ไม่ใช่เฉพาะคนหัวล้านเท่านั้นที่มีแนวโน้มช่างน้อยอกน้อยใจ(จากสํานวนไทยบอกไว้) คนสูงอายุรุ่นคุณตาคุณยายหรือแม้กระทั้งในวัยรุ่นก็มักจะมีอาการแอบน้อยใจอยุ่เสมอๆนะครับ
จะจริงหรือไม่ ลองทําทีเป็นเงียบ ๆ ไม่พูดไม่คุยดูสิเดื่ยวเห็นผลแล้ว
เอาเป็นว่าผมมีเคล็ดลับมาแนะนําลูก ๆ หลาน ๆ หรือเพื่อนๆ ว่าจะทําอย่างไรให้หัวใจคนพวกช่างน้อยอกน้อยใจกลับมีความชุ่มชื้นมีชีวิตชีวาขึ้นมาครับ
1 นักฟังที่ดี คุณตาคุณยายเกิดและเติบโตในยุดหนึ่ง ซึ้งมีชีวิตความเป้นอยุ่ต่างจากยุดเรามาก ท่านจึงมักถ่ายทอดความทรงจําดีๆ ให้ลูกหลานฟังอยุ่เสมอ ๆ ดังนั้นเราอย่าพลาด ถ้าวันไหนท่านตั้งท่าจะเล่าเรื่องราวครั้งเก่าก่อนให้ฟัง เพราะเท่ากับว่าเรากําลังได้เรืยนประวัติศาสตร์จากตํารามีชีวิตทีเดืยวนะครับ
2 นักชมขาประจํา อย่าลืมนะว่า ไม่ว่าจะเด็ก ผุ้ใหญ่ หรือวัยสูงอายุ ใคร ๆ ก็มักต้องการคําชม แต่คําชมของลูกๆ หลานๆ ต้องโดนใจนะ(ชมในเรื่องที่ชอบหรือภูมิใจ) เช่น คุณย่าชอบทําขนมให้กินทุกวันหยุด ต้องชมว่าอร่อยที่สุดไม่เคยเปลี่ยนแปลง หรือแม้แต่การใส่เสื้อผ้าสีสวยๆ เราก็ชมว่าสวยให้ท่านได้รุ้สึกชุ่มชื่นหัวใจ
3 มัคคุเทศก์น้อย การที่คิดว่าคนสูงอายุคงไม่อยากออกจากบ้านไปเทื่ยวไหนๆ เป็นความเข้าใจที่ผิดมหันต์ครับ การที่เราปล่อยให้ท่านอยุ่บ้านเพียงลําพังยี่งสร้างความน้อยเนื้อตํ่าใจ ดังนั้นไม่ว่าเราจะออกไปเทื่ยวที่ไหน ใกล้หรือไกล ลองเอ่ยปากชวนท่านก่อนดีไหมครับ
และควรหาเวลาพาท่านไปพักผ่อนต่างจังหวัดบ้าง อาจจะไม่ไกลนักเท่าที่สูขภาพของท่านจะเอื้ออํานวย เพื่อให้ท่านได้รุ้สึกว่าลูกๆหลานๆ ยังคงรักท่านอยุ่เสมอๆครับ
4 สัญญาต้องเป็นสัญญา อีกประการที่สําคัญคือ อย่าผิดสัญญาที่ให้ไว้กับท่าน โดยเฉพาะเรื่องการจะไปเยี่ยมเยืยน เพราะท่านจะตั้งหน้าตั้งตาเฝ้ารอ และเมือไม่เป็นตามที่หวัง ท่านจะคิดเสียใจน้อยใจไปต่าง ๆ นานาครับ ดังนั้นถ้าเราสัญญาว่าจะไปเยี่ยมก็ต้องไป สมกับที่ท่านเฝ้ารอ
ลองนําไปปรับใช้กันดูนะครับ รับรองว่าคุณตาคุณยายคุณย่าคุณปุ่หรือแม้กระทั้งวัยรุ่นทั้งหลายจะไม่เกิดอาการน้อยอกน้อยใจให้เห็นอีกเลยครับ จบ สวัสดีครับ