เรื่องของยัก(ยาวนิสนึง)

ยักษ์ปรากฏให้คนไทยทั่วไปได้รู้จักครั้งแรก ในหน้าบทเรียน วรรณคดีไทย เรื่องรามเกียรติ์ โดยเฉพาะตัวทศกัณฐ์ ซึ่งสวมบทบาท ของฝ่ายอธรรม เข้าต่อกร กับกองทัพ ฝ่ายธรรมะ ของพระราม และพระลักษมณ์ กระทั่งหลายคน เหมารวมไปว่า ขึ้นชื่อว่า “ยักษ์” จะต้องเป็นผู้ร้าย ไปเสียทั้งหมด
หากได้ศึกษาลึกลงในรายละเอียดจะพบว่า ในเหล่าของยักษ์เอง ยังแบ่งเป็นฝ่ายขาว (ธรรมะ) และฝ่ายดำ (อธรรม) ฉะนั้น แค่เพียงภาพลักษณ์ อันน่ากลัว และน่าเกรงขามภายนอก คงไม่สามารถ ใช้ตัดสินตัวตน ที่แท้จริงของยักษ์แต่ละตนได้ จึงต้องหันมาพิจารณา ที่บทบาท และการกระทำเป็นสำคัญ
นอกจากจะอยู่ในวรรณคดีไทยอันเลื่องชื่อแล้ว ยักษ์ออกมามีบทบาท ทางความเชื่อ ของคนไทย ตั้งแต่สมัยอยุธยา ในเรื่องของผู้พิทักษ์ รักษาความดี และปัดป้องความชั่วร้าย ไม่ให้ย่างกรายเข้ามาใกล้ได้ กระทั่งมีการสร้าง รูปหล่อ ของยักษ์เอาไว้ หน้าทางเข้า พระอุโบสถของวัด
ยักษ์ในวัด
วัดอรุณราชวรารามหรือวัดแจ้ง คงจะขึ้นชื่อในเรื่องยักษ์มากที่สุด เพราะยักษ์ทั้งสองคือ สหัสเดชะ (ตัวสีขาว) และทศกัณฐ์ (ตัวสีเขียว) ล้วนมีส่วนสร้างตำนานท่าเตียนอันเลื่องชื่อ ก่อนจะมายืนบำเพ็ญตน อย่างสงบ มือถือตะบองใหญ่ เป็นอาวุธ อยู่หน้าซุ้ม ยอดมงกุฎของวัด
แต่ทั้งสหัสเดชะและทศกัณฐ์ที่เห็นในปัจจุบัน ล้วนเป็นฝีมือของช่าง ในสมัยรัชกาลที่ ๓ โดยถอดรูปลักษณ์ อย่างวิจิตรตระการตา ตามลักษณะหัวโขนไทย มิใช่ตัวต้นแบบ ที่สร้างขึ้น โดยหลวงเทพรจนา (กัน) ซึ่งถือเป็นบรมครู ทางฝีมือช่างแห่งกรุงรัตนโกสินทร์
ไม่มีบันทึกบอกรายละเอียดใดๆ เกี่ยวกับสหัสเดชะและทศกัณฐ์รุ่นแรก ซึ่งพังมาด้วยอุบัติเหตุ ทางธรรมชาติ ว่ามีความแตกต่างจากยุคปัจจุบัน มากน้อยแค่ไหน แต่สันนิษฐานว่า น่าจะมีความงดงามทางศิลปะไม่แพ้กัน รวมทั้งสร้างขึ้นตามคติที่ว่า เพื่อใช้เป็นทวารบาลป้องกันสิ่งชั่วร้ายทั้งปวง
ยักษ์วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
ณ พระอารามหลวงแห่งนี้ นอกจากจะเป็นที่ประดิษฐาน พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรแล้ว ยังเป็นศูนย์รวมของทวารบาล ซึ่งเป็นเหล่ายักษ์มากที่สุด ถึง ๑๒ ตน แต่ทั้งหมด มิได้สร้างขึ้นในคราวเดียวกัน สันนิษฐานว่าสร้างมาตั้งแต่ครั้งรัชกาล ๓ จำนวน ๘ ตน ก่อนจะมาซ่อมแซม และเพิ่มเติมในภายหลังอีก ๔ ตน
การปฏิสังขรณ์เกิดขึ้นในปลายรัชกาลที่ ๔ แต่ยังไม่ทันสำเร็จ และลุล่วงถึงสมัย รัชกาลที่ ๕ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชปรารภว่า กรุงรัตนโกสินทร์ สร้างจะครบร้อยปี ในพ.ศ. ๒๔๒๕ จึงโปรดเกล้าฯ ให้ปฏิสังขรณ์ วัดพระศรีรัตนศาสดารามขึ้นใหม่ ทั้งพระอาราม
นั่นรวมถึงรูปยักษ์เฝ้าประตูขนาดใหญ่เป็นคู่ๆ ซึ่งตัวถูกปั้นขึ้นด้วยปูน ก่อนจะประดับประดา ด้วยกระจกสีต่างๆ ซึ่งต่างจากยักษ์วัดอรุณราชวราราม ที่ตกแต่งภายนอก ด้วยกระเบื้องเคลือบ ยิ่งไปกว่านั้น ยังได้มีการสร้าง ทวารบาลเพิ่มขึ้นภายนอกอีก ๔ ตน รวมทั้งหมดเป็น ๑๒ ตน ตามที่เห็นในปัจจุบัน

ยักษ์ในความเชื่อของคนไทย
คติความเชื่อเรื่องยักษ์ ในการเป็นผู้พิทักษ์ และปกป้องความชั่วร้าย ยังยืนหยัดอยู่ในใจ ของคนไทยทุกคน แม้จะมีใบหน้าอันปั้นปึ่ง ปราศจากรอยยิ้มอันเป็นมิตร แถมมีเขี้ยวขาวโผล่ขึ้นมาดูน่าหวาดหวั่น แต่รูปลักษณ์ดังกล่าว มิได้มีไว้ต่อสู้กับความดี อย่างที่หลายคนเข้าใจผิด
ยิ่งไปกว่านั้น ยักษ์ยังเป็นเครื่องพิสูจน์ถึงสุภาษิตที่ว่า “อย่าได้ตัดสินคน แค่เพียงรูปโฉมภายนอก” เพราะภาพลักษณ์ อันหวานซึ้งที่มองเห็นด้วยตา อาจซ่อนพิษร้าย ชนิดคาดไม่ถึงเอาไว้ ฉะนั้นการคบหากัน ให้ทราบถึงเบื้องนิสัยอันแท้จริง ถือเป็นสิ่งสำคัญ

แถม กระรอกยักษ์

Credit: เรื่องของยัก(ยาวนิสนึง)
30 ก.ค. 52 เวลา 19:43 5,949 21 150
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...