เตือนภัย! น้ำมันรำข้าว

 

 

 

 

 

เตือนภัย! น้ำมันรำข้าว เตือนภัย! น้ำมันรำข้าว ภัยใกล้ตัวที่หลายๆ คนไม่ควรที่จะพลาดเลยนะค่ะ สำหรับใครที่ตอนนี้กำลังหลงอยู่ในโฆษณาชวนเชื่อเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์อาหารเสริมอยู่หล่ะก็ อยากให้ลองหยุดฟังทางนี้ให้ดีก่อนนะค่ะ เพราะว่าวันนี้เอ็นทรีเคดอทไอเอ็นดอททีเอช (N3K.IN.TH) ได้นำเอาเรื่องน่ารู้ดีๆ ที่เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์อาหารเสริมมาแนะนำให้รู้กันกับ "เตือนภัย! น้ำมันรำข้าว" น้ำมันรำข้าว เรียกได้ว่าเป็นอาหารเสริมที่หลายๆ คนต้องพูดเป็นเสียงเดียวกันเลยว่าดีมากๆ แต่ถึงอย่างนั้น น้ำมันรำข้าว ก็มีข้อเสียที่เชื่อว่าหลายๆ คนคงจะนึกไม่ถึงกันเลยทีเดียวใช่ไหมหล่ะค่ะ ถ้าเรียกว่าอาหารเสริมหลายๆ คนก็คงมองแต่ในแง่ดีแล้วยิ่งน้ำมันรำข้าวใครๆ ก็เข้าใจว่าเป็นอาหารเสริมที่ดีที่สุด แต่วันนี้เห็นทีจะไม่ใช่แบบนั้นแล้วสิค่ะ ถ้าอยากรู้แล้วว่า เกร็ดน่ารู้เกี่ยวกับ อันตราย! น้ำมันรำข้าว ที่เอ็นทรีเคดอทไอเอ็นดอททีเอช (N3K.IN.TH) ได้นำมาฝากกันในวันนี้จะเป็นอย่างไร แล้วเกร็ดน่ารู้ที่ว่า เตือนภัย! น้ำมันรำข้าว ที่เอ็นทรีเคดอทไอเอ็นดอททีเอช (N3K.IN.TH) นำมาฝากกันในวันนี้จะเป็นยังไงก็เข้ามาดูข้อมูลได้เลยค่ะ ก่อนที่จะเชื่ออะไรทั้งหลายควรจะรับรู้ข้อมูลให้เพียงพอนะค่ะ สิ่งต่างๆ ก็มีทั้งข้อดีแล้วก็ข้อเสียควรศึกษาให้ละเอียดเพื่อสุขภาพของคุณเองค่ะ งั้นเราอย่ารอช้าไปดูรายละเอียดทั้งหมดของเกร็ดน่ารู้วันนี้ที่เกี่ยวกับ เตือนภัย! น้ำมันรำข้าว กันเลยดีกว่าค่ะ

 

 

 

 

เตือนภัย! น้ำมันรำข้าว อย.เตือนผู้บริโภค อย่าตกเป็นเหยื่อโฆษณาผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร "น้ำมันรำข้าวและจมูกข้าว" อ้างสรรพคุณรักษาโรคมะเร็ง หัวใจ รูมาตอยด์ ภูมิแพ้ อัมพฤกษ์ เบาหวาน ความดัน เป็นต้น อาจทำให้เสียโอกาสในการรักษาที่ถูกต้อง ย้ำ! ผลิตภัณฑ์อาหารไม่ใช่ยารักษาโรค หากจะใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารควบคู่ไปกับการรักษา ควรอยู่ภายใต้คำแนะนำของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอย่างใกล้ชิด และอย่าเชื่อโฆษณาเกินจริงที่หวังผลทางการค้ามากเกินไป

นพ.พิพัฒน์ ยิ่งเสรี เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้ตรวจสอบเกี่ยวกับการโฆษณาน้ำมันรำข้าวโดยได้รับการร้องเรียนจากสมาคมขายตรงเกี่ยวกับการโฆษณาผลิตภัณฑ์เสริมอาหารน้ำมันรำข้าว และจมูกข้าว โดยระบุสรรพคุณ รักษาโรคมะเร็ง หัวใจ รูมาตอยด์ ภูมิแพ้ อัมพฤกษ์ เบาหวาน ความดัน เป็นต้น มีการอ้างผลการทดสอบจากผู้รับประทาน และประสบการณ์จากผู้ป่วยที่ต่อสู้กับโรคร้ายต่างๆ ซึ่งจากการตรวจสอบไม่มีข้อเท็จจริงทางวิชาการยืนยันถึงความน่าเชื่อถือ และเอกสารที่ปรากฏน่าจะเป็นการตัดต่อข้อมูลของกลุ่มสมาชิกผู้จำหน่ายสินค้า ซึ่ง อย. ได้แจ้งเตือนไปยังผู้ทำการโฆษณาให้ระงับการโฆษณา และดำเนินการตามกฎหมายต่อไปแล้ว 

อย่างไรก็ตาม อย.มีความห่วงใยในเรื่องนี้เป็นอย่างมาก เพราะที่จริงแล้วผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเป็นเพียงผลิตภัณฑ์ที่ใช้รับประทานเสริม นอกเหนือจากการรับประทานอาหารหลักตามปกติเท่านั้น จึงขอให้ผู้บริโภคอย่าได้หลงเชื่อซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เพราะมุ่งหวังรักษาโรคโดยเด็ดขาด อาจทำให้เสียโอกาสในการรักษาที่ถูกต้อง เช่น ผู้ป่วยเบาหวานอาจต้องตัดเท้า ผู้ป่วยมะเร็งมีอาการทรุดหนัก เป็นต้น 

หากจะใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารควบคู่ไปกับการรักษา ควรอยู่ภายใต้คำแนะนำของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอย่างใกล้ชิด และไม่ควรหลงเชื่อโฆษณาที่หวังผลทางการค้ามากเกินไป ทั้งนี้ โฆษณาส่วนใหญ่ เป็นการจำหน่ายในลักษณะขายตรง ซึ่งบางราย บางเครือข่ายอาจหาประโยชน์ที่ผิดกฎหมายในลักษณะแชร์ลูกโซ่ จึงขอให้ผู้ประกอบธุรกิจขายตรงดำเนินธุรกิจอย่างมีคุณธรรมจริยธรรม

เลขาธิการฯ กล่าวต่อไปว่า ก่อนซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารใดๆ ก็ตาม ขอให้ผู้บริโภคเลือกซื้อโดยอ่านข้อมูลของอาหารนั้นบนฉลากทุกครั้งว่า มีสารอาหารอะไรตามที่ร่างกายขาด หรือต้องการเสริม แต่หากผู้บริโภคพบเห็นการอวดอ้างสรรพคุณผลิตภัณฑ์เสริมอาหารว่า สามารถรักษาโรคได้ หรือโฆษณาหลอกลวงให้ผู้บริโภคหลงเชื่อโดยการขายตรง ขอให้แจ้งเบาะแสโดยละเอียดผ่านสายด่วน อย. 1556 สำหรับในส่วนภูมิภาคแจ้งได้ที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด เพื่อทางราชการจะได้ดำเนินการตามกฎหมายกับผู้กระทำผิดอย่างเข้มงวดต่อไป
13 มี.ค. 56 เวลา 08:46 2,106 70
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...