังเกตว่า ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ มีผู้เข้ามาปรึกษาแพทย์ทางกระดูกและข้อ เกี่ยวกับความผิดปกติที่เกิดกับมือและต้องเข้ารับการฟื้นฟู ทำกายภาพบำบัดจำนวน มากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งหญิงและชายที่พบเป็นประจำ ได้แก่ อาการมือชาจนอ่อนแรงหยิบจับอะไรแทบไม่ได้ และอาการของนิ้วล็อก คือนิ้วบางนิ้วแข็งเกร็งขยับแทบไม่ได้ เมื่องอหรือเหยียดนิ้วออกแล้วจะเจ็บปวดมาก


เมื่อสอบถามประวัติแต่ละคนก็ได้คำตอบคล้ายๆ กันคือ ส่วนใหญ่เป็นคนที่ต้องทำงานกับคอมพิวเตอร์เป็นประจำ บางคนมีอาชีพเป็นโปรแกรมเมอร์ นักออกแบบพนักงานบัญชี นอกเหนือไปจากนั้นก็ได้แก่หนุ่มๆ นักกอล์ฟ กลุ่มสาวๆ พนักงานนวด(แผนไทย) คนทำงานตามโรงงาน ที่ต้องใช้มือหยิบจับสิ่งของต่างๆ ซ้ำๆ ติดต่อกันเป็นเวลานานๆ พ่อครัวที่ต้องสับเนื้อหั่นผักตลอดเวลา แม้กระทั่งแม่บ้านที่ทำงานซักผ้า ถูบ้านต้องออกแรงบิดผ้าเสมอๆ


นพ.ธนินนิตย์ ลีรพันธ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคกระดูกและข้อ ให้ความรู้ว่าอาการผิดปกติเหล่านี้มันเกิดขึ้นได้อย่างไร หากใครที่กำลังเริ่มเป็นจะได้ไหวตัวทัน และไปรับการรักษาก่อนอาการจะเป็นมากขึ้น


โรคมือชาจากเส้นประสาทถูกกดทับโรคมือชานี้ เกิดจากการที่เส้นประสาทที่ พาดผ่านบริเวณข้อมือถูกกดทับ ซึ่งเส้นประสาทนี้จะผ่านจากแขนไปยังข้อมือ เพื่อไปรับความรู้สึกที่บริเวณมือ โดยทอดผ่านบริเวณข้อมือ และลอดผ่านเอ็นที่ยึดบริเวณข้อมือ อาจมีสาเหตุบางประการ ที่ทำให้เส้นประสาทนี้ถูกกดทับได้ จึงทำให้มือชา ร่วมกับมีอาการปวดชา ร้าวไปยังท่อนแขนหรือต้นแขนได้ และบางคนพบว่ามือข้างที่เป็นอ่อนแรง หยิบจับสิ่งของไม่ถนัด ถ้าทิ้งไว้จะพบว่ากล้ามเนื้อบริเวณโคนนิ้วหัวแม่มืออาจจะแฟบลง เมื่อเทียบกับมืออีกข้างหนึ่งพบในเพศหญิงมากกว่าชาย ระหว่างวัย 30-60 ปี


อะไรบ้างที่เป็นสาเหตุสิ่งใดก็ตามที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดการบวม และการระคายเคืองของเยื่อบุข้อที่อยู่รอบๆ เส้นเอ็น ทำให้เส้นประสาทถูกกด เช่น เกิดการกระแทกที่บริเวณข้อมืออยู่เป็นประจำ เช่น ใช้เครื่องตัดหญ้า เครื่องเจาะสกรู กำไม้เทนนิสไม้กอล์ฟ กระดูกข้อมือหัก หรือการหลุดเคลื่อนของข้อ ข้ออักเสบรูมาตอยด์ (ไขข้ออักเสบ) คนที่เป็นเบาหวาน ในผู้หญิงตั้งครรภ์และคนที่มีการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนจากการหมดประจำเดือน


ถ้ามีอาการเบื้องต้นต่อไปนี้ ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
- มีอาการชา และรู้สึกซ่าในบริเวณมือโดยเฉพาะอย่างยิ่งอาการมักจะเกิดในตอนกลางคืน ซึ่งอาจจะเกี่ยวกับท่าทางในการนอนและหลังจากการใช้มือข้างนั้นๆ


- การรับความรู้สึกที่บริเวณนิ้วหัวแม่มือ นิ้วชี้ นิ้วกลาง และบางส่วนของนิ้วนางลดลง ทำให้หยิบจับของไม่ถนัด


- มีอาการรู้สึกแปล๊บๆ หรือคล้ายกับไฟฟ้าช็อต เมื่อทำการเคาะลงตรงข้อมือ ในบริเวณที่มีเส้นประสาททอด

ผ่าน อาการเหล่านี้จะเป็นมากขึ้น ในคนที่งอมือเข้าหาท้องแขนเป็นเวลา 1นาที ถ้าเส้นประสาทนี้ถูกกดทับเป็นเวลานาน จะทำให้กล้ามเนื้อบริเวณฝ่ามือด้านนิ้วหัวแม่มือแฟบลง

 

การรักษา ถ้ามีอาการเพียงเล็กน้อยอาจจะใช้วิธีการรักษาโดยวิธีดังต่อไปนี้


- ใส่เครื่องพยุงข้อมือในช่วงเวลากลางคืน เพื่อที่จะป้องกันไม่ให้ข้อมืองอเวลานอน และช่วยให้เยื่อบุข้อมือ และเส้นเอ็นที่อักเสบยุบจากอาการบวม ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เส้นประสาทถูกกดทับ


- รับประทานยาลดการอักเสบถ้าอาการเป็นมากขึ้น แพทย์อาจจะแนะนำให้ฉีดยาสเตียรอยด์ เข้าไปในบริเวณที่เส้นประสาททอดผ่าน ซึ่งยานี้จะแพร่กระจายไปยังบริเวณเยื่อบุผิวข้อและเส้นเอ็นที่มีการอักเสบ และบวม ทำให้อาการบวมยุบลงการกดเส้นประสาทก็น้อยลง ปริมาณของยาที่ใช้ฉีดไม่มากนักและไม่มีอันตรายที่รุนแรงการรักษาด้วยวิธีการ เหล่านี้จะได้ผลดี ในกรณีที่เส้นประสาทไม่ถูกกดทับมากนัก ถ้าอาการยังไม่ดีขึ้นก็อาจจำเป็นต้องรักษาด้วยการผ่าตัด โดยตัดเอาส่วนของพังผืด เส้นเอ็นในส่วนที่กดทับเส้นประสาทออก หลังผ่าตัดอาการก็จะดีขึ้น อาการปวดลดลง อาการชาลดลง แต่อาจไม่ถึงกับหายสนิทยังจะต้องใช้เวลาอีกสักระยะหนึ่ง

 

 

 

 

ที่มาข้อมูล jorpor.com

 

Credit: http://guru.sanook.com/pedia/topic/%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%8A%E0%B8%B2_%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B8%A5%E0%B9%87%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%AE%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B8%87%E0
1 เม.ย. 56 เวลา 22:31 581 20
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...