อาการกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด สามารถแบ่งอาการออกได้เป็น 3 ระดับ คือ
ระดับที่ 1 มีอาการเจ็บหน้าอกขณะออกแรง โดยมักเจ็บหน้าอกแบบแน่นๆ บีบๆ หรือหนักๆ ที่หน้าอกตรงกลางหรือหน้าอกด้านซ้าย โดยอาการเจ็บหน้าอกอาจร้าวไปที่ขากรรไกรล่าง กราม หัวไหล่ หรือท้องแขนด้านซ้ายหรือทั้งสองข้างก็ได้ และมักเป็นอยู่ไม่นานประมาณ 5ถึง 10นาที อาการมักจะดีขึ้นหรือหายไปได้เมื่อหยุดพัก
ระดับที่ 2 มีอาการเจ็บหน้าอกขณะพัก และอาการเจ็บหน้าอกมักจะเป็นรุนแรงมากขึ้น เป็นนานมากขึ้นประมาณ 10 ถึง 20 นาที และเป็นบ่อยครั้งขึ้นกว่าเดิม โดยอาการอาจทุเลาลงได้เมื่อหยุดพักหรืออาจไม่ดีขึ้น แต่ตรวจไม่พบมีการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อหัวใจ
ระดับที่ 3 มีอาการเจ็บหน้าอกขณะพัก โดยมักมีอาการเกิดขึ้นทันทีทันใด อาการเจ็บหน้าอกมักเป็นรุนแรงและเป็นนานกว่า 30 นาทีขึ้นไป โดยมักมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น เหงื่อแตก ใจสั่น หายใจไม่สะดวก หน้ามืดหรือเป็นลม และตรวจพบว่ามีการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อหัวใจร่วมด้วย ผู้ป่วยกลุ่มนี้มักจะถูกนำส่งโรงพยาบาลอย่างรีบด่วนเนื่องจากมีอาการรุนแรง และเฉียบพลัน ซึ่งถ้าไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้
ดังนั้น ผู้ป่วยที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงควรสังเกตอาการของตนเองว่า มีลักษณะอาการที่อาจบ่งชี้ว่ามีโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดร่วม ด้วยหรือไม่ และควรไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติม ถ้ามีอาการผิดปกติดังกล่าวข้างต้น โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงระดับที่ 3ควรได้รับการรักษาอย่างรวดเร็วและทันท่วงที เนื่องจากอาจมีภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงและเสียชีวิตได้
และถ้าพบคนหมดสติจากภาวะฉุกเฉินทางหัวใจ ผู้ ที่ให้การช่วยเหลือผู้ป่วยควรตะโกนเรียกให้ผู้อื่นที่อยู่ในบริเวณดังกล่าว มาร่วมให้การช่วยเหลือผู้ป่วยก่อนเป็นลำดับแรก ซึ่งมีแนวทางปฏิบัติดังนี้
- ผู้ที่ให้การช่วยเหลือเป็นผู้ที่ไม่มีความรู้ทางการแพทย์อยู่เลย : อาจให้การช่วยเหลือผู้ป่วยโดยโทรศัพท์ไปที่เบอร์ 191หรือ เบอร์หน่วยฉุกเฉินของโรงพยาบาลเพื่อให้มาทำการช่วยเหลือผู้ป่วยโดยทันทีทัน ใด หรือรีบนำตัวผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุดก่อนถ้าต้องใช้ระยะเวลานานใน การรอเจ้าหน้าที่ฉุกเฉินที่จะมาให้การช่วยเหลือผู้ป่วยในที่เกิดเหตุ
- ผู้ที่ให้การช่วยเหลือที่เคยผ่านการฝึกอบรมเกี่ยวกับการช่วยเหลือคนหมดสติมา บ้างแล้ว : ควรทำการช่วยเหลือผู้ป่วยโดยพิจารณาดูว่า ผู้ป่วยยังหายใจได้เองเพียงพอหรือไม่ และคลำชีพจรที่บริเวณคอข้างใดข้างหนึ่งของผู้ป่วยเพื่อดูว่าผู้ป่วยยังมีชีพจรเต้นอยู่ หรือไม่ ถ้าผู้ป่วยไม่มีชีพจรเต้นให้เริ่มทำการบีบนวดหัวใจโดยกดที่บริเวณหน้าอกด้วย สันมือทั้งสองข้างทันที โดยกดลึกลงไปประมาณ 1ถึง 1 นิ้วครึ่ง ด้วยอัตรา 100 ครั้งต่อนาที จนกว่าจะนำผู้ป่วยส่งถึงโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด
ที่มาข้อมูล villagefund.or.th
ที่มารูปภาพ siamhealth.net