อย่าปล่อยให้เป็น “หวัดเรื้อรัง”


 

อย่าปล่อยให้เป็น “หวัดเรื้อรัง”  



     มีผู้ป่วยจำนวนไม่น้อย ทั้งที่เป็นเด็กและผู้ใหญ่มาพบแพทย์ด้วยเรื่องการมีน้ำมูกเรื้อรังเกิน 1-2สัปดาห์ หรือเป็นๆ หายๆ เป็นเดือน ซื้อยารับประทานเองหรือไปพบแพทย์ที่คลินิก รับประทานยาจนหมด ไม่นานก็เป็นอีก จนต้องการทราบว่าตนเองเป็นอะไร ทำไมจึงไม่หายสักที


อาการเช่นนี้ทางการแพทย์เรียกว่าเป็น “หวัดเรื้อรัง” โดยขั้นตอนแรกจะต้องวินิจฉัยให้ได้เสียก่อนว่า เป็นโรคอะไร จึงจะทำการรักษาได้ถูกต้อง โดยโรคที่พบบ่อย คือ โรคภูมิแพ้หรือโรคแพ้อากาศ โรคไซนัสอักเสบ และการติดเชื้อหวัดที่เป็นแล้วหายแล้วไปติดมาใหม่ที่เกิดขึ้นบ่อยในเด็กเล็ก เป็นต้น



            การแยกโรคดังกล่าวจะอาศัยจากประวัติและการตรวจร่างกายเป็นหลัก ซึ่งอาจแยกได้ดังนี้
           

โรคภูมิแพ้ ผู้ป่วยจะมีอาการน้ำมูกเป็นๆ หายๆ มานาน มีอาการเปลี่ยนแปลงในช่วงของวัน เช่น ชอบเป็นตอนเช้าหรือตอนกลางคืนดึกๆ ก่อนนอน จาม คันจมูก น้ำมูก ลักษณะของน้ำมูกจะใสเป็นน้ำ ในช่วงกลางวันหรือตอนอื่นๆ ผู้ป่วยจะเป็นปกติเหมือนคนทั่วไป ไม่มีอาการใดๆ ไม่มีไข้ ไม่เจ็บคอ เริ่มเป็นน้อยๆ ก่อน แล้วมากขึ้นเรื่อยๆ หรือมักจะเป็นตอนสัมผัส สูดดม สารที่ก่อให้เกิดอาการแพ้ขึ้น เช่น ฝุ่น เกสรดอกไม้ ขนแมว ขนสุนัข ฯลฯ


            โรคไซนัสอักเสบ ผู้ ป่วยจะมีน้ำมูก คัดจมูก ตลอดเวลา ลักษณะน้ำมูกจะข้นเหนียว บางครั้งเป็นสีเหลืองหรือเขียวคล้ายหนอง อาจจะไม่ไหลทางจมูก แต่ไหลลงไปในลำคอเป็นเสมหะก็ได้ พบมากในตอนเช้า อาจจะมีอาการไอ เจ็บคอร่วมด้วยเล็กน้อย รวมทั้งอาจพบในผู้ป่วยที่ชอบซื้อยามารับประทานเอง พอรับประทานได้สัก 3-4วันอาการดีขึ้นก็หยุดรับประทาน แล้วไม่นานโรคก็กลับมาเป็นอีก

 
  ส่วนอาการไข้หวัดติดเชื้อซ้ำ ไปมา มักเกิดขึ้นกับเด็กที่กำลังเรียนอยู่ในชั้นอนุบาล เนื่องจากเด็กยังมีภูมิคุ้มกันโรคต่ำ ติดเชื้อง่ายจากการเล่นกับเพื่อนและนอนที่โรงเรียนร่วมกัน มักจะมีอาการเป็นไข้ ไอ เจ็บคอ น้ำมูกใส หรือขุ่นข้น เป็นไม่นาน รับประทานยาหายไปไม่นานก็ไปติดเชื้อที่โรงเรียนมาใหม่ ซึ่งอาการดังกล่าวนี้ไม่มีอันตรายอะไร เมื่อเด็กโตขึ้น มีภูมิต้านทานแข็งแรงขึ้น อาการจะค่อยๆ ดีขึ้นเอง

 


            นอกจากนั้นยังมีโรคอื่นๆ ที่พบน้อยและก่อให้เกิดอาการ “หวัดเรื้อรัง”ได้ เช่น โรคริดสีดวงจมูก เนื้องอกในจมูก การมีสิ่งแปลกปลอมค้างในโพรงจมูก ต่อมน้ำเหลืองอะดีนอยด์หลังโพรงจมูกโต เป็นต้น การวินิจฉัยโรคเหล่านี้จะนำไปสู่การรักษาที่ถูกต้องและหายได้ในที่สุด อย่างไรก็ตาม หากผู้ป่วยมีอาการดังกล่าวแล้วไม่สามารถแยกโรคเองได้ ก็ควรไปพบแพทย์ หู คอ จมูก เพื่อทำการตรวจและวินิจฉัยโรค

 

 

 

 

 

 


 

 

Credit: http://guru.sanook.com/pedia/topic/
22 มี.ค. 56 เวลา 21:36 835 20
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...