เตือนภัย! ผลิตภัณฑ์ต่อเล็บปลอม อันตราย

 

 

 

 

 

เตือนภัย! ผลิตภัณฑ์ต่อเล็บปลอม อันตราย จะว่าไปแล้วทุกวันนี้วิวัฒนาการความสวยของผู้หญิงนั้นไร้ขอบเขตสะจริงๆ ผมสั้นก็ต่อให้เป็นผมยาว เล็บสั้นก็ต่อให้เป็นเล็บยาวได้ แต่งได้ ติดได้ แต่ในขณะที่ความสวยบางอย่างนั้นก็เป็นอันตรายต่อเราได้ อย่างเช่นการต่อเล็บ เพราะเนื่องจากว่าการต่อเล็บนั้นจำเป็นที่จะต้องใช้กาวเพื่อต่อให้ติด แต่ที่แน่ๆ ไม่ใช่กาวแบบที่เรารูจักกันแน่นอน แล้วอุปกรณ์ต่อเล็บปลอมเหล่านั้นก็ยังเป็นอันตรายต่อเราอีกด้วย วันนี้ทางเอ็นทรีเคดอทไอเอ็นดอททีเอช (N3K.IN.TH) จะมาขอเตือนภัยเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ต่อเล็บปลอม ให้คุณได้รู้ว่ามันค่อนข้างที่จะอันตรายต่อเราเพราะฉะนั้นแล้ว ณ เวลานี้สาวๆ คนไหนที่กำลังต้องการที่จะไปต่อเล็บแต่งเล็บเพื่อให้มืออันเรียวสวยของคุณดูสวยแล้วดูน่ามองมากขึ้น อย่าเพิ่งตัดสินใจแบบเร่งด้วยนะค่ะ คุณควรที่จะรองศึกษารายละเอียดให้ดีก่อนนะค่ะ เพราะไม่เช่นนั้นแล้วอาจที่จะเกิดอันตรายต่อคุณได้ งั้นตอนนี้เราพาสาวๆ เอ็นทรีเคดอทไอเอ็นดอททีเอช (N3K.IN.TH) ไปดูรายระเอียดของอันตรายจากผลิตภัณฑ์ต่อเล็บปลอมที่ทางเอ็นทรีเคดอทไอเอ็นดอททีเอช (N3K.IN.TH) ได้นำมาฝากกันเลยดีกว่านะค่ะ

 

 

 

 

อันตรายจาก ผลิตภัณฑ์ต่อเล็บปลอม ดร.พรรณสิริ กุลนาถศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า การต่อเล็บด้วยเล็บปลอมทั้งที่ทำจากพลาสติก และที่ทำจากสารเคมีกำลังเป็นที่นิยมในหมู่สุภาพสตรี ซึ่งเล็บปลอมที่ทำจากพลาสติกมีทั้งประเภทสำเร็จรูป คือ มีลวดลายต่างๆ กัน ราคาไม่แพง สามารถหาซื้อได้จากร้านค้า ห้างสรรพสินค้าทั่วไป หรือสามารถทำได้ด้วยตนเอง โดยนำมาติดที่เล็บจริงด้วยกาว 

และอีกประเภทหนึ่งคือ เล็บปลอมที่ต้องทำที่ร้านทำเล็บ โดยช่างเฉพาะทางที่ผ่านการฝึกอบรม ทำให้มีราคาแพงกว่าเล็บปลอมชนิดสำเร็จรูป และมีรายละเอียดมากในการต่อเล็บ ตั้งแต่การผสมสารเคมีให้เหมาะสม การขึ้นรูปให้เป็นรูปเล็บ การทำให้เล็บที่ต่อแข็งตัว และปรับแต่งให้เหมาะสมกับเล็บจริง จนกระทั่งเขียนลวดลายให้สวยงาม ทั้งนี้ การต่อเล็บปลอมอาจก่อให้เกิดอันตรายทั้งต่อผู้ให้บริการและผู้บริโภคได้ เนื่องจากมีการใช้สารเคมีในกระบวนการต่อเล็บ ตั้งแต่วัตถุดิบที่ใช้ในการขึ้นรูปเล็บ เป็นสารเคมีในกลุ่มอะครัยลิก โมโนเมอร์ (acrylic monomers) และส่วนที่ทำให้เล็บที่ต่อแข็งตัว อาจมีสารเคมีฟอร์มัลดีไฮด์ (Formaldehyde) เป็นส่วนประกอบอยู่ด้วย ซึ่งสารทั้งสองกลุ่มนี้เป็นสารระเหยง่าย อาจทำให้เกิดอาการแพ้ได้ โดยเฉพาะผู้ที่ไวต่อสารเคมี

รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวต่ออีกว่า จากข้อมูลของสำนักเครื่องสำอางและวัตถุอันตราย กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้สุ่มเก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์ต่อเล็บ จากร้านขายส่งในเขตกรุงเทพมหานคร 2 แห่ง ได้แก่ ตลาดสำเพ็งและตลาดประตูน้ำ และสั่งซื้อทางอินเทอร์เน็ต รวมทั้งสิ้น 35 ตัวอย่าง จำแนกเป็นผลิตภัณฑ์ต่อเล็บส่วนที่ทำให้เล็บแข็งตัว จำนวน 14 ตัวอย่าง ตรวจวิเคราะห์หาปริมาณฟอร์มัลดีไฮด์ พบว่ามี ปริมาณฟอร์มัลดีไฮด์อยู่ในช่วงร้อยละไม่เกิน 0.12 โดยน้ำหนัก ส่วนผลิตภัณฑ์ต่อเล็บส่วนที่สร้างเล็บปลอม จำนวน 21 ตัวอย่าง ตรวจวิเคราะห์พบสารกลุ่มอะครัยลิก โมโนเมอร์ ชนิด เอทธิลีนไดเมทธาครีเลท (ethylene dimethacrylate)จำนวน 3 ตัวอย่าง ปริมาณไม่เกินร้อยละ 0.08 โดยน้ำหนัก 

ด้านนางจุรีภรณ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ รองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ประเทศไทยยังไม่มีการควบคุมปริมาณฟอร์มัลดีไฮด์ในผลิตภัณฑ์ทาเล็บ ซึ่งตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่องกำหนดชื่อ และปริมาณของวัตถุที่อาจใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตเครื่องสำอาง ที่ออกความตามพระราชบัญญัติเครื่องสำอาง พ.ศ.2535 โดยปริมาณสูงสุดที่ให้ใช้ได้ในผลิตภัณฑ์สำหรับเล็บ เท่ากับร้อยละ 5 โดยน้ำหนัก แต่ยังไม่มีการควบคุมและกำกับดูแลผลิตภัณฑ์ส่วนที่ทำให้เล็บแข็งตัว และผลิตภัณฑ์ต่อเล็บส่วนที่สร้างเล็บปลอม เช่น สารในกลุ่มอะครัยลิก โมโนเมอร์ เป็นสารที่มีความเป็นพิษปานกลาง อยู่ในรูปแบบที่เป็นผง แต่เมื่อเตรียมเป็นของเหลวมีการระเหยเป็นไอของสารดังกล่าว ซึ่งอาจทำให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวหนัง ดวงตาและระบบทางเดินหายใจ เป็นพิษเมื่อสูดดมได้ ผลการสำรวจและประเมินความเสี่ยงของ Danish EPA ให้ ค่าความปลอดภัยของสารกลุ่มอะครัยลิก โมโนเมอร์ ที่ให้ใช้ได้ในผลิตภัณฑ์ต่อเล็บที่ร้อยละ 0.1 โดยน้ำหนัก 

นอกจากนี้ข้อควรระมัดระวังอย่างมากในการต่อเล็บปลอม ไม่ว่าจะทำเองหรือโดยช่างเฉพาะ คือ การเกิดหมักหมมของสิ่งสกปรกและเชื้อโรค โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การนำเล็บปลอมที่หลุดลอกออกแล้วนำมาติดทับใหม่ โดยไม่ทำความสะอาดให้ดี ก็อาจเป็นผลให้เกิดเชื้อรา และเชื้อแบคทีเรียเจริญเติบโตระหว่างชั้นเล็บ ทำให้เกิดผิวหนังอักเสบ หรือแพร่เข้าสู่ร่างกาย ขอแนะนำว่า ทั้งผู้ให้บริการและผู้บริโภคควรใช้ผ้าปิดปากปิดจมูก เพื่อป้องกันการสูดดมสารเคมีดังกล่าว อีกทั้งผู้ให้บริการควรหมั่นดูแลรักษาความสะอาดเครื่องมือ และอุปกรณ์เป็นประจำ ซึ่งจะเป็นการช่วยป้องกันเชื้อโรคได้อีกทางหนึ่ง
13 มี.ค. 56 เวลา 08:51 940 50
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...