หนังสือพิมพ์ฉบับแรกของประเทศไทย

 

 

 

 

 

 

หนังสือพิมพ์ฉบับแรกของประเทศไทย

เวลาเรียนวิชาสังคม เรามักจะถูกสอนให้เข้าใจว่า “บางกอกรีคอร์ดเดอร์”  (Bangkok Recorder) เป็นหนังสือพิมพ์ฉบับแรกแห่งสยามประเทศ ซึ่งความเป็นจริงก็ไม่ผิด แต่หนังสือพิมพ์บางกอกรีคอร์ดเดอร์ของมิสเตอร์ ดี.บี. ปรัดเล เอ็น. เอ . แมกดัมส์ ซึ่งเป็นผู้เผยแพร่ศาสนา ที่ชาวสยามในสมัย ร. ๔ นิยมเรียกว่า “หมอบรัดเล” นั้น เป็นหนังสือพิมพ์เล่มแรกที่ ทำโดยชาวต่างชาติ  แต่สำหรับหนังสือพิมพ์เล่มแรกที่แท้จริงที่ถูกจัดทำโดยคนไทยนั้นคือ “ราชกิจจานุเบกษา” ..

หนังสือพิมพ์ฉบับแรกของประเทศไทย ”ราชกิจนุเบกษา“ “ราชกิจนุเบกษา” เป็นหนังสือพิมพ์ฉบับแรกของประเทศไทย ที่ ดำเนินการโดยคนไทย ตีพิมพ์ฉบับแรกเมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๐ โดยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔  โปรดฯให้มีการออกหนังสือพิมพ์ขึ้น ในราชสำนัก เพื่อชี้แจงข่าวคราวต่างๆ  ที่หมอบรัดเลตีพิมพ์คาดเคลื่อน (จากหนังสือพิมพ์บางกอกรีคอร์ดเดอร์) และการที่จะโต้ตอบบทวิพากษ์วิจารณ์ของหมอบรัดเลในกิจการบ้านเมือง และในขณะเดียวกันก็เพื่อใช้ประกาศกฎหมายต่างๆที่มีการตราขึ้น รวมทั้งการบริหารราชภารกิจของพระองค์ หนังสือพิมพ์ราชกิจนุเบกษา จึงเป็นหนังสือพิมพ์ฉบับแรกของประเทศไทยที่ดำเนินการโดยคนไทยโดยมีพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔  เป็นทั้งบรรณาธิการและอำนวยการทั้งฉบับ ราชกิจจานุเบกษา ออกฉบับแรกวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ.2401 ไม่มีกำหนดระยะเวลาแน่นอน เป็นหนังสือที่แจกจ่ายไปตามหน่วยงานราชการต่างๆ ราชกิจจานุเบกษา มีความหมายว่า “หนังสือเพ่งดูราชกิจ” เนื่องด้วยสมัยก่อนการสื่อสารจากราชการไปยังประชาชนนั้นใช้การคัดลอกใบบอก และเนื่องด้วยอุปสรรคในการคัดลอก การคมนาคม อันนำมาซึ่งความผิดพลาดและฉ้อฉลของข้าราชการอันประพฤติมิชอบ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงมีพระราชดำริออกหนังสือรายคาบขึ้นฉบับหนึ่ง โดยมีพระราชประสงค์ซึ่งแจ้งไว้ในราชกิจจานุเบกษาฉบับแรกว่า

“เนื่องมาจากประเพณีโบราณกาล เมื่อพระเจ้าแผ่นดินดำรัสให้ประกาศกิจการอันใด ก็ให้พระอาลักษณ์ทำเป็นหนังสือประกาศแจกจ่ายไปยังกรมต่างๆ ส่วนหัวเมืองทั้งปวงนั้น เมื่อมหาดไทย, กลาโหม, กรมท่า อันเป็นเจ้ากระทรวงบังคับบัญชาหัวเมืองได้รับประกาศจากกรมพระสุรัสวดี ก็คัดสำเนาส่งไปยังหัวเมืองอันขึ้นอยู่ในกรมนั้นๆ อีกชั้นหนึ่ง ทรงเห็นว่าการปฏิบัติแต่เดิมนั้นเป็นการชักช้า และคำประกาศก็เขียนด้วยดินสอดำ ลอกกันไปผิดๆ ถูกๆ ยิ่งกว่านั้น ยังมีเจ้าหน้าที่ทุจริตเอาหนังสืออะไรไปประกาศกดขี่ราษฎรเล่นตามใจชอบ เพราะราษฎรส่วนใหญ่ไม่ได้รับการศึกษา เมื่อเห็นหนังสือที่ตราตีมาด้วยชาดและเส้นแดงๆ แล้วก็กลัวยอมเชื่อทุกอย่าง ทำให้ราษฎรเดือดร้อน และเสียพระเกียรติยศของพระเจ้าแผ่นดิน จึงโปรดให้สร้างโรงพิมพ์หลวงขึ้นในพระบรมมหาราชวัง และโปรดเกล้าฯ ให้พิมพ์หมายประกาศมีชื่อว่า ‘ราชกิจจานุเบกษา’ แปลว่าหนังสือเพ่งดูราชกิจ ถ้ามีเหตุใดๆ หรือข้อบังคับอันใดเกิดขึ้นในประเทศก็จะใส่ลงในราชกิจจานุเบกษา เพื่อมิให้เล่าลือกันผิดๆ”

อย่างไรก็ตาม ราชกิจจานุเบกษาออกมาได้ปีเดียวก็ล้มเลิกไป เหตุเพราะรัชกาลที่ ๔ ทรงไม่มีเวลานิพนธ์ จึงกลับไปใช้วิธีออกหมายประกาศแจกจ่ายไปยังกระทรวง ทบวง กรม แทน ทำให้กล่าวได้ว่า พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นคนไทยคนแรกที่เป็นเจ้าของแท่นพิมพ์ และเป็นคนไทยคนแรกที่ริเริ่มกิจการด้านการพิมพ์ด้วย พระองค์เอง แท่นพิมพ์ของพระองค์ที่วัดบวรนิเวศ ผลิตสิ่งพิมพ์สำคัญๆ มากมายหลายชิ้น ซึ่งถือว่าพระองค์มีบทบาทสำคัญมากในกิจการการพิมพ์ของไทยในอนาคต  
23 มี.ค. 56 เวลา 14:34 1,217 50
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...